หลักฐานมัดแน่นทั้งร่วมและบงการการยึดอำนาจ?


พล เอกเปรมเข้าร่วมการรัฐประหารในประเทศไทย 2 ครั้ง ซึ่งนำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ล้มรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ล้มรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร…..
บทบาทใน วิกฤตการณ์การเมืองและการรัฐประหาร พ.ศ. 2549
หลังการทำรัฐประหาร พ.ศ. 2549 มีนักวิชาการกล่าวหาพลเอกเปรมว่ามีความเกี่ยวข้องกับ วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 ที่นำไปสู่รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549[4] ซึ่งในเวลาพลบค่ำวันที่ 19 กันยายน ช่วงเดียวกับที่กำลังทหารหน่วยรบพิเศษจาก จ.ลพบุรี ได้เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพฯ พลเอกเปรม ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัà[6]
ในเวลา ต่อมา ยังเป็นที่กล่าวหาอีกว่า พลเอกเปรม อาจมีบทบาทสำคัญ ในการเชิญ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตลูกน้อง มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมไปถึง การแต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี และ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ อีกด้วย จนกระทั่ง นักวิจารณ์ บางคน ถึงกับกล่าวว่า สภาฯ ชุดนี้ เต็มไปด้วย "ลูกป๋า" [7 http://www.theaustralian.news.com.au/story/0,20867,20550793-23109,00.html ][8 http://www.nationmultimedia.com/2006/10/13/headlines/headlines_30016076.php][9 http://www.nationmultimedia.com/2006/10/13/headlines/headlines_30016078.php]
ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า พลเอกเปรมเป็นบุคคลที่มีบทบาททางการเมือง ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549[10] และมีบทวิเคราะห์จากสำนักข่าว XFN-ASIA ระบุในเว็บไซต์ นิตยสารฟอร์บ ว่า พลเอกเปรมเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเมืองไทย พร้อมทั้งได้สนับสนุนให้ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน จากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตแต่ข่าวจาก"คมชัดลึก"บันทึกเป็นประวัติศาสตร์จากปาก ของ ผบ.เหล่าทัพว่า
"เผย ป๋าเปรมเห็นชอบกับการปฏิวัติครั้งนี้ "
การทำรัฐประหารครั้งนี้ เป็นความพร้อมใจกันของ 4 เหล่าทัพ คือ กองทัพบก ทัพเรือ ทัพอากาศ และตำรวจ โดยทั้งหมดได้ไปหารือกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ และพล.อ.เปรมรับปากว่าจะเป็นหัวคณะรัฐประหารให้ เอง เมื่อเวลา 22.00 น.ที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีการประกาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เวลา 23.00 น.ที่ผ่านมา" (http://www.komchadluek.net/2006/09/19/a001_49001.php?news_id=49001)
[ 6 ] สุริยะใส" ย้ำ"ป๋าเปรม" อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ..
ที่มา – คำสัมภาษณ์ของ "สุริยะใส กตะศิลา" ในนิตยสาร IMAGE ฉบับเดือนธันวาคม 2549 ที่กลุ่มพีทีวี อ้างว่า เป็นต้นตอของคำกล่าวอ้างที่ว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ..นี่คือบางส่วนที่นำมาเสนอ
การ ต่อสู้ของพันธมิตร มันมีกระบวนการหลังพิงวัง ตรงนี้สร้างความอึดอัดให้ฝ่ายซ้ายจำนวนมากในพันธมิตรหรือไม่
ปัญหาในเรื่องปรากฏการณ์หลังพิงวังมีมาตลอด และมีความอึดอัดเพราะเป็นกระแสที่เรา ก็ต่อต้านมาตลอด ถึงขนาดฝ่ายซ้ายมาขอคุยให้ ครป.ถอยออกมา แต่เราต้องยอมรับว่า การสู้กับระบอบทักษิณ เมื่อภาคประชาชนเห็นว่าระบอบทักษิณเป็นตัว ปัญหา แต่ภาคประชาชนเองไม่มีกำลังพอที่จะโค่นล้มคุณทักษิณได้ ฉะนั้นก็ต้องเชื่อมประสานกับพลังอื่น ไม่ว่าจะพลังชนชั้นกลาง พลังทุนนิยมในชาติ พลังศักดินา ก็ต้องร่วมกันเพื่อจัดการคุณทักษิณ เพราะพลังศักดินาโดดๆ ก็จัดการคุณทักษิณไม่ได้ ต้องมาเชื่อมประสานกับพลังของภาคประชาชน ดังนั้นก็เลยเกิดธงหลายผืนในที่ชุมนุมประเด็นจึงอยู่ที่ว่าเราจะจัดลำดับ ความสำคัญอย่างไร เราอาจจะไม่ได้ทั้งร้อยในการต่อสู้ครั้งนี้ แต่เมื่อต่อสู้แล้วไม่มีใครอยากแพ้ จึงเป็นเหตุให้เราไม่ถอย
ถ้า เป็นเช่นนั้นก็เหมือนพลังศักดินาสามารถยืมมือพลังประชาชนในการจัดการ และดึงอำนาจคืนจากคุณทักษิณ พลังศักดินาอาจจะยืมมือเรา แต่ที่แน่ๆ คือเราไม่ได้รับธงเขามาเคลื่อน
ผมไม่ปฏิเสธว่า หลังการรัฐประหาร พลังศักดินาเกิดใหม่ ระบอบอำมาตยาธิปไตยสามารถเห็นได้ ชัดเจนภายใต้โครงสร้างรัฐบาลใหม่ ตรงนี้เราต้องสรุปบทเรียนว่า จะจัดการกับการเกิดใหม่ของพลังศักดินาหรือระบอบอำมาตยาธิปไตยอย่างไร และที่ทางของประชาชนหรือการเมืองแบบใหม่ที่สู้กันมาทั้งชีวิตจะอยู่ตรงไหน เราจะทำอย่างไร เพื่อสร้างพื้นที่ขึ้นมาในการกำหนดให้วาระของประชาชนเข้าไปอยู่ในรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่และต้องผลักดันให้ก้าวหน้ากว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540
ส่วนหนึ่งที่ต้องยอมรับในสังคมไทยคือ องค์อำนาจในสังคมไทยมีหลายองค์อำนาจ ไม่ใช่แค่กลุ่มทุนใหม่กับฝ่ายประชาชนเท่านั้น พลังศักดินาระบอบอำมาตยาธิปไตยมีอยู่จริง มีอำนาจที่เป็นจริง มีการเคลื่อนไหวปฏิบัติการในตัว และมีการปรากฏตัวออกเป็นช่วงๆ ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามองค์อำนาจส่วนนี้
อีกทั้ง ระบบอำนาจนิยมยังเข้ามาแทนที่ระบบความคิดใหม่ๆ ในสังคมไทยได้อย่างง่ายดาย เห็นได้จากการที่มีคนชื่นชมการรัฐประหารและเห็นด้วยกับรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ ตรงนี้เป็นการบ้านที่ท้าทายบทใหม่
ผมยังไม่อยากไปสรุปว่า นี่เป็นระบอบใหม่ เพราะการทำรัฐประหารครั้งนี้อาจนำไปสู่โอกาสใหม่ๆ พูดแบบนี้ฝ่ายซ้ายบางคนอาจจะหมั่นไส้ แต่ผมคิดว่านี่เป็นโอกาสใหม่ ที่จะได้ทบทวนเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเข้มข้น ถ้าไม่มีรัฐประหารครั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงไม่มีทางเกิด เพียงแต่ว่า เศรษฐกิจพอเพียงในแนวทางอำมาตยาธิปไตย จะกล้าพูดเรื่องการกระจายอำนาจไหม จะกล้าพูดเรื่องการปฏิรูปที่ดินไหม แต่ถึงที่สุด อย่างน้อยก็ได้ทบทวนว่าเรามีเศรษฐกิจทางเลือก
มอง บทบาท ของพลเอกเปรมอย่างไรบ้าง
พลเอกเปรม เป็นสัญลักษณ์ของระบอบอำมาตยาธิปไตย จริงๆ ระบอบนี้ไม่ได้หายไปจากสังคมไทย แม้จะมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ก็ตาม ถ้าเราดูบทบาทของพลเอกเปรม ก็จะเห็นชัด เพียงแต่พื้นที่ของระบอบนี้คับแคบลงในระดับหนึ่ง เพราะการเติบโตของพื้นที่ภาคประชาชนที่มากขึ้น ซึ่งเป็นการท้าทายระบอบนี้โดยตรง ขณะเดียวกันระบอบอำมาตยาธิปไตย ก็ถูกท้าทายจากทุนใหม่ ซึ่งเป็นพลังที่พาคุณทักษิณขึ้นสู่อำนาจ
เรา อาจจะพูดว่าระบอบศักดินายืมพลังจากประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณหรือทุนใหม่ก็ เป็นไปได้ แต่ผมคิดว่าพลเอกเปรม ไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ของการคงอยู่ของระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีพลเอกเปรมแล้วระบอบประชาธิปไตยจะเต็มใบ แต่เป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายอำนาจนิยมหรือระบอบอำมาตยาธิปไตยที่ยังมีพื้นที่ที่ แน่นนอนในสังคมการเมืองไทย
วันนี้ ก็เห็นโดยพฤตินัยได้อย่างชัดเจน ว่า พลเอกเปรม ใช้อำนาจนั้นผ่าน คปค. ท่านนั่งบัญชาการอยู่ที่บ้านสี่เสาฯ และไม่มีใครคิดว่าท่านจะกล้าทำ หรือไม่มีใครคิดตอนที่นั่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ว่าการรัฐประหารครั้งนี้ องคมนตรีจะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือเปิดเผยขนาดนี้

หลังจากข่าวที่ ออกมานี้ก็ยังไม่เคยมีการออกมาชี้ แจงเลยว่า"ไม่จริง"อย่างที่ปรากฏในข่าว การให้สัมภาษณ์ของทั้ง"ผบ.เหล่าทัพและนายสุริยะ ส"ดังกล่าวจาก พล.อ.เปรม เลยแม้แต่ครั้งเดียว ความที่เคยเป็นนายทหารใหญ่เคยกล่าวคำปฏิญาณต่อหน้า"ธงชัยเฉลิมพล"ที่ถือเป็น ความศักดิ์สิทธิ์ของเหล่านายทหารต่อหน้าพระพักตร์พระมหากษัตริย์ ที่ว่า
คำปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล
ข้าพเจ้า (ยศ นาย นามสกุล) ขอกระทำสัตย์ปฏิญาณว่า
ข้าพเจ้า จักยอมตาย เพื่ออิสรภาพ และความสงบแห่งประเทศชาติ
ข้าพเจ้า จักรักษาไว้ ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้าพเจ้า จักอยู่ในศีลธรรมของศาสนา
ข้าพเจ้า จะเชิดชูและรักษาไว้ ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า
ข้าพเจ้า จักเชื่อถือผู้บังคับบัญชา และปฏิบัติตนตามคำสั่งโดยเคร่งครัด ทั้งจักปกครองแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาโดยยุติธรรม
ข้าพเจ้า จะไม่แพร่งพรายความลับของราชการเป็นอันขาด
ที่นำมาเสนอนี้เพื่อย้ำ ให้เห็นว่า ทหาร (คมช.) ได้รักษาคำสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระ ราชินี หรือไม่? โดยเฉพาะขณะนี้พระองค์ทั้งสองกำลังกังวลพระทัยหลายเรื่อง เช่นปัญหาภาคใต้ ปัญหาคนไทยแตกความสามัคคี ปัญหา คมช.ยึดอำนาจ รื้อนโยบายรัฐบาลเก่าซึ่งก่อให้เกิดปัญหามากมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม
อยากจะถามว่าทหารเหล่านั้นมีความสำนึกรับผิด ชอบ อะไรอย่างไรบ้างไหม?หรือว่าท่านไม่เห็นว่าการกล่าวคำปฏิญาณต่อ หน้า"ธงชัยเฉลิมพล"และต่อหน้า พระพักตร์ พระมหากษัตริย์และพระบรมราชินีนั้น มีความศักดิ์สิทธิ์และสำคัญยิ่ง หรือ ไม่?
เหล่าข้าราชการทหาร ทั้งหลายที่รับเงินเดือนจากภาษีอากรของประชาชนที่ได้รับรู้ ข้อมูลดังกล่าวแล้วมีความรู้สึกเป็นเช่นไร? พวกท่านนั้นยังให้ความเคารพยำเกรงต่อผู้ที่ตระบัดสัตย์และยังอ้างว่า"ทำ ไปด้วยความจงรักภักดี"อยู่ อย่างนั้นหรือ?แล้วพวกเหล่านั้นยังจะมีความ"จงรักภักดี"ต่อ พระมหากษัตริย์อยู่กระนั้นหรือ?
ยังจะมีเรื่องตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่อีกหนึ่งตำแหน่งที่น่าจะคู่ควรต่อ บุคคลคนนั้นอยู่ หรือไม่?ก็คือตำแหน่ง"รัฐบุรุษ"ที่มีความหมายว่า"เป็น ผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารบ้านเมือง ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยซื่อสัตย์สุจริตมาโดยตลอด อันเป็นที่ประจักษ์ ไม่มีความด่างพร้อย และเป็นที่ยอมรับของประชาชน" ทั้งๆที่ควบกับตำแหน่ง"ประธานองคมนตรี"และ"รัฐบุรุษ"ที่รับ เงินเดือนจากภาษีอากรของประชาชนถึง ๒ ตำแหน่งรวมกันทั้งสิ้นเดือนละ 121,990 + 121,990 = 243,980 บาท (พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งขององคมนตรีและรัฐบุรุษพ.ศ. ๒๕๕๑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/022/58.PDF )
สิ่งที่สื่อมวลชลทั้งในและนอกประเทศได้เผยแพร่ไปว่า พล.อ.เปรม เป็นผู้มีบทบาทมากในทางการเมือง ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๔ "องคมนตรี ต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดินข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการ ฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ" แต่ที่ปรากฏเป็นข่าวไปเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๕๒ ที่ผ่านมากลับเป็นการออกมาพูดตรงๆเกี่ยวกับพรรคการเมืองที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เข้าเป็นสมาชิก ว่า "จะเป็นการกระทำที่เป็น การทรยศต่อชาติ"และอีกวาทะหนึ่งคือ "วาทะ" พล.อ.เปรม ที่เอื้อนเอ่ยเอาไว้เมื่อครั้ง ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ชื่อ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" "..รัฐบาล นี้ดี และผมก็เคยพูดว่านายกรัฐมนตรีคนนี้ดี ดังนั้น เราคงจะหวังได้ว่า ท่านจะเป็นผู้นำที่ดี และจะทำให้ประเทศดีขึ้น"แต่ เมื่อถูกผู้สื่อข่าวซักถามต่อว่า นายกฯอภิสิทธิ์จะสามารถนำประชาชนฝ่าวิกฤตของประเทศได้หรือไม่ พล.อ.เปรม ตอบสั้นๆ และชัดเจนว่า "..ผม เชียร์.." (ปรากฏการณ์ "บิ๊กจิ๋ว" วาทะ "ป๋าเปรม" แสงสว่างปลายอุโมงค์ http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01col01191052&sectionid=0116&day=2009-10-19)
จากข้อมูลข้างต้นนั้น มีคำถามว่า คุณสมบัติเหมาะสมไม่มีความด่างพร้อยเลยใช่หรือไม่?สำหรับ ตำแหน่ง"รัฐบุรุษ" นี่เป้นข้อสงสัย!
อีกประเด็นที่ เคลือบแคลงแฝงเร้นกับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่นับว่าเป็นอันตรายล่อแหลมยิ่ง ก็คือการเขียนรัฐธรรมนูญที่"ซ่อนเร้น"สิ่ง ที่ไม่บังควรไว้ในกรณีของตำแหน่ง"ผู้ สำเร็จราชการแผ่นดิน"ที่ นักกฏหมายทั้งหลายสงสัยว่า"ไม่ว่าจะมองมุมใด"ก็ตาม ประธานองคมนตรีจะต้องเข้าดำรงตำแหน่งนั้นโดย "อัตโนมัติ" ซึ่งผิดวิสัยความบริสุทธิ์ใจทั้งคนเขียนกฏหมายและคนที่ได้รับประโยชน์จากการ เขียนกฏหมายนั้น หรือไม่?(จะ มีใครนึกบ้างหรือไม่ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ กำลังสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่ง! http://konthaiuk.com/forum/index.php?topic=4635.0)

http://74.125.153.132 /search?q=cache:kBdUySlbX_EJ:konthaiuk.com/forum /index.php%3Ftopic%3D4968.0+สุริยะ+ใส+ป๋า+เห็นชอบ+รัฐประหาร&cd=9& amp;hl=th&ct=clnk&gl=th

ใส่ความเห็น