ศพไร้ญาติ ที่ถูกฆ่า ผลงาน รัฐบาลนายอภิสิทธิ์

หยุดด่า รัฐบาล, ผู้ว่า, กองทัพ เรื่องการ ผันน้ำ, ผลักน้ำ

299612_300210346671390_293796897312735_1304635_123002573_n

ทุกคนมีความหวังดีกับประเทศชาติ ตั้งใจแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็น รัฐบาล, ผู้ว่า, กองทัพ โทษกันไปมา ไม่เกิดผลดีอะไรกับประเทศชาติ

 

ในหลวงพระราชทานแนวพระราชดำริแก้น้ำท่วมระยะยาว

แหล่งที่มา http://board.palungjit.com/f193/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7-265833.html

 

view_resizing

astv_news1

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ร.พ.ศิริราช พระ ราชทานพระบรมราชวโรกาสให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯเข้าเฝ้าฯเป็นการส่วนพระ องค์ เมื่อวันที่ 12 ต.ค.

แหล่งที่มา http://www.manager.co.th/daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000130364

 

cbb8igcegk9fgi5bciaba

คมชัดลึก

logo_komchadluek

แหล่งที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20110927/110243/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1.html

 

ak6aehiakha5iaj87ebk8

มติชน

logo_matichon_s

"ในหลวง"ทรงห่วงน้ำท่วม ทอดพระเนตรระดับน้ำเจ้าพระยาทุกวัน รับสั่งทุกครั้งจะต้องไม่ให้ ปชช.เดือดร้อน

แหล่งที่มา  http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1317729965&grpid=00&catid=00

 

299612_300210346671390_293796897312735_1304635_123002573_n

นายกฯ น้อมนำพระราชดำรัส “ในหลวง” แก้ปัญหาน้ำท่วม

แหล่งที่มา  http://www.chaoprayanews.com/2011/09/21/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%AF-%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA/

 

dn

630

นำพระราชดำริของในหลวงเร่งระบายน้ำ
โครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งใช้เรือยนต์ผลักดันน้ำให้ไหลออกสู่ทะเล

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=561&contentID=164326

 

โครงการใช้เรือผันน้ำลงสู่ทะเล
แนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงพระราชทานคำแนะนำให้ใช้เรือที่มีกำลังสูงขนาด 200 แรงม้า – 500 แรงม้า มาติดเครื่องจักรให้ใบพัดเรือผันน้ำให้เคลื่อนตัวเร็วมากขึ้นในช่องที่มีน้ำ ลงสู่อ่าวไทย

http://www.g-pra.com/webboard/show.php?Category=general_talktalk&No=283030

 

ks

ข่าวสดรายวัน

ในหลวง"มีรับสั่ง เร่งผันน้ำ กทม.ฝั่งตะวันออก

http://www.konthaiuk.info/forum/index.php?topic=19239.0

 

thaipbs_logo

นายกฯน้อมนำแนวทางพระราชดำรัสแก้ปัญหาน้ำท่วม

http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%AF%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1

คดีภาษีสรรพสามิต

พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2546 มาตราที่ 1-4
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นปีที่ 58 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดย ที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต พระ ราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่ง มาตรา 29 ประกอบกับ มาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และ มาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบท บัญญัติ แห่งกฎหมาย อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 218 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2546”
มาตรา 2[1] พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “บริการ” ใน มาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“บริการ” หมายความว่า การให้บริการในทางธุรกิจในสถานบริการ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต”
มาตรา 4 ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “สถานบริการ” ใน มาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“สถาน บริการ” หมายความว่า สถานที่สำหรับประกอบกิจการในด้านบริการ และให้หมายความถึงสำนักงานใหญ่ที่จัดตั้งขึ้นในการประกอบกิจการ ในกรณีที่ไม่อาจกำหนดสถานที่ให้บริการได้แน่นอน”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อกำหนดให้การประกอบกิจการด้านบริการบางประเภทต้องเสียภาษีสรรพสามิต ซึ่งลักษณะของการประกอบกิจการไม่อาจกำหนดสถานบริการได้แน่นอน แต่บทนิยามคำว่า “บริการ” และ “สถานบริการ” ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิตที่ใช้บังคับในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุม ถึงการประกอบกิจการดังกล่าว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามเพื่อใช้บังคับ กรณีดังกล่าว และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

————————————————————–

มติ คณะรัฐมนตรี วันที่ 28/01/2546
ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง กค
เรื่อง การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากบริการ

คณะ รัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) (กำหนดอัตราภาษีที่ ใช้ในการจัดเก็บสำหรับบริการแต่ละประเภท) และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดำเนินการเพื่อให้มีการหัก ค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่คู่สัญญาต้องนำส่งให้การสื่อสาร แห่งประเทศไทย (กสท.) หรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) โดยให้ กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีที่เห็นว่า สถานบริการที่ให้บริการอาบน้ำหรืออบตัว และนวด ซึ่งจัดอยู่ในประเภทกิจการบันเทิงหรือหย่อนใจมักจะแฝงการค้าประเวณีด้วย โดยสถานบริการดังกล่าวมีอัตราภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บกำหนดไว้ร้อยละ 10 ของรายรับเท่ากับกิจการสนามกอล์ฟที่เป็นกิจการให้บริการด้านกีฬา ซึ่งจัดอยู่ในประเภทกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงควรพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด และตามที่คณะรัฐมนตรีได้ลงมติ เห็นชอบร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ขยายการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับ การประกอบกิจการด้านบริการ) และร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “บริการ” และ “สถานบริการ”) รวม 2 ฉบับ และให้ดำเนินการเป็นเรื่องด่วนต่อไป ซึ่งบัดนี้ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชกำหนดทั้ง
2 ฉบับ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 28 มกราคม 2546 แล้วนั้น ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากหลาย ๆ ฝ่าย และอาจมีข้อสงสัยจากประชาชนทั่ว ไป จึงลงมติให้กระทรวงการคลัง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ร่วมกันชี้แจงต่อสื่อมวลชน เพื่อเผยแพร่ให้เข้าใจโดยทั่วกันว่า พระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับ ตราขึ้นโดยถูกต้องตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 218 และมิใช่การแปรสัญญาหรือ สัมปทาน จึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 40 รวมทั้งมิได้กระทบผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนเพราะรัฐยังคงได้ผลประโยชน์ เท่าเดิมทุกประการ

————————————————————–

มติ คณะรัฐมนตรี วันที่ 11/02/2546
ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ทก
เรื่อง การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากบริการโทรคมนาคม

คณะ รัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอแนว ทางการดำเนินการเพื่อหักค่าภาษีสรรพสามิต ออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่คู่สัญญาจะต้องนำส่งให้คู่สัญญาภาครัฐ คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย และบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สรุปดังนี้
(1) กิจการโทรศัพท์พื้นฐาน คู่สัญญาภาคเอกชนจะต้องชำระค่าภาษี โดยสรุปยอดเงินที่ต้องชำระให้คู่สัญญาภาครัฐทราบทุกสิ้นเดือน ทั้งนี้ ให้คำนวณจากรายรับการให้บริการโทรศัพท์ภายในประเทศ และรายรับจากการให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศเฉพาะส่วนที่เป็นรายรับภายใน ประเทศ
(2) กิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า คู่สัญญาภาคเอกชนจะต้องชำระค่าภาษี โดยคำนวณค่าภาษีจากรายรับการให้บริการกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือวิทยุ คมนาคมระบบเซลลูล่า และจะต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำให้แก่คู่สัญญาภาครัฐตามจำนวนและกำหนด เวลาตามสัญญาทุกไตรมาส และเมื่อสิ้นปีดำเนินการต้องชำระผลประโยชน์ตอบแทนจนเต็มจำนวนตามอัตราที่ กำหนดไว้ในสัญญา ทั้งนี้ คู่สัญญาภาคเอกชนมี สิทธินำเงินค่าภาษีที่ได้ชำระแล้วดังกล่าวตลอดทั้งปีมาหักออกจากจำนวนเงินผล ประโยชน์ตอบแทนที่คู่สัญญาภาคเอกชนต้องจ่ายให้คู่สัญญาภาครัฐเมื่อสิ้นปี ดำเนินการได้

————————————————————–

ภาษีสรรพสามิต และการแปรสัญญาโทรคมนาคม คิดใหม่…ทำใหม่
โดย ดร.ปราณี ทินกร และดร.สุเมธ วงศ์พานิชเลิศ
มติชนรายวัน วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546

1. ความเป็นมา

ใน อดีตหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(ทศท.) การสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.) และกรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่สามารถขยายบริการสื่อสารโทรคมนาคมให้ทันต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความ ต้องการของประชาชน จึงทำสัญญาร่วมการงาน(หรือสัมปทาน) กับบริษัทเอกชนให้เป็น ผู้ลงทุนสร้างโครงข่ายและให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยมีข้อผูกพันว่าต้องแบ่งรายได้บางส่วนให้รัฐบาลผ่านหน่วยงานซึ่งมีอำนาจ ผูกขาดตามกฎหมายเหล่านี้ บริษัทเอกชนยอมจ่ายส่วนแบ่งรายได้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิทธิ “ผูกขาด” ในช่วงเวลาหนึ่ง(เฉพาะในบางกรณี) และสิทธิพิเศษต่างๆ อีกหลายประการ ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสัญญา

ความ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ลักษณะ “ผูกขาดตามธรรมชาติ” ของกิจการสื่อสารโทรคมนาคมหมดไป และนโยบายเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมมีวัตถุประสงค์ ให้ภาคเอกชนไม่ว่าจะรายเก่าหรือรายใหม่ จากในหรือต่างประเทศมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นในการเข้ามาลงทุนเพื่อขยายโครงข่าย และเปิดบริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อสนองความต้องการของประชาชน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันเพิ่มขึ้น ยังประโยชน์ต่อผู้บริโภคและการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของไทย ดังนั้นจึงทำให้มีการเปิดประเด็นเกี่ยวกับการแปรสัญญา(ซึ่งก็คือการเปลี่ยน สัญญานั่นเอง)

เนื่องจาก รัฐบาลมีนโยบายให้ ทศท. และ กสท.แปรสภาพจากหน่วยงานของรัฐเป็นบริษัทมหาชนต่อไป ทางการจึงได้ว่าจ้างให้มีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ ซึ่งก็เป็นที่ทราบ กันโดยทั่วไปแล้วว่าผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) และของสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาของจุฬาฯ มีความแตกต่างในเรื่องการโอนผล ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นตลอดอายุของแต่ละสัญญาให้รัฐบาลจนเกิดเป็นข้อถกเถียง และเป็นข่าวใหญ่ประมาณต้นปี 2545 มาแล้วและกลับมาเป็นข่าวใหญ่อีกครั้งในช่วงนี้ เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดเพื่อจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการ โทรคมนาคม และนักวิชาการกลุ่มหนึ่งเกรงว่าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตดัง กล่าวจะบั่นทอนการแข่งขันซึ่งขัดกับวัตถุประสงค์ของการเปิดเสรี อีกทั้งยังอาจเป็นการปูทางไปสู่การแปรสัญญาในอนาคตที่เอื้อประโยชน์ให้กับ บริษัทเอกชนคู่สัญญาได้
จาก การติดตามข่าวผู้เขียนประมวลได้ว่า รัฐบาลยืนยันว่าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมจะเป็นประโยชน์ต่อ รัฐบาล ต่อบริษัทเอกชน และต่อประชาชน เราจึงควรนำประเด็นเหล่านี้มาวิเคราะห์ต่อสาธารณชน

2. รัฐบาลได้ประโยชน์จากภาษีสรรพสามิต?
รัฐบาล และคอลัมนิสต์บางคน (ดู น.ส.พ.ผู้จัดการรายวัน วันที่ 27 ม.ค.2546 หน้า 9) พยายามบอกว่า เมื่อ ทศท. และ กสท.แปรรูปเป็นบริษัทเอกชน(ปัจจุบัน ทศ ท.ได้แปรรูปเป็น บมจ. ทศท คอร์ปอเรชั่นแล้ว) รายได้ของรัฐที่เคยได้จากการให้สัมปทานจะหายไป ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการใหม่มารองรับ ซึ่งก็คือภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมที่รัฐบาลได้ดำเนินการออกพระราช กำหนด(พ.ร.ก.) ประกาศใช้อย่างเร่งด่วน

การ สื่อสารดังกล่าวต่อสาธารณชนเป็นการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะการแปรรูปของ ทศท. และ กสท.ตามหลักกฎหมายของไทยและสากลแล้วไม่ได้เป็นการ ทำให้ข้อผูกพันตามสัญญาที่มีต่อ 2 หน่วยงานดังกล่าวหมดไป สัญญาเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมที่มีอยู่ยังได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายสูง สุดของชาติคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 335(2)

ข้อ เท็จจริงดังกล่าวก็เป็นที่ประจักษ์อย่างชัดแจ้ง เมื่อรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังประกาศเก็บภาษีสรรพสามิตในธุรกิจโทรคมนาคมใน อัตราร้อยละ 2 สำหรับโทรศัพท์พื้นฐาน และร้อยละ 10 สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ และให้ส่วนแบ่งรายได้ที่เหลือยังตกเป็นของหน่วยงานคู่สัญญาเช่นเดิม มาตรการใหม่นี้จึงมิได้รองรับรายได้จากสัมปทานได้ทั้งหมดดังที่กล่าวอ้าง และรายได้สัมปทานก็มิได้หายไปหลังจากที่ ทศท.ได้แปรรูปแล้ว

ดัง นั้นการพูดว่าเมื่อเก็บภาษีสรรพสามิตแล้วรัฐบาลจะได้ประโยชน์จึงไม่เป็นความ จริง เพราะเมื่อรัฐบาลเก็บภาษีสรรพสามิต ส่วนแบ่งรายได้ที่บริษัทคู่สัญญา ต้องจ่ายก็ลดลงตามภาษีที่จัดเก็บ ซึ่งในประเด็นนี้รัฐบาลอาจแก้ไขสัญญาให้บริษัทคู่สัญญาจัดส่งผลประโยชน์ที่ แน่นอนให้กระทรวงการคลัง ในอัตราส่วนที่เหมาะสมจำนวนหนึ่งจนสิ้นสุดอายุ ของสัญญาก็ย่อมได้ นอกจากรัฐบาลจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว การเก็บภาษีสรรพสามิตยังจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อสถานภาพทางบัญชีของ 2 หน่วยงานนี้โดยทันที แหล่งข่าวภายใน ทศท. (ดู น.ส.พ.บางกอกโพสต์ ส่วนธุรกิจ วันที่ 7 ก.พ. 2546 หน้า 1) ประเมินไว้ว่า รายได้ตามงบดุล บัญชีจะลดลงราวร้อยละ 33 จากการเก็บภาษีสรรพสามิตตามอัตราที่ประกาศ ทำให้กำไรสุทธิในปีนี้คาดว่าจะลดลงถึงราวร้อยละ 27 เทียบกับปีก่อนและ Return-on-equity ลดจาก 10.8% เหลือเพียง 7.7% ส่วน กสท.จะได้รับผลกระทบหนักหน่วงกว่านี้ โดยผู้บริหารผู้หนึ่งได้กล่าวไว้ว่า รายได้จากสัญญาสัมปทานน่าจะหายไปราว 3,000 ล้านบาท จาก 3,500 ล้านบาท ที่ กสท.ควรจะได้รับหากไม่มีการเก็บภาษีสรรพสามิต
หาก เป็นเช่นนี้แล้วราคาหุ้นของ ทศท. และ กสท.ที่จะเสนอขายต่อไปในสายตาผู้ลงทุนจะเป็นเช่นไร รัฐบาลจะได้ประโยชน์จากการขายหุ้นของสองหน่วยงานนี้เพิ่มขึ้นหรือลดลง และในท้ายที่สุดสองหน่วยงานของรัฐดังกล่าวจะถูกควบรวมกิจการโดยนายทุนสื่อ สารได้ง่ายขึ้นหรือไม่ รัฐบาลสามารถจะสร้างความกระจ่างในคำถามเหล่านี้ได้หรือไม่?

3. บริษัทเอกชนได้ประโยชน์จากภาษีสรรพสามิต?

นโยบาย การเก็บภาษีครั้งนี้บริษัทเอกชนคู่สัญญาไม่เสียประโยชน์แน่นอน เพราะไม่ว่าจะเก็บในอัตราเท่าใด(ตราบใดที่ไม่เกินอัตราส่วนแบ่งรายได้ตาม สัญญา) ก็จะจ่ายผลประโยชน์โดยรวมเท่าเดิมแก่รัฐ นอกจากจะไม่เสียประโยชน์แล้ว บริษัทเอกชนยังจะได้ประโยชน์อย่างแน่นอน มากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสัญญาสัมปทานหรือ ไม่ ดังนี้

กรณีที่หนึ่ง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงสัญญา และบริษัทเอกชนจ่ายบางส่วนเป็นภาษีสรรพสามิต และบางส่วนจ่ายเป็นส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเท่ากับส่วนแบ่งรายได้ที่พึงจ่ายตามสัญญาสัมปทาน(ตามที่ เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ) ถ้าดูผิวเผินก็เหมือนกับบริษัทเอกชนมีสถานะคงเดิม แต่ถ้าพิจารณาว่า ภาษีสรรพสามิตจะเรียกเก็บจากบริษัทรายใหม่ด้วยก็จะทำให้รายใหม่มีต้นทุน เพิ่ม บริษัทเอกชนในปัจจุบันจะอยู่ในสถานะได้เปรียบรายใหม่เพิ่มขึ้นทันทีและ บริษัทรายใหม่จะเข้ามาแข่งขันได้ยาก ยิ่งอัตราสูงยิ่งจะปิดโอกาสบริษัทรายใหม่เข้ามาแข่งขันในตลาด

กรณี ที่สอง ถ้าหากว่าการเก็บภาษีสรรพสามิตจะเป็นการปูทางไปสู่การแปรสัญญาหรือยกเลิก สัญญาในอนาคตบริษัทเอกชนก็จะได้ประโยชน์มหาศาล เพราะนอกจากภาษีสรรพสามิตจะช่วยกีดกันรายใหม่แล้ว การเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสัญญาจะทำให้ภาระของบริษัทในปัจจุบันลดลงทันที การลงทุนใหม่ในโครงข่ายต่างๆ ในระหว่างอายุของสัญญาก็ไม่ต้องโอนให้รัฐ เมื่อบวกกับฐานลูกค้าจำนวนมากที่ได้สร้างขึ้นมาในช่วงที่รัฐให้สิทธิผูกขาด ด้วยแล้ว บริษัทเหล่านี้จะมีอำนาจตลาดเหนือคู่แข่งรายใหม่ การเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมก็จะไม่มีความหมาย เพราะจะไม่มีบริษัทรายใหม่เข้ามาแข่งขันกับบริษัทต่างๆ ที่ครองตลาดอยู่ในปัจจุบัน

ดัง นั้นเมื่อรายใหม่เกิดยากบริษัทเอกชนจึงมีแนวโน้มสูงที่จะได้ประโยชน์มหาศาล จากภาษีสรรพสามิต และเราจึงไม่ควรแปลกใจที่นักธุรกิจโทรคมนาคมต่างแซ่ซ้องการเก็บภาษีสรรพ สามิต ทั้งๆ ที่โดยปกติแล้วนักธุรกิจจะไม่ชอบภาษีและมักหาทางหลบเลี่ยง

4.ประชาชนได้ประโยชน์จากภาษีสรรพสามิต?

โดย หลักการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์แล้ว การเก็บภาษีไม่ว่าจะเก็บจากผู้ผลิตหรือจากผู้บริโภค ภาระภาษีก็จะตกอยู่กับทั้งสองฝ่าย มากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับลักษณะของอุปสงค์และอุปทานของสินค้านั้น เราจึงน่าจะอนุมานได้ว่า ไม่ว่าจะเก็บภาษีในรูปแบบใด ผู้บริโภคก็มีส่วนรับภาระทั้งนั้น

แต่ ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่นักวิชาการเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือ ตลาดกิจการโทรคมนาคมจะมีผู้ประกอบการน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะภาษีสรรพสามิต จะสร้างต้นทุนเพิ่มขึ้นให้แก่รายใหม่ โดยที่รายเก่าจะอยู่ในสถานะได้เปรียบกว่า เนื่องจากได้สิทธิผูกขาดอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง และมีโอกาสสร้างฐานลูกค้าไว้ จำนวนมากแล้ว จึงมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ามาก นอกจากนี้ ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานะของ ทศท. และ กสท.หลังการแปรรูป บวกกับประเด็นที่ว่าในอนาคตรัฐบาล(หรือ กทช.) จะเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจากทั้งสองหน่วยงานนี้เช่นเดียวกัน โดยอ้างความเสมอภาคตามหลักกฎหมายก็ทำให้สาธารณชนยิ่งไม่แน่ใจว่า สองหน่วยงานนี้จะเข้มแข็งหรือปวกเปียก จนท้ายที่สุดถูกฮุบกิจการโดยบริษัทเอกชนในอนาคต

เมื่อ วิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นว่า ภาษีสรรพสามิตจะไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในฐานะผู้บริโภคแต่ประการใด เพราะเมื่อรายใหม่ไม่สามารถเข้าสู่ตลาด และ ทศท. และ กสท.เองก็มีสิทธิจะถูกควบรวมกิจการ การมีอำนาจเหนือตลาดอย่างสมบูรณ์ก็จะเกิดขึ้น เมื่อขาดการแข่งขัน คุณภาพบริการจะลดลง และค่าบริการก็จะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ใช้บริการดังกล่าวจะต้องรับภาระเพิ่มขึ้นในอนาคต และเนื่องจากการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจก็ จะส่งผลให้ต้นทุนของการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น รัฐบาลคงต้องตอบต่อสาธารณชนว่าต้องการสถานการณ์เช่นนี้หรือไม่

5.การเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมและการแปรสัญญา

ใน กรณีที่มีการเปิดเสรี และไม่มีการแปรสัญญา บริษัทเอกชนคู่สัญญาจะ “เสียเปรียบ” รายใหม่ในเรื่องการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐต่อไปจนกระทั่งหมดอายุ ของสัญญา และมีข้อจำกัดในการใช้โครงข่ายที่ได้ลงทุนไป แต่บริษัทคู่สัญญาก็มีความ “ได้เปรียบ” รายใหม่จากสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับจากรัฐ แลกกับการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ตลอดอายุของสัญญาที่ทำไว้ ซึ่งบริษัทรายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดในอนาคตจะไม่มีสิทธิประโยชน์เหล่านี้ เช่น สิทธิผูกขาดในตลาดเป็นระยะเวลาหนึ่ง(ซึ่งส่งผลให้บริษัทคู่สัญญามี โครงข่ายที่สมบูรณ์ และมีฐานลูกค้าในปัจจุบันจำนวนมหาศาล) สิทธิในการใช้ทรัพยากรของรัฐโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สิทธิในการได้เลขหมายโทรศัพท์ สิทธิในการได้คลื่นความถี่ สิทธิในการต่อเชื่อมกับโครงข่ายคู่สัญญาภาครัฐ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ตามเงื่อนไขในแต่ละสัญญาที่แตกต่างกัน เช่น สิทธิในวงโคจรดาวเทียม สิทธิในการใช้สถานที่ของรัฐ ฯลฯ

ดัง นั้นการไม่เปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งรายได้และภาระผูกพันตามสัญญาสัมปทานจะส่งผล ให้บริษัทคู่สัญญาปัจจุบัน และบริษัทรายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดต่างมีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบกันและกัน การแข่งขันกันน่าจะมีความเป็นธรรมพอสมควร โอกาสที่จะเกิดคู่แข่งรายใหม่ในตลาดก็จะเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลควรพิจารณา ว่าจะจัดการอย่างไรกับ ทศท. และ กสท.ให้เป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกับบริษัทเอกชนก็น่าจะเอื้อต่อการเปิด เสรีเพียงพอแล้ว การที่รัฐบาลเปลี่ยนส่วนแบ่งรายได้เป็นภาษีสรรพสามิต และมีแนวโน้มจะจัดเก็บทุกราย จะทำให้บริษัทปัจจุบันมีความได้เปรียบขึ้นมาอย่างมหาศาล จนบริษัทรายใหม่ไม่สามารถ แจ้งเกิดได้ ตลาดกิจการโทรคมนาคมในอนาคตจะจำกัดอยู่เฉพาะบริษัทที่มีอยู่ในปัจจุบันกับ ทศท. และ กสท.เท่านั้น ซึ่งความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานภาพของ ทศท.และ กสท.ทำให้นักวิชาการเกรงว่ามีโอกาสถูกฮุบกิจการและผลสุดท้ายประชาชนก็จะเป็น ผู้เสียประโยชน์จากการมีบริษัทไม่กี่รายที่ครอบงำกิจการนี้

————————————————————–

:: คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 14/2546
:: วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
:: เรื่อง ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 219 กรณีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 และพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2546 เป็นไป ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หรือไม่

3. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี มีหนังสือ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 และวันที่ 7 มีนาคม 2546 ส่งบันทึกคำชี้แจงและ ความเห็นของคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชกำหนดทั้งสองฉบับเกี่ยวกับภาษีสรรพสามิต พร้อมเอกสารประกอบ สรุปได้ว่า

“3.3.3 สภาพปัญหา

(4) บริการโทรคมนาคมปัจจุบันเป็นกิจการที่ต้องได้รับอนุญาต และจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้องค์การของรัฐ คือ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน เป็น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กำลังจะเปลี่ยน เป็นบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ) ทั้งนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีนโยบายให้กิจการโทรคมนาคมมีความพร้อมในการแปรรูปโดยมีบริษัทเอกชนเข้าร่วม และยกเลิกบทบาทการ เป็นผู้กำกับดูแลมาเป็นผู้ประกอบการอย่างแท้จริง จึงต้องมีการแปลงส่วนแบ่ง รายได้ที่ต้องชำระให้บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และการสื่อสาร แห่งประเทศไทย มาอยู่ในรูปภาษีสรรพสามิต เพื่อให้บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และการสื่อสารแห่ง ประเทศไทยมีรายได้จากการประกอบการของ ตนเองอย่างแท้จริง และส่วนแบ่งรายได้จะไม่ตกเป็นของเอกชนที่เข้าร่วมในการแปรรูปองค์การทั้งสอง นอกจากนี้ส่วนแบ่งรายได้ที่เหลือจากการชำระ ภาษีสรรพสามิตมีจำนวนลดลงสามารถนำไปสู่การเจรจาตกลงในส่วนที่เหลือได้ง่าย ขึ้นกว่าเดิม หลังจากที่ได้พยายาม มานานแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งหากมีข้อยุติในส่วนแบ่งรายได้ที่เหลือก็จะ ส่งผลให้เกิดความชัดเจนและเชื่อมั่นต่อนักลงทุนเมื่อมีการแปรรูปต่อไป ”

“3.4.4 กิจการที่ได้รับอนุญาตหรือสัมปทานจากรัฐ ได้กำหนดประเภทกิจการโทรคมนาคม ให้เป็นบริการที่จะต้องเสียภาษีสรรพสามิต เพื่อให้องค์การเกี่ยวกับกิจการ โทรคมนาคม ของรัฐ คือ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนเป็นบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีฐานะเป็นผู้ประกอบการอย่างแท้จริง จึงต้องแปลงส่วนแบ่งรายได้ที่ภาคเอกชนต้องนำส่งให้บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย มาอยู่ในรูปภาษีสรรพสามิต ซึ่งเมื่อจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจะมีรายได้ ปีละประมาณ 9,000 ล้านบาท เรื่องการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการที่ได้รับอนุญาตหรือสัมปทาน จากรัฐ โดยเฉพาะกิจการโทรคมนาคมพระราชกำหนดดังกล่าวไม่มีข้อความใดโดยชัดแจ้ง หรือ โดยปริยายที่แสดงว่า จะนำไปสู่การแปรสัญญาสัมปทาน และคณะรัฐมนตรีไม่มีเจตนาที่จะให้มีการแปรสัญญาสัมปทานโทรคมนาคมที่มีอยู่ใน ขณะนี้ เพราะตระหนักดีว่า การดำเนินการเช่นว่านั้น ในขณะที่ยังไม่มีคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ในครั้งนี้เป็นเรื่องของ “พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต” เท่านั้น ไม่มีทางที่จะบิดเบือนหลบเลี่ยงให้กลายเป็นการแปรสัญญาสัมปทานไปได้เป็นอัน ขาดการ ตราพระราชกำหนดมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในข้อที่ว่า ปัจจุบันมีเอกชนหลายรายได้รับสัญญาสัมปทานให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน และโทรศัพท์มือถือจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทย โดยบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานจะต้องจ่ายค่า สัมปทานแก่รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งเป็นค่าตอบแทนรายปี เมื่อพ.ศ. 2545 รัฐบาลได้ดำเนินการ แปรรูปรัฐวิสาหกิจสองแห่งนี้ตาม พระราชบัญญัติ ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ขณะนี้อยู่ระหว่างการจำหน่ายหุ้นบริษัททั้งสอง ในสถานการณ์ปัจจุบันการจะจำหน่ายหุ้นจำนวนมากให้แก่ผู้สนใจชาวไทยเป็นไปได้ ยาก จึงมีโอกาสสูงที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาถือหุ้นใน บริษัทดังกล่าว เมื่อประกาศ ใช้พระราชกำหนดแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เดินทางไปบอกกล่าวเชิญชวนเรื่องนี้แก่ นักลงทุนในต่างประเทศ โดยแจ้งเงื่อนไขเรื่องสิทธิประโยชน์และการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตให้ ผู้สนใจทราบกระทรวง การคลังมีความวิตกว่า ในปัจจุบันค่าสัมปทานในกิจการโทรคมนาคม เป็นรายได้ที่บริษัทคู่สัญญาชำระแก่รัฐวิสาหกิจซึ่งในที่สุดย่อมเป็นของรัฐ ทั้งหมด แต่เมื่อมีการแปรรูปเป็นบริษัทและจำหน่ายหุ้นแก่นักลงทุนต่างชาติต่อไป ค่าสัมปทานก็จะตกเป็นรายได้ของบริษัทซึ่งอาจมีเอกชนต่างชาติถือหุ้นมากกว่า ร้อยละห้าสิบทำให้พ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ และไม่ว่าจะถือหุ้น เท่าใดรายได้ส่วนนี้จะมิได้เป็นของรัฐทั้งหมดอีกต่อไป แต่ต้องจัดสรรเป็นกำไรของบริษัท เป็นโบนัสของพนักงานและเป็นเงินปันผลของผู้ถือหุ้นวิธี ที่จะทำให้ “ค่าสัมปทาน” ยังคงเป็นของรัฐเป็นส่วนใหญ่ คือ การแปลงค่าสัมปทาน (ไม่ใช่แปรสัญญาสัมปทาน) บางส่วนให้เป็นภาษีสรรพสามิต ซึ่งจะทำให้รัฐเรียกเก็บได้โดยตรง ที่เหลือจะจ่ายเป็นส่วนแบ่งแก่บริษัท พนักงานและผู้ถือหุ้นผล จากพระราชกำหนดนี้ ในแง่ของบริษัทคู่สัญญาสัมปทานก็มิได้มีเหตุที่จะต้องชำระเงินแก่รัฐน้อยลง หรือมีภาระเพิ่มขึ้น เพราะยังคงต้องชำระเท่าเดิมในแง่ผู้ถือหุ้นเมื่อ ทราบแล้ว ว่า รายได้ส่วนหนึ่งจะต้องชำระเป็นภาษีสรรพสามิตก็ไม่ถือว่าเสียเปรียบ ในแง่ของประชาชนผู้บริโภค ก็ไม่มีเหตุต้องเสียค่าบริการเพิ่มขึ้น เพราะบริษัทผู้รับสัมปทานมิได้มีภาระใดเพิ่มขึ้นจนต้องผลักภาระ ภาษีสรรพสามิตไปสู่ผู้บริโภค เพราะภาษีสรรพสามิตเป็นเรื่องที่แบ่งเอาค่า สัมปทานที่จะต้องชำระ แก่รัฐ มิใช่เก็บซ้อนบนฐานเดิม คือ ค่าสัมปทาน ส่วนที่ถูกกระทบ คือ รายได้ของ ทศท. เท่านั้น เพราะต้องหักส่งให้รัฐก่อน ทั้งนี้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังการตราพระราชกำหนด บริษัทยังคงมีรายได้จากสัมปทานเท่าเดิม ส่วนรัฐก็คงได้รายได้รวม 7,000 ล้านบาทต่อปีเท่าเดิม ไม่ได้ลดน้อยลงแต่อย่างใด ถ้าไม่มีการตราพระราชกำหนด ทศท. จะเป็นฝ่ายได้ 7,000 ล้านบาทแทนรัฐ เดิมรายได้ส่วนนี้ตก ได้แก่ ทศท. ก็ไม่มีปัญหาเพราะ ทศท. คือ รัฐ แต่นับจากนี้ไปไม่มีความแน่นอนว่า ทศท. จะเป็น ของรัฐทั้งหมดหรือไม่ เพราะ ทศท. ประกอบด้วย รัฐ ผู้ถือหุ้นชาวไทย และนักลงทุนจากต่างชาติ ดังนั้นการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจึงทำให้รัฐ (กระทรวงการคลัง) มีรายได้ของรัฐเพิ่มขึ้นทันที และสามารถจัดเก็บได้ต่อเนื่องทุกเดือนและภาษีสรรพสามิตนั้นรัฐสามารถ เรียกเก็บได้ตลอดไป แม้หมดอายุสัญญาสัมปทานแล้ว แต่ค่าสัมปทานนั้นจะมีการชำระเพียงเท่าอายุสัมปทานเท่านั้น การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจึงทำให้รัฐมีรายได้เข้าคลังเร็วขึ้นมากขึ้นกว่า เดิมและยาวนานกว่า ค่าสัมปทาน ข้อนี้คือ สิ่งที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า เป็นประโยชน์แก่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยิ่ง ถ้าไม่เร่งตรากฎหมาย กำหนดเรื่องพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตของกิจการโทรคมนาคมประเภทสัญญาสัมปทาน แล้ว รัฐจะขาดรายได้ประจำแต่ละเดือนเป็นอันมาก และหากออกกฎหมายในเรื่องนี้ช้าไป จน ทศท. ขายหุ้นแก่นักลงทุนไปแล้ว รัฐจะถูกตำหนิจนหมดความเชื่อถือได้ว่าปิดบังข้อเท็จจริงปล่อยให้คนซื้อหุ้น แล้วออกกฎหมายมาทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ กรณีดังกล่าวคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ก่อนที่รัฐจะขาดรายได้จำนวนมากโดยผลของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จึงจำเป็นต้องตรา พระราชกำหนด จัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรคมนาคมโดยเร่งด่วน อนึ่ง เมื่อพระราชกำหนดมีผลใช้บังคับ ในวันที่ 28 มกราคม 2546 แล้ว บริษัทสัมปทานโทรคมนาคมได้นำเงินภาษีสรรพสามิตของ วันที่ 28 – 31 มกราคม 2546 รวม 4 วัน ส่งให้กรมสรรพสามิต เป็นเงิน 45,166,677 บาท ”

http://www.kodmhai.com/vinit/2546/New/N1.html

————————————————————–

ครม.เห็นชอบยกเลิกมติ ครม.กรณีภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม

14:25 น. นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบยกเลิกมติคณะ รัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ และ 28 มกราคม 2546 ที่ให้บริษัทเอกชนบริการโทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์มือถือ ที่เสียภาษีสรรพสามิตไปขอหักเงินคืนจากบริษัท กสทฯ และบริษัท ทีโอที เนื่องจากทำให้รัฐต้องแบกรับภาระในการเสียภาษีให้กับบริษัทเอกชนไปแล้ว 50,000 ล้านบาทและเห็นชอบให้กำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมเป็นร้อยละ 0 เพราะธุรกิจโทรคมนาคมถือว่าไม่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยแล้วและให้คณะกรรมการ กฤษฎีกาพิจารณาข้อกฎหมายของสัญญาสัมปทานของ กสทฯ และ ทศท ว่า ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนร่วมงานกับรัฐปี 2535 เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับแก้ไขสัญญาสัมปทานต่อไป นายสิทธิชัย ยอมรับว่า การเรียกเงินคืนจากบริษัทเอกชนกรณีภาษีสรรพสามิตนั้น จะหารือกับ กสท.และทศท.ในฐานะผู้เสียหายอีกครั้งว่า จะดำเนินการอย่างไร รวมถึงต้องพิจารณาอีกครั้งในการเสนอเรื่องนี้ให้ คตส.หรือไม่ เพราะมติดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายของรัฐ

————————————————————–

‘อุ๋ย’ ดับฝันทีโอที-กสท นอนกินสัมปทาน [24 ม.ค. 50 – 04:57]

วาน นี้ (23 ม.ค.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2546 โดยให้จัดเก็บภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมในอัตรา 0% จากเดิมที่ ให้จัดเก็บภาษีโทรศัพท์มือถือ 10% และโทรศัพท์พื้นฐาน 2% นอกจากนี้ยังอนุมัติให้ยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2546 โดยให้ยกเลิกกรณีบริษัท เอกชนนำเงินที่จ่ายภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากการจ่ายส่วนแบ่งรายได้หรือจ่าย ค่าสัมปทาน เพื่อให้เอกชนจ่ายค่าสัมปทานให้กับบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ตามเดิม โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาทีโอที และ กสท จ่ายภาษีแทนเอกชน คิดเป็นวงเงินกว่า 50,000 ล้านบาท

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า ทีโอทีและ กสท ไม่สามารถนำเงินที่ได้จากการยกเลิกมติ ครม.ดังกล่าวนำไปปรับขึ้นเงินเดือน หรือจ่ายเงินโบนัสของพนักงาน เพราะเงินส่วนนี้ถือเป็นรายได้ ของรัฐ อย่างไรก็ตามไม่จำเป็นต้องเรียกเงินคืนจากเอกชน เพราะที่ผ่านมาเอกชนทำตามมติ ครม.

ด้าน นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง กล่าวว่า การยกเลิกเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม จะไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้รวมของรัฐบาล ถึงแม้รายได้จะหายไปในปีงบประมาณ 2550 กว่า 16,000 ล้านบาท เพราะมติ ครม.กำหนดให้ ทีโอที และ กสท นำรายได้จากค่าสัมปทานมานำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินในจำนวนไม่น้อยกว่า รายได้จากภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมที่หายไป ดังนั้นในปีงบประมาณ 2550 ทั้งสองแห่งจะต้องส่งรายได้เข้าคลัง ไม่น้อยกว่า 16,000 ล้านบาท ส่วนในปีงบประมาณถัดไปจะพิจารณาตามภาวะเศรษฐกิจ และมูลค่าของตลาดโทรศัพท์มือถือที่มีเพิ่มขึ้น

ขณะ ที่นายซิคเว่ เบรกเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวว่า ปกติดีแทคจ่ายภาษีสรรพสามิต ปีละ 7,500 ล้านบาท ซึ่งเงินส่วนนี้จะส่งกลับคืนให้กับ กสท ส่วนนายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสจ่ายค่าส่วนแบ่งรายได้ให้ทีโอที 10,200 ล้านบาท และค่าภาษีสรรพสามิต 8,500 ล้านบาท แต่เมื่อยกเลิกภาษีสรรพสามิตจะทำให้เงินภาษีกลับคืนสู่ทีโอที ทำให้คาดว่าปีนี้น่าจะจ่ายส่วนแบ่งรายได้ประมาณ 18,700 ล้านบาท

นาย สิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ยังได้อนุมัติให้กระทรวงไอซีที ส่งเรื่องให้ สำนักงาน คณะ กรรมการกฤษฎีกา ตรวจสอบสัญญาสัมปทานโทรศัพท์กับทุกบริษัทว่าเป็นการดำเนินตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือไม่ หากเห็นว่าไม่ถูกต้อง ให้ปรับแก้ไขสัญญาสัมปทานแล้วเสนอ ครม.พิจารณาต่อไป.

————————————————————–

สางปม “โทรคมนาคม” ภาษีสรรพสามิตคือคำตอบสุดท้าย
สกู๊ปเศรษฐกิจ .. ทีมเศรษฐกิจ
ไทยรัฐ11 ธ.ค. 52

ทันที ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เคาะระฆัง เริ่มต้นกระบวนการเตรียมพร้อมประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิ๊กกะเฮิรตซ์

แรงกระเพื่อม ทางสังคมก็เริ่ม หลั่ง ไหลเข้ามาจากทุกสารทิศ ทั้งกดดัน เรียกร้อง เสนอแนะ จนทำให้กระบวนการเดินหน้าสู่การให้ใบอนุญาตโทรคมนาคม 3 จี ต้องชะงักงันหลายครั้งหลายหน

โดย เฉพาะในระหว่างการทำประชาพิจารณ์ ใหญ่ที่กรุงเทพฯ เมื่อ 2 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งดูเหมือนว่าจะทำให้สถานการณ์ยิ่งถลำลึกลงไปอีก เพราะมีข้อถกเถียงกันในวงกว้าง

รวม ถึงปัญหาความลักลั่นที่กรรมการ กทช.ชุดเก่าบางรายต้องหมดวาระลง และกรรมการชุดใหม่กำลังจะมา ซึ่งทำให้เกิดข้อกังขาต่อความไม่สง่างามของกรรมการ กทช.คนเก่าที่กำลังจะหมดวาระนั้นสามารถวางเงื่อนไขการประมูล 3 จี

อย่าง ไรก็ดี แม้การสรรหากรรมการ กทช.ใหม่อีก 4 คนที่เพิ่งเสร็จสิ้นได้ช่วยลดแรงกดดัน และตอบคำถามต่อความสง่างามของกรรมการบางคนที่กำลังต้องพ้นจากอำนาจไป

แต่ กระนั้น เส้นทางการประมูลใบอนุญาต 3 จี จะสิ้นสุดลงตรงไหน ยังไม่มีใครบอกได้ เพราะท่าทีของรัฐบาลภายใต้ การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รวมทั้งกระทรวงการคลัง และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ยังตั้งข้อกังขา

ไม่เห็นด้วยกับการออกใบอนุญาต 3 จี เพราะเห็นว่ารังแต่จะทำให้รัฐสูญเสียประโยชน์จากระบบสัมปทานที่มีมานานหลาย 10 ปี

เนื่อง จากเอกชนรายเดิม 3 บริษัทใหญ่ที่อยู่ใต้ สัมปทาน อันได้แก่ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส, บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด (มหาชน) มีแนวโน้มที่จะโอนย้ายลูกค้าไปยังบริษัทใหม่ที่ได้ใบอนุญาต 3 จี ซึ่งไม่มีภาระค่าสัมปทาน

ทำ ให้ตลอดช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา จึงมีความพยายามจากฝั่งของรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่วมกับนายกรณ์ จาติกวณิช รมว. คลัง ว่าควรเร่งรัดแปรสัญญาสัมปทานให้เสร็จสิ้นก่อนเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี เพื่อปลดล็อกสัมปทานที่มีอยู่เดิมและตัดปัญหาการโอนย้ายลูกค้าไปยังบริษัท ใหม่

ทั้งยังมีข้อเสนอ ที่จะหันมาจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม ภายหลังจากที่รัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม

ระหว่าง นั้น ยังมีระเบิดลูกใหญ่จากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ที่ออกมาระบุว่า 2 รัฐวิสาหกิจ ทั้งบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานโทรคมนาคมอีกหลายครั้ง ซึ่งการแก้ไขสัญญาในแต่ละครั้งก็ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535

โดยนับตั้งแต่ ปี 2533 ได้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนคู่สัญญา อันทำให้รัฐเสียหายเบื้องต้นกว่า 138,034 ล้านบาท ไม่รวมภาษีสรรพสามิตที่ถูกยกเลิกไป 40,000 ล้านบาท และค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (แอ็คเซ็สชาร์จ) ที่เอกชนเลิกจ่ายอีก 14,000 ล้านบาท

รวมความเสียหายเบ็ดเสร็จเกือบ 200,000 ล้านบาท

แค่ นี้ก็เพียงพอที่จะทำให้เงื่อนไขการแปรและแก้ไขสัญญาสัมปทาน รวมทั้งการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแทนระบบสัมปทาน ได้ถูกนำขึ้นมาเป็นประเด็นร้อนอีกรอบ

ขณะ เดียวกัน ใบอนุญาต 3 จี ก็เป็นสิ่งที่ประเทศชาติและคนไทยหยุดรอคอยไม่ได้ อีกแล้ว อย่างน้อยก็เพื่อให้ ประเทศของเรา ได้มีบริการสื่อสารโทรคมนาคมยุคใหม่ ใช้เทียบเท่าประเทศเพื่อนบ้าน ในภูมิภาค ทั้งเขมร เวียดนาม หรือแม้กระทั่งลาว เจ้าภาพซีเกมส์ ซึ่งโชว์ศักยภาพใช้เครือข่าย 3 จี ถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาเผยแพร่ออกไปทั่วโลก

แต่ถึงแม้ว่าพวกเราหลายต่อหลายคน จะกำลังรอคอยโอกาสใช้เทคโนโลยี 3 จี ที่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากนี้

แต่ เราก็ไม่อาจรีบเร่งและปฏิเสธได้ว่า การบริหารจัดการรายได้ของรัฐ จากระบบสัมปทานธุรกิจโทรคมนาคมเดิม ก็จำเป็นต้องมีความชัดเจน ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐและประเทศเสียผลประโยชน์ น้อยที่สุด ประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุด

แม้ว่าความพยายามแปรสัญญาสัมปทานตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะไม่เคยประสบความสำเร็จ

โดย ย้อนกลับไปดูตัวอย่างในช่วงปี 2541 ซึ่งกระทรวงคมนาคม ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมสมัยนั้น ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ วางกรอบการเจรจาแปรสัญญาสัมปทาน รองรับการเปิดเสรี

แต่ กระทรวงการ คลังกลับมีความเห็นขัดแย้ง จึงได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ ทำการศึกษากรอบแปรสัญญาอีกกรอบ

อย่างไรก็ดี ภายหลังจากที่กรอบแนว ทางการแปรสัญญาที่ทีดีอาร์ไอศึกษาได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2543

แต่ ในที่สุด ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่าง 2 กระทรวงดังกล่าวก็ทำให้การแปรสัญญาในขณะนั้นติดหล่ม ไปไม่ถึงไหน จนในที่สุดรัฐบาลสมัยนั้นก็ได้พ้นจากตำแหน่งไป

จวบ จนวันที่ 4 ก.พ. 2544 ที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ไทคูนโทรคมนาคมคนสำคัญของไทย และยังเป็นเจ้าของกลุ่มชินคอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเอไอเอส ได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี

ในช่วงนั้น ปรากฏว่าความพยายามในการแปรสัญญาสัมปทานได้ยุติลง!!

โดย ส่วนหนึ่ง น่าจะเป็นเพราะสถานะ ของรัฐบาล ซึ่งตัวนายกรัฐมนตรีก็เป็นเจ้าของกิจการโทรคมนาคมเบอร์ 1 ของประเทศ ทำให้การขยับ เขยื้อนใดๆในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรคมนาคมก็ย่อมหลีกหนีข้อครหาไม่ พ้น

ประกอบกับได้มีการ ตรา พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งกลายเป็นความหวังว่าจะเป็นองค์กร ที่ทำหน้าที่กำกับ ดูแล วางกรอบการแปรสัญญาให้มีความยุติธรรมและเท่าเทียม

แต่ ที่สุดแล้ว กทช.ได้ถูกกำหนดด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ไม่ให้ แตะต้องสัญญาสัมปทานเดิมใดๆ นอกจากกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมใหม่ กรุยทางไปสู่การเปิดเสรีสื่อสารเท่านั้น

รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณในขณะนั้นจึงเริ่มเล็งเห็นเค้าลางแห่งความยุ่งยากที่จะตามมา

ส่วน หนึ่งมาจากการออกใบอนุญาตใหม่ของ กทช.ที่ จะทำให้ เอกชนซึ่งได้รับสัมปทานสามารถขยับขยายไปขอใบอนุญาตใหม่ และผ่องถ่ายลูกค้าไปยังบริษัทใหม่ที่ไม่มีภาระสัมปทาน ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินที่รัฐได้รับจากส่วนแบ่งรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาทนั้นต้องร่อยหรอลง

ส่วน อีกประการ มาจากความพยายามลดทอนสิทธิประโยชน์ และเงินตราของ 2 หน่วยงานรัฐอย่างทีโอทีและกสท ซึ่งหลังจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจได้เข้ามาแข่งขันกับเอกชนโดยตรง แต่ยังคงบทบาทของการเป็นหน่วยงานกำกับดูแล มีรายได้สัมปทานและนำมาใช้แข่งขันทางธุรกิจกับเอกชนเอง

ดัง นั้น รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ จึงออกกฎหมาย พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดภาษีสรรพสามิต 2527 เพื่อให้กระทรวงการคลังจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม ซึ่งระหว่างการจัดเก็บช่วงปี 2546-2549 ในอัตราสำหรับผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2% โทรศัพท์เคลื่อนที่ 10% โดยหักจากส่วนแบ่งรายได้ที่นำส่งเข้าทีโอทีและกสท ทำให้ระหว่างนั้นกระทรวงการคลังมีรายได้จากภาษีดังกล่าวสูงถึง 48,410 ล้านบาท

ดังนั้น หาก มองด้วยเหตุผล โดยปราศจากอคติแล้ว จะเห็นว่าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมในยุคนั้น นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี โดยเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์รายได้จากสัมปทานที่อาจลดต่ำลง ด้วยการแปลงรายได้สัมปทานมาเป็นภาษีซึ่งจะเป็นรายได้ที่สม่ำเสมอ ทั้งยังส่งตรงเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน และยังช่วยลดความได้เปรียบของรัฐวิสาหกิจลง เพื่อสนับสนุนให้ทั้งทีโอทีและกสทที่เป็นรัฐวิสาหกิจได้ปรับตัวรับกับการ แข่งขันเสรี สามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง

แต่ ด้วยเหตุผลทางการเมือง เมื่อรัฐบาลชุด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เข้ามาบริหารประเทศ ก็ได้มีการตัดสินใจยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม แล้วได้ยกภาษีสรรพสามิตดังกล่าวกลับคืนไปเป็นรายได้สัมปทานของทีโอทีและกสท เช่นเดิม

จนกระทั่งการ ออกใบอนุญาต 3 จี เริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่าง ก็ได้มีความพยายามในการผ่องถ่ายรายได้จากธุรกิจโทรคมนาคมให้กลับมาเป็นภาษี สรรพสามิตอีกครั้ง

แต่ครั้งนี้ภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม ดูเหมือนจะมาถูกที่ ถูกเวลามากขึ้น!!

เพราะ นอกจากจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการจัดเก็บรายได้จากกิจการโทรคมนาคมของรัฐ เปลี่ยนส่วนแบ่งรายได้ ที่มีแนวโน้มลดลงมาเป็นภาษี ซึ่งมีระบบจัดเก็บชัดเจน

ผู้ ให้บริการรายเก่าใต้สัมปทาน อันประกอบด้วย 3 บริษัทใหญ่ ได้แก่ เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ รวมทั้งรายใหม่ที่จะได้รับใบอนุญาตในอนาคตนั้น จะต้องจ่ายภาษีที่เท่าเทียมกัน โดยหากเป็นรายเก่าที่ไปขอใบอนุญาตใหม่ ก็จะต้องจ่ายภาษีควบทั้ง 2 บริษัท แก้ปัญหาการผ่องถ่ายลูกค้ามายังบริษัทใหม่ ที่ไม่ต้องมีภาระจ่ายค่าสัมปทาน

ประการ สำคัญ น่าจะถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลต้องปล่อย ให้ทีโอทีและกสทเดินด้วยตนเอง ด้วยการทอนส่วนแบ่งรายได้ดังกล่าวกลับไปเป็นภาษีสรรพสามิตอีกครั้ง

ปัจจุบัน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 รายได้รับส่วนแบ่งรายได้สบายๆ ปีละประมาณ 33,000 ล้านบาท จากเอกชนคู่สัญญาใต้สัมปทาน แต่ดูเหมือนว่า ส่วนแบ่งรายได้เหล่านั้นจะตกหล่นเรี่ยราดอยู่ตามทาง ทำให้ตัวเลขจัดส่งเงินปันผลให้แก่กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้น 100% กินสัดส่วนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรายได้จากสัมปทาน ไม่ต้องพูดถึงรายได้จากการประกอบธุรกิจ

เพราะทั้ง 2 หน่วยงานนี้แทบไม่เคยประสบความสำเร็จในการแสวงหารายได้ด้วยตัวเอง

เปรียบ เทียบส่วนแบ่งรายได้และสัดส่วนเงินปันผลที่นำส่งคลัง จากงบการเงินที่ปรากฏบนเว็บไซต์ของทั้ง 2 หน่วยงานเอง พบว่าในปี 2550 ทีโอทีรับส่วนแบ่งรายได้ ที่ 17,365 ล้านบาท จัดส่งเงินปันผลเข้าคลัง 1,002 ล้าน บาท ปี 2551 รับส่วนแบ่งรายได้ที่ 19,462 ล้านบาท จัดส่งเงินปันผลเข้าคลัง 5,511 ล้านบาท

ส่วน กสท รับส่วนแบ่งรายได้ในปี 2550 ที่ 14,091 ล้านบาท จ่ายปันผลให้คลัง 3,740 ล้านบาท ส่วนปี 2551 รับส่วนแบ่งรายได้ 15,097 ล้านบาท จ่ายปันผลเข้าคลัง 6,900 ล้านบาท

หาก รัฐบาลต้องการเดินหน้าแปรสัญญาสัมปทานให้เสร็จสิ้น ก่อนเปิดประมูล 3 จี ก็ต้องเร่งหาทางออกด้วยเงื่อนไขที่ตกลงกันได้ด้วยดี ในเวลาอันสั้น

แต่ ที่ผ่านมา การแปรสัญญาสัมปทาน เปรียบได้กับการเดินทางผ่านอุโมงค์ลึก แคบและไร้ทางออก โดยเฉพาะเมื่อการเจรจาอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ทั้งสองฝ่าย พึงรักษาผลประโยชน์ของตนอย่างสุดโต่ง

เช่น การกำหนดให้เอกชนภายใต้สัมปทาน ต้องจ่ายส่วน แบ่งรายได้ตามระยะเวลาสัญญาที่เหลือให้รัฐทั้งหมด ก่อนยกเลิกสัญญา เพื่อให้รายเดิมจะได้ไปร่วมประมูล 3 จีโดยไม่มีภาระผูกพัน ซึ่งเงื่อนไขการแปรสัญญาเช่นนี้ ใครๆก็คิดได้ เพราะแค่เอาผลประโยชน์ ของหน่วยงานต้นสังกัดเป็นที่ตั้ง แต่ปัญหาคือใครจะยอมจ่าย ขณะที่ทีโอทีและกสทจะสามารถเก็บเงินจากคู่สัญญาได้จริงหรือ

เพราะการแก้ไข เปลี่ยน หรือแปรสัญญาสัมปทาน ต้องได้รับ ความเห็นชอบร่วมกันระหว่างคู่สัญญา

นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้กาลเวลาไม่สามารถเอาชนะหนทางตีบตันแห่งการแปรสัญญาสัมปทานไปได้ ไม่ว่าจะเป็นในยุคสมัยใด

ทั้ง นี้ ภายใต้การปรับเปลี่ยน แก้ไข หรือเดินหน้าจากนโยบายหนึ่งไปสู่อีกนโยบายหนึ่ง เพื่อก้าวย่างไปสู่อนาคตข้างหน้าอย่างกล้าหาญและมั่นคง

หาก การแปรสัญญาสัมปทานเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ต้องใช้เวลาที่ยาวนาน ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้ คือ การนำภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมกลับมาใช้อีกครั้ง

อย่างไรก็ดี ผู้กำหนดนโยบาย ทั้งรัฐบาล กระทรวงการคลัง และไอซีที จำเป็นต้องทำงานสอดประสานไปในทิศทางเดียวกัน

บางครั้งอาจจำเป็นต้องเลือก โดยยอมสูญเสียสิ่งหนึ่ง เพื่อที่จะได้มาซึ่งอีกสิ่งหนึ่ง นี่คือสัจธรรมที่พบเห็นกันอยู่เสมอ

แต่ จะทำอย่างไรให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด และในทางกลับกัน ตราบใดที่ประชาชน ธุรกิจ และทุกภาคส่วนที่ทำมาหากินบนผืนแผ่นดินไทยได้ประโยชน์ สุดท้ายประเทศ ชาติก็จะได้ประโยชน์ไปด้วย

ทั้ง จากการก้าวข้ามสู่ ระดับการพัฒนาอีกขั้น การลงทุน การก่อกำเนิดของนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะย้อนกลับมาเป็นรายได้ การสร้างงาน และภาษีเงินได้ที่รัฐบาลจัดเก็บในอนาคตข้างหน้า.

ที่มา: ไทยรัฐ
http://74.125.153.132 /search?q=cache:lfOJsP3kdBwJ:www.ftawatch.info/news/11/december/09/สางปม quotโทรคมนาคมquotภาษีสรรพสามิตคือคำตอบสุดท้าย+สุรยุทธ์+ทรู+ไม่ต้องจ่าย +ค่า+access+ชาร์จ&cd=6&hl=th&ct=clnk&gl=th

————————————————————–

นำข้อมูลความเป็นมาทั้งหมดเรียงมาให้ดู
ตามความเห็นของเรา
สรุปเรื่องภาษีสรรพสามิตคร่าวๆ ดังนี้
ผู้ให้สัมปทาน ซึ่งได้แก่ TOT (ทศท.), CAT (กสท.)
บริษัทผู้รับสัมปทาน ซึ่งได้แก่ บริษัท AIS, DTAC, TRUE , TT&T , …
ตัวอย่างวิธีคิดภาษีสรรพสามิต
สมมุติบริษัทรับสัมปทานมีรายได้ 100 บาท
ต้องส่งค่าสัมปทาน 20% หรือ 20 บาท
ของรายได้ที่ยังไม่หักภาษี
ซึ่งหน่วยงานผู้ให้สัมปทานจะได้ 20 บาท
เมื่อกำหนดให้เก็บภาษีสรรพสามิตแล้ว
สมมุติเขาเรียกเก็บภาษี 10 %
บริษัทรับสัมปทานก็จะจ่ายให้ 10 บาท เป็นภาษีสรรพสามิตเข้ารัฐ
บริษัทรับสัมปทานแทนที่จะจ่ายให้ผู้ให้สัมปทาน 20 บาทเหมือนเดิม
ก็จ่าย 10 บาท เพราะนำภาษีสรรพสามิตที่จ่ายให้รัฐมาหักอีก 10 บาท
สรุปก็คือผู้รับสัมปทานทั้งหมด
ก็จ่าย 20 บาทเหมือนเดิม
ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลงสักแดงเดียว
ส่วนคลัง ก็ได้รายได้เพิ่มขึ้นและเร็วขึ้น
คือได้ 10 บาทชัวร์ๆ ทุกๆ ไตรมาส
ไม่ต้องรอปันผลจาก TOT และ CAT ตอนสิ้นปี
ส่วนที่ดูเหมือนจะเสียมากที่สุดก็คือหน่วยงานผู้ให้สัมปทาน
ทั้ง TOT และ CAT
คือแทนที่จะได้ 20 บาท แต่กลับเหลือแค่ 10 บาท
ซึ่งที่จริงแล้วทุกปี หน่วยงานเหล่านี้
ก็ต้องส่งรายได้เข้ารัฐทุกปีตามอัตราที่รัฐกำหนดหรือเรียกเก็บ
เพราะรัฐหรือกระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 100%
ก็คือเป็นเจ้าของนั่นแหล่ะ
บางปีก็เลย 50% ด้วยซ้ำ
แต่ถ้ามีรายได้จากส่วนแบ่งน้อยทำให้รายได้โดยรวมน้อย
ก็ส่งเข้ารัฐตอนสิ้นปีน้อยลงไปด้วย
ถ้าได้มากก็ต้องส่งมากตามไปด้วยเหมือนกัน
บางช่วงที่มีวิกฤตรัฐเงินขาดมือจนแทบจะไม่มีเงินสดเหลือในคลัง
ก็มารีดเอากับ รัฐวิสาหกิจทั้งหลายไปใช้เป็นปกติอยู่แล้ว
ถึงยกเลิกเก็บภาษีสรรพสามิต
และดูเหมือนผู้ให้สัมปทานจะมีรายได้เพิ่มขึ้น
แต่หักลบกับที่ต้องส่งแล้วเหลือจริงๆ
ผมว่าน้อยกว่าที่ DTAC กับ TRUE งดเว้น
ไม่จ่ายค่า AC ให้แก่ TOT และ CAT
ซึ่งรายได้ส่วนนี้เสียไปปีๆ หนึ่งเป็นหมื่นๆ ล้านบาท
เสียหายหนักกว่าเรื่องภาษีสรรพสามิต
ซึ่งทั้งสองบริษัทก็ประกาศไม่จ่ายทันที
หลังการทำรัฐประหารไม่กี่เดือน
ถ้ามีคนคิดว่าทำรัฐประหารได้รัฐบาลที่เข้ามาเอื้อกับเอกชน
ที่อาจแอบหนุนช่วยเช่น ออกทุนช่วยในการทำรัฐประหาร
ทำให้รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งเสียหายก็คงมีสิทธิ์คิดได้
เพราะรู้สึกจะว่ารัฐบาลชุดนั้นทำเป็นมองไม่เห็น
ไม่คิดจะยับยั้งแก้ไข แก้ระเบียบอะไร
ทีเรื่องสรรพสามิตยังรีบยกเลิกทันทีที่เข้ามา
แถมเอกชนทั้งสองก็กล้าหาญประกาศไม่จ่ายค่า AC ทันที
หลังจากรัฐประหารสำเร็จไม่กี่เดือน
ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าสมัยรัฐบาลทักษิณ
ยังไม่เห็นกล้าบ้าบิ่นขนาดนี้
แล้วยังงี้ไม่มีใครคิดจะจัดการหาเรื่องยึดทรัพย์ใครบ้างเลยหรือ
สำหรับกรณีนี้เสียหายไม่น้อยกว่ากรณีภาษีสรรพสามิตเสียอีก

ถามว่าใครได้ใครเสียในการยกเลิกการเก็บภาษีสรรพสามิต
ก็ถ้ามองมุม TOT กับ CAT เขาก็ต้องมองว่าเขาเสียแน่นอน
และถ้าจะเอาแบบนี้ก็ต้องให้ TOT กับ CAT ไม่ต้องจ่ายเงินเข้ารัฐทุกปีอีก
ซึ่งก็คือต้องแปรรูปแล้วเป็นบริษัทก็ไม่ต้องจ่ายเงินให้รัฐอีก
ให้จ่ายเป็นปันผลตามผลประกอบการแทน
เหมือนผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ถ้ามีการแปรรูปแล้ว
ซึ่งกระทรวงการคลังอาจได้ส่วนแบ่งจากรายได้น้อยลงไปอีก
ทั้งไม่ได้จากเอกชนรายใหม่และรายเดิม
แถมถ้ารัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งแปรรูปแล้ว
รัฐก็จะได้รายรับน้อยลงไปอีก
ซึ่งถ้ายังคงภาษีสรรพสามิตไว้
ผู้ที่ได้แน่ๆ ก็คือรัฐ ได้รายได้เต็มที่แน่นอนชัวร์ๆ
ทั้งผู้ประกอบการรายใหม่ รายเก่า รัฐวิสาหกิจก็ต้องเสียเหมือนกัน
แต่ถ้าไม่ทำยังงี้ยกเลิกไปอนาคตรายได้ด้านนี้ก็จะสูญไปเยอะมากๆ
อนาคตมีบริษัทใหม่ๆ เข้ามา
แทนที่จะได้รายได้เพิ่มขึ้นเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ก็จะไม่ได้เพิ่ม เท่าที่จะได้ตามรายได้ของบริษัทเหล่านี้
ซึ่งเขามีวิธีหักให้มีรายได้น้อยๆ เพื่อจะได้จ่ายภาษีน้อยๆ อยู่แล้ว
ในทางบัญชีสามารถทำได้ไม่ผิดกฏหมายด้วย
ตอนนี้ก็เสียหายไปปีๆ หนึ่งหลายหมื่นล้านสำหรับรัฐบาล
หลังจากยกเลิกเก็บภาษีสรรพสามิตตัวนี้
แล้วไปรอลุ้นรับปันผลหรือภาษี
ที่ทุกบริษัทสามารถหลบได้โดยถูกกฏหมาย
เพื่อให้เสียภาษีน้อยลง เช่นหาค่าใช้จ่ายเพิ่ม เป็นต้น
หรือพวกพึ่งมาลงทุนใหม่ค่าใช้จ่ายก็เพียบ
5 ปีไม่รู้จะได้ภาษีสักกี่บาท
เรื่องนี้มันแล้วแต่มุมมอง
ถ้าคุณมองโดยที่คุณคือบริษัทผู้ให้สัมปทานแล้ว
การยกเลิกภาษีสรรพสามิตคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
แต่ถ้าคุณมีมุมมองเรื่องผลประโยชน์เข้ารัฐจริงๆ แล้ว
คุณก็ต้องคงไว้
สุดท้ายรัฐบาลสุรยุทธ์ก็เลือกที่จะยกเลิกภาษีสรรพสามิต
ซึ่งก็ง่ายๆ คนที่ได้คือใคร คนที่เสียคือใคร
ไม่ว่าออกมาแบบไหน
หนีไม่พ้น รัฐกับ ผู้ให้สัมปทานเท่านั้น
งานนี้เอกชนเขาไม่เกี่ยวอะไรด้วย
เปรียบเหมือนเป็นการทะเลาะกัน
ระหว่างกระเป๋าซ้ายกับกระเป๋าขวา
สุดท้ายรายได้รวมทั้ง 2 กระเป๋า
อาจทำให้กระเป๋าฉีกได้ในภายหลัง
ยิ่งถ้าเจอรัฐบาลขยันใช้เงินเก่ง
แต่หารายได้ไม่เป็นด้วยแล้ว
อาการน่าเป็นห่วงจริงๆ
ที่กำลังทำๆ อยู่นี่มองเฉพาะเรื่องกรณีมีคู่สัญญาสัมปทานเท่านั้น
ถ้าต่อไปมีรายใหม่ที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญารายได้ส่วนนี้ก็จะหายไป
และที่คิดว่าจะเรียกเก็บจาก 2 บริษัทนี้ได้
เท่ากับที่เคยได้จากเก็บภาษีสรรพาสามิต
เข้าใจว่าเขาก็ต้องเอาไปลงทุนหรือไปทำยังอื่น
เพื่อให้มีกำไรน้อยๆ หรือส่งเงินให้ไม่มากตามที่ต้องการ
บางปีไม่ถึงหมื่นล้านก็มี
แค่คิดจะเอาชนะกันแค่วันนี้
ลืมคิดตอนเปิดเสรีที่มีบริษัทต่างชาติมาแข่ง
ที่ไม่ต้องขอสัมปทานจาก TOT หรือ CAT
และถ้า TOT หรือ CAT ต้องแปรรูปอีก
กำไรจะไปตกกับผู้ถือหุ้นรายอื่นนอกจากกระทรวงการคลังด้วย
ซึ่งถ้าไม่แปรก็จะกลายเป็นยักษ์แคระแบบนี้ไปเรื่อยๆ
รอวันเจ๊งเพราะนอนเก็บค่าต๋งไปวันๆ
แต่ลืมคิดไปว่าถ้าพวก AIS, DTAC , TRUE
ได้รับไลเซ่นส์ประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว
หรือได้คลื่นใหม่เช่น 3G แล้ว เขาสามารถทำโปรโมชั่น
ให้ลูกค้าระบบเดิมของบริษัทเขา ย้ายไปใช้ระบบใหม่
ระบบเก่าก็จะค่อยๆ ร้างไปในที่สุด

สำหรับข้อกล่าวหาเพื่อการอายัดทรัพย์สินทักษิณของ คตส. ดังนี้
“๓. ตราพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม และได้มีมติคณะรัฐมนตรีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เพื่อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานส์ อินโฟเซอร์วิซ จำกัด (AIS) ทำให้วิสาหกิจของรัฐเสียหายประมาณ ๓๐,๖๖๗ ล้านบาท”

จะเห็นว่าพยายามหาข้อหาแม้จะขัดกันไปมาก็ตาม
บางกรณีก็บอกว่าทำให้รัฐเสียหายเท่านั้นเท่านี้
บางกรณีเช่นกรณีนี้ก็บอกว่าทำให้รัฐวิสาหกิจเสียหาย
แต่ลืมพูดถึงว่าทำให้รัฐมีรายได้มากขึ้น
แถมการยกเลิกภาษีสรรพาสามิต
เป็นการทำให้รัฐเสียหายในการเปิดเสรีในอนาคตมากกว่าด้วย
แล้วรัฐบาลที่ทำให้รัฐเสียหายเสียรายได้
ไม่ทราบว่าจะมีการตามไปยึดทรัพย์ด้วยหรือไม่
ถ้าใช้ตรรกะการทำให้รัฐเสียหาย
แล้วนำมาอ้างยึดทรัพย์แบบนี้
ถ้าไม่ทำก็จะกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หามาตรฐานไม่ได้

สรุปว่าถ้าเรื่องนี้เป็นประเด็นหนึ่ง
ที่ใช้ในการยึดทรัพย์ทักษิณ
เพราะทำให้รัฐวิสาหกิจเสียรายได้
ก็ต้องมีการยึดทรัพย์ ครม. สุรยุทธ์
ที่ทำให้รัฐบาลขาดรายได้จากภาษีสรรพสามิต
หรือมีรายได้น้อยลงกว่าเดิม
และการที่เปิดประมูลคลื่น 3G ตอนนี้ยังไม่ได้
ส่วนหนึ่งก็มาจากรัฐจะขาดรายได้จากเอกชน
ที่จะได้รับไลเซ่นส์ในอนาคต
เพราะไม่สามารถเก็บภาษีสรรพาสามิตได้อีกต่อไป
ได้แต่ค่าประมูล ซึ่งก็ได้แค่ครั้งเดียว
ซึ่งได้ข่าวว่ารัฐบาลต้องการไลเซ่นส์ 3G ใบละเป็นแสนล้าน
ซึ่งเอกชนเขาคงไม่สู้ราคาสูงขนาดนั้นหรอก
ถ้าสู้ด้วยราคาเป็นแสนล้าน ก็ต้องมีต้นทุนเพิ่มมหาศาล
แล้วต้องมาโขกราคาเอากับผู้บริโภค
ที่ตอนนี้มีทางเลือกใช้โปรโมชั่นราคาถูกๆ หลายเจ้าอยู่แล้ว
จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ 3G บ้านเราเกิดได้ช้า
แถมเกิดมาแล้วมีการดองไม่ให้โตไวไวอีก
เพื่อไม่ให้หน่วยงานของรัฐ
ขยายเครือข่ายได้กว้างขวาง
ก่อนที่เอกชนจะได้รับไลเซ่นส์
เหมือนเร่งเปิดเพื่อให้คุยได้ว่า
ประเทศไทยก็มี 3G
เหมือนกับชาวโลกเหมือนกันแค่นั้นเอง
ตลกไหมเร่งให้ทาง TOT เปิด 3G ให้ได้
พอเปิดได้จะขอขยายทำทั่วประเทศ
ขอส่งไปตีความยังงั้นยังงี้
ถ้ามันต้องตีความก่อน
แล้วจะไปเร่งให้เกิดทำไมตอนแรก
แล้วที่ทำไปแล้วไม่มีไลเซ่นส์ให้ทำกันไปได้ยังไง
แล้วต้องยกเลิกที่ทำไปแล้วทั้งหมดไหม
ตอบคำถามนี้ได้หรือไม่
แท้ที่จริงแล้ว
พวกไหนกันแน่ที่ทำให้รัฐเสียรายได้
พวกไหนกันแน่ทำเพื่อประโยชน์ของเอกชน
ถ้ารัฐบาลทักษิณถูกกล่าวหาว่าทำให้รัฐวิสาหกิจเสียรายได้
รัฐบาลสุรยุทธ์ก็ต้องถูกกล่าวหาว่าทำให้รัฐเสียรายได้
และรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ต้องถูกกล่าวหาว่าทำให้ประเทศเสียโอกาส
เอื้อบริษัทเอกชน ทำให้โครงข่าย 3G ไม่สมบูรณ์
ไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ รัฐก็เสียรายได้ที่จะได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

โดย มาหาอะไร

—————————————————————-

หนังสือพิมพ์บ้านเมือง — เสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2006 10:00:33 น.

นาย ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทรูมูฟ เปิดเผยว่า ได้ลงนามกับบริษัทโทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เพื่อคิดค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (อินเตอร์คอนเนคชั่นชาร์จ หรือไอซี) ระหว่างกันแล้ว เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล มีผลตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย.เป็นต้นไป โดยคิดอัตรานาทีละ 1 บาท ทั้งการโทรเข้าและรับสาย และคิดค่าสัญญาณวิ่งผ่านเครือข่าย หรือ ทรานซิท นาทีละ 20 สตางค์ พร้อมประกาศจะหยุดการจ่ายค่าใช้โครงข่าย หรือ แอ็คเซ็ส ชาร์จ แก่ บมจ.ทีโอที ในอัตรา 200 บาทต่อเลขหมายสำหรับโทรศัพท์ประเภทจดทะเบียน และอัตรา 18% ของรายได้สำหรับประเภทบัตรเติมเงิน โดยหวังผลว่าจะทำให้ทีโอที พิจารณายกเลิกจัดเก็บถาวร เพื่อให้ดีแทคและทรูมูฟมีต้นทุนเท่าเทียมกับเอไอเอส อีกทั้งเชื่อว่าจะไม่ทำให้ทีโอทีเสียผลประโยชน์ เพราะหากทีโอทีหันมากำหนดอินเตอร์คอนเนคชั่นชาร์จเหมือนดีแทคและทรูมูฟ ก็จะทำให้มีรายได้สูงมาก ปีที่ผ่านมาทรูจ่ายค่าแอ็คเซ็สชาร์จแก่ทีโอที 3,000 ล้านบาท แต่ถ้าทีโอทียกเลิกแล้วกำหนดอินเตอร์คอนเนคชั่นชาร์จ จะมีรายได้ชดเชยแน่ การร่วมมือของดีแทคกับทรูมูฟ ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเข้าสู่หลักสากล และจะทำให้ปัญหาการโทร.ติดยากลดลง
ด้าน นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า แนวทางแก้ปัญหาการจัดเก็บค่าใช้โครงข่าย หรือแอ็คเซ็สชาร์จ ที่ บมจ.ทีโอที จัดเก็บจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3 ราย คือ ดีแทค ทรูมูฟ และดิจิตอลโฟนนั้น รัฐต้องไม่เสียหาย โดยขณะนี้ทีโอทีมีรายได้จากค่าแอ็คเซ็สชาร์จที่ 3 บริษัทจัดส่งให้สูงถึง 14,000 ล้านบาทต่อปี ถือเป็นรายได้หลักของทีโอที ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ ไม่ใช่ปกป้องผลประโยชน์ของเอกชน พร้อมระบุว่า ที่ผ่านมาเอกชนเต็มใจเซ็นสัญญากับทีโอทีเพื่อขอใช้โครงข่ายภายในประเทศ พร้อมยอมรับข้อตกลงการจ่ายค่าใช้เครือข่าย 200 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน และ 18% ของรายได้สำหรับโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินโดยไม่มีใครบังคับ จึงขอให้ยึดสัญญาเป็นหลัก การจะยกเลิกสัญญาต้องตกลงกันเองระหว่างคู่สัญญา แต่รัฐต้องไม่เสียเปรียบ

—————————————————————-

ไม่จ่ายฟ้องเบี้ยวสัญญาทันที ‘ทีโอที’ ร่อนหนังสือ ทวงหนี้ ‘ดีแทค-ทรูมูฟ’
ปีที่ 58 ฉบับที่ 17926 วันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550

นาย ปริญญา วิเศษศิริ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอทีเปิดเผยว่า ทีโอทีได้ส่งหนังสือไปยัง บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทคและบริษัท ทรูมูฟ จำกัด เพื่อขอให้ชำระค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (แอคเซ็สชาร์จ) หรือเอซี ในรอบเดือน พ.ย. 2549 ที่ครบกำหนดชำระเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2550 หากไม่ชำระภายใน 60 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 22 ก.พ. 2550 ทีโอทีจะยื่นฟ้องดีแทคและทรูมูฟว่าผิดสัญญาไม่จ่ายค่าแอคเซ็สชาร์จทันที

ผู้ สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตามสัญญาค่าแอคเซ็สชาร์จ ดีแทคจะต้อง จ่ายค่าแอคเซ็สชาร์จให้ทีโอทีเดือนละ 650 ล้านบาท หรือปีละ 7,800 ล้านบาทส่วนทรูมูฟจะต้องจ่ายเดือนละ 500 ล้านบาท หรือปีละ 6,000 ล้านบาท แต่หลังจากที่ดีแทคและทรูมูฟได้ลงนามในสัญญาที่จะใช้อัตราค่าเชื่อมต่อโครง ข่าย (อินเตอร์คอนเนกชั่นชาร์จ) หรือไอซี ตามประกาศว่าด้วยการใช้ ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายอินเตอร์คอนเนกชั่นชาร์จ ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) โดยให้มีผลตั้งแต่ วันที่ 1 ก.พ. 2550 และประกาศว่าจะหยุดจ่ายค่าแอคเซ็สชาร์จให้ทีโอทีนับจากวันที่ 18 พ.ย. 2549 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ดีแทคและทรูมูฟได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง กรณีทีโอทีไม่ยอมต่อเชื่อมเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่จำนวน 3 ล้านเลขหมาย ซึ่งศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราว เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อน ขณะที่ทีโอทีได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทา ทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพาท ดังนั้น ทีโอทีจะเปิดสัญญาณต่อเชื่อมเลขหมายให้กับดีแทคจำนวน 10,000 เลขหมายใหม่เท่านั้น ส่วนที่เหลือ 1,490,000 เลขหมาย จะไม่เปิดสัญญาณต่อเชื่อมจนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะตัดสินชี้ขาด ขณะที่เลขหมายใหม่ของทรูมูฟจำนวน 1.5 ล้านเลขหมายไม่มีการต่อเชื่อมเลขหมายแต่อย่างไร

ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ในวันที่ 23 ก.พ.นี้ ทีโอทีจะทำพิธีบวงสรวงศาลพระพรหมในโอกาสวันสถาปนาองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศ ไทย หรือทีโอที ครบรอบ 53 ปี ขณะเดียวกันจะทำพิธีสาปแช่งคนโกงกินทีโอทีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่สำนักงานใหญ่ ถนนแจ้งวัฒนะ โดยนายสมควร บรูมินเหนทร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้เชิญชวนผู้บริหารและพนักงานทีโอทีทุกคนร่วมทำพิธีสาปแช่งคนโกงกินทีโอที.

จากหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ
http://www.sgl1.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=391240&Ntype=777

—————————————————————-

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่า AC

By staff3 – Posted on 24 December 2009

26 มิถุนายน 2550 พันเอก นที ศุกลรัตน์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (บมจ.ทีโอที) ได้ชี้แจงกรณีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าเชื่อมต่อเลขหมาย (Access Charge – AC) ว่า ในขณะนี้คณะทำงานพิจารณาแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน ที่ประกอบด้วยผู้แทนจาก บมจ.ทีโอทีและบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (บมจ.กสท) ได้มีข้อสรุปร่วมกันให้

บมจ.กสท จ่ายค่า AC ให้ บมจ. ทีโอที ก่อน และหลังจากนั้นให้ บมจ.กสทไปไล่เบี้ยฟ้องร้องกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)(ดีแทค) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด (ทรูมูฟ) ในฐานะผู้รับสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บมจ.กสท เอง เพราะตามสัญญา บมจ.กสท สามารถเรียกเงินจากเอกชนเป็นจำนวนเงินถึง 2 เท่าของจำนวนเงินที่ บมจ.กสท จ่ายให้ บมจ.ทีโอทีที่ปัจจุบันดีแทคและทรูมูฟค้างจ่ายค่า AC มีมูลค่า 6,000 ล้านบาท โดยมติดังกล่าวคณะกรรมการได้ส่งให้นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อลงนามเห็นชอบตามมติดังกล่าวแล้ว

ส่วนกรณีที่คณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) มีมติเห็นพ้องกับคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.) ที่ให้บมจ.ทีโอทีเจรจาทำสัญญาค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (Interconnection Charge – IC) กับดีแทคภายใน 30 วันนั้น บมจ.ทีโอที ได้ทำหนังสือคัดค้านคำวินิจฉัยดังกล่าวแล้วนอกจากนี้ บมจ.ทีโอที ยังเตรียมที่จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนประกาศของ กทช.ว่าด้วยการใช้ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย เนื่องจากเป็นต้นเหตุให้เอกชนหยุดจ่ายค่า AC ให้ บมจ.ทีโอที ทั้งนี้ มติจากคณะกรรมการร่วม บมจ.กสท จะนำเข้าพิจารณาใวันที่ 5 กรกฎาคม 2550 เนื่องจากค่า AC ที่ บมจ.กสทต้องจ่ายแทนนั้นมีจำนวนมาก คาดว่าประมาณ 6,000 ล้านบาท

ซึ่งขณะนี้บมจ.กสท ไม่มีเงินมากพอที่จะจ่าย ดังนั้น จะต้องนำเรื่องเข้ากระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ว่าจะต้องดำเนิน งานอย่างไรต่อไป โดยเมื่อวันที่ 25มิถุนายน 2550 นายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) และนายธนา เธียรอัจฉริยะรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานพาณิชย์ จากดีแทคได้เข้าพบ กทช.เพื่อ หาแนวทางป้องกันเลขหมายขาดตลาด เพราะปัญหาดังกล่าวทำให้การแข่งขันในตลาดต้องสะดุดลงไป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีปัญหามากที่สุด โดย กทช.เตรียมจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในการประชุมคณะกรรมการในวันที่ 28 มิถุนายน 2550

http://74.125.153.132 /search?q=cache:9e3X83IT7pUJ:www.siamarchives.com/node/11905+สิทธิชัย +โภไคย+ทรู+ทีโอที&cd=178&hl=th&ct=clnk&gl=th

—————————————————————-

3G ทีโอทีโดนรัฐเตะถ่วง

‘มา ร์ค’ ไม่เคลียร์ 3G โยนบอร์ดกทช.ถกใหม่ 3 ประเด็น มติครม.เศรษฐกิจเตะถ่วงโครงการ 3Gทีโอที ให้รอความชัดเจนจากกทช.ก่อน แถมไม่ค้ำประกันเงินกู้ 1.6 หมื่นล้านบาท ทำทีโอทีวุ่นปรับแผนใหม่ กลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอยไทยโมบาย ผู้บริหารโครงการ 3G ทีโอทีรับแปลกใจกับมติครม.เศรษฐกิจที่ออกมาแบบนี้ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้มีสัญญาณที่ดีมาโดยตลอด

วานนี้ (3 พ.ย.) นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ ยัง ไม่เห็นชอบตาม ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เสนอผลการวิเคราห์ความเสี่ยง และผลกระทบพร้อมแนวทางแก้ไขจากการออกใบอนุญาตบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค ที่สาม (3G) เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคำถามถึงความคืบหน้าในการจัดตั้งองค์กรกสทช. โดยเห็นว่ายังไม่มีความชัดเจนใน 3 ประเด็น แต่ละประเด็นมีข้อสังเกต ดังนี้

1. จะต้องรอการพิจารณาของคณะกรรมการกทช. (บอร์ดกทช.)ในบ่ายวันที่ 4 พ.ย.นี้ ในส่วนของภาพรวมของการประมูลคลื่นความถี่ของ กทช. ซึ่งในเชิงกฎหมายนั้นจะต้องไปดูว่า กทช. มีอำนาจสามารถออกใบอนุญาตได้ตามกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีการคัดเลือกกรรมการ กทช. ทดแทนกรรมการที่หมดวาระและที่ลาออกซึ่งกทช.ควรพิจารณาหารือข้อกฎหมายกับคณะ กรรมการกฤษฎีกาให้ชัดเจนในส่วนของสถานะและอำนาจหน้าที่ของกทช. และกสทช.ตามรัฐธรรมนูญ และประเด็นการประมูลคลื่นความถี่ และการให้ใบอนุญาตจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้ามาร่วมงานฯ พ.ศ.2535 หรือไม่ แต่ หากไม่มีการหารือ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้เชิญมาหารือเพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมกำหนดเวลา 2 สัปดาห์ มอบหมายให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงไอซีที รับไปพิจารณาแนวทางการแก้ไขสัมปทานระหว่างเอกชนกับ บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท.โทรคมนาคมให้ถูกต้องตามขั้นตอน ให้สอดคล้องกับแผนแม่บท การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ครม.เห็นชอบไปก่อนหน้านั้น

2. ประเด็นการกำหนดเงื่อนไข การประมูลคลื่นความถี่ 3G ที่ชัดเจนนั้น ขณะนี้กทช.ยังอยู่ระหว่างการนำประเด็นข้อห่วงใยของครม.เศรษฐกิจไปรับฟังความ คิดเห็นกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งกทช.จะต้องกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน ในการเข้าประมูลของผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับทีโอที และกสท เช่นหากผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานจะเข้าประมูลใบอนุญาตดังกล่าว คู่สัญญาภาคเอกชน ต้องดำเนินการแปรสัญญาให้เรียบร้อยก่อนการเข้าประมูลใบอนุญาต ซึ่งจะทำให้ปัญหาการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบสัญญาสัมปทานไปสู่การออกใบอนุญาตและจะช่วยลดปัญหา การโอนฐานลูกค้า และปัญหาการใช้ทรัพย์สินที่ได้รับโอนจากสัญญาสัมปทาน เป็นต้น

นอกจากนี้ขอให้ กทช.พิจารณารับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นมูลค่าใบ อนุญาต 3G เมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาสัมปทานเดิมด้วย ทั้งนี้ กทช.ได้ให้ข้อมูลว่า เงื่อนไขในการให้ใบอนุญาต 3G จะมีความชัดเจนภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากมีการรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องโดยคาดจะชัดเจนต้นเดือนธันวาคม นี้

3. ที่ ประชุมขอให้กระทรวงไอซีที ยังรอการพิจารณาของบอร์ด กทช. เพื่อรอความชัดเจนในข้อกฎหมาย และเงื่อนไขของการเปิดประมูลการดำเนินการ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการลงทุนพัฒนาโครงข่าย 3G ของกทช.ที่ชัดเจนก่อนที่ทีโอทีจะดำเนินการลงทุน แต่หากเงื่อนไขออกมามีผลกระทบต่อการลงทุนของทีโอที อย่างมีนัยสำคัญต่อผลตอบแทนทางการเงินของโครงการและหาก ทีโอทีมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแผนธุรกิจที่แตกต่างจาก เงื่อนไขเดิม ที่ครม.ให้ความเห็นในปี 2551จะต้องนำเสนอครม.พิจารณาก่อนดำเนินการลงทุนต่อไป

****แผนเตะถ่วง 3G ทีโอที

ทั้ง นี้โครงการ 3G ของทีโอที ครม.เคยให้ความเห็นชอบในปี 2551 สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยงบประมาณ 2.9 หมื่นล้านบาทใช้การประมูลแบบอินเตอร์เนชั่นแนลบิต และใช้แหล่งเงินกู้ต่างประเทศ ต่อมาในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กระทรวงไอซีที เสนอเรื่องให้ครม. พิจารณาอีกครั้งเพื่อปรับลดวงเงินลงเหลือ 2 หมื่นล้านบาทและเปลี่ยนวิธีเป็นใช้การประกวดราคาทั่วไป และใช้แหล่งเงินกู้ในประเทศ แต่กลับถูกดองเรื่องเป็นเวลากว่า 3 เดือนก็ยังไม่มีการพิจารณา จนไอซีทีต้องขอถอนเรื่องกลับเพื่อดำเนินการตามมติครม.ปี 2551 แต่ กลายเป็นว่าพอกทช.จะเปิดประมูล 3G ซึ่งจะเกิดผลกระทบกับทีโอทีและกสท ครม.เศรษฐกิจ ก็หยิบเรื่องนี้มาพิจารณา พร้อมทั้งเอา 2 เรื่องที่ไม่เกี่ยวกันมาผูกเป็นเรื่องเดียวกัน

‘ทีโอทีประมูลโครง ข่าย 3G ทั่วประเทศเร็ว ยิ่งเป็นผลดีกับทีโอที เพราะจะได้นำเสนอบริการก่อนผู้ให้บริการรายอื่น ในขณะที่กทช.ยิ่งประมูลคลื่นและใบอนุญาต 3G ช้า ทีโอทีก็ยิ่งได้เปรียบ แต่กลายเป็นว่าครม.เศรษฐกิจจะดึง 3G ของทีโอทีไว้ก่อน เพื่อให้กทช.ทำให้การประมูล 3G ชัดเจน ซึ่งความชัดเจนจะเกิดก็ต่อเมื่อประมูลแล้วเท่านั้น’แหล่งข่าวกล่าวและย้ำว่า สิ่งที่รัฐบาลทำอยู่กำลังซ้ำรอยไทยโมบายในอดีต โดยทีโอทีกำลังจะให้บริการ 3G ในวันที่ 3 ธ.ค.ในกทม.และปริมณฑลแต่แผนขยายโครงข่ายทั่วประเทศกลับถูกดึงให้ล่าช้าออกไป

นาย วรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอทีกล่าวว่าความชัดเจนในความหมายที่ครม.เศรษฐกิจต้องการจากการเปิดประมูล 3G ของกทช. คือ 1.ผลกระทบในทรัพย์สินสัมปทานเดิมของทีโอทีและกสท 2.กรณีผู้ลงทุนต่างด้าวสนใจประมูล 3.กรณีหน่วยงานรัฐจะเข้าร่วมประมูลและ 4. การโอนถ่ายลูกค้าของบริษัทเอกชนที่อยู่ในสัมปทานไปบริษัทใหม่

นาย วิเชียร นาคสีนวล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่รับผิดชอบโครงการ 3G กล่าวว่าได้เข้าไปรายงานความคืบหน้าโครงการ 3G ของทีโอทีกับครม.เศรษฐกิจ ซึ่งมีมติสำคัญคือ 1.รัฐไม่ค้ำประกัน เงินกู้เพื่อลงทุนในโครงการติดตั้งเครือข่าย3G ทั่วประเทศให้ทีโอที และ 2.การที่ทีโอทีมีแผนจะเปิดประมูลนั้น ควรรอความชัดเจนในเรื่องการประมูล 3G ของกทช.ก่อน

ทั้งนี้โครงการติดตั้งโครงข่าย3G ทั่วประเทศของทีโอทีมีแผนลงทุน 20,000 ล้านบาท โดยกู้เงินประมาณ 16,000 ล้านบาท และใช้เงินตัวเอง 4,000 ล้านบาท การที่ครม.เศรษฐกิจมีมติไม่ค้ำประกันเงินกู้ให้ ส่งผลให้ต้นทุนดอกเบี้ยต้องสูงขึ้นซึ่งยังเป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นห่วงเท่า กรณีที่ครม.เศรษฐกิจระบุว่าการประมูลที่เดิมทีโอทีพยายามเร่งให้เปิดประมูล ในสิ้นปีนี้นั้น ควรรอความชัดเจนจากกทช.ก่อน

เพราะ หากมติครม.เศรษฐกิจที่เป็นลายลักษณ์อักษรระบุว่า รอให้กทช.ชี้แจงรายละเอียดมาที่คณะรัฐมนตรี ก็ไม่น่าเป็นห่วงว่าจะเสียเวลามาก แต่หากเป็นรอความชัดเจนจากการประมูลความถี่ 3Gของกทช. ก็จะน่าเป็นห่วงมาก เพราะ วันนี้ยังไม่มีความชัดเจนอย่างไรออกมาว่ากทช.จะเปิดประมูล 3G ในความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์เมื่อไหร่ หรือหมายถึงวันที่ประมูลใบอนุญาต 3G ของกทช.คือความชัดเจนซึ่งก็เท่ากับทำให้โครงการ 3G ทั่วประเทศของทีโอทีล่าช้ากว่า

นายวิเชียรกล่าวว่าค่อนข้างแปลกใจกับ มติครม.เศรษฐกิจที่ออกมาแบบนี้ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้มีสัญญาณที่ดีมาโดยตลอด เพราะระดับนโยบายเห็นว่าเป็น โอกาสของทีโอทีที่จะสร้างความเข้มแข็งก่อนเอกชนผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ รายอื่น นอกจากนี้กรณีที่กทช.จะเปิดประมูล 3G ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการ 3G ของทีโอทีเลยเพราะทีโอทีดำเนินการโดยความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์เดิมที่ได้รับจัดสรรมานานแล้ว

ทั้งนี้ทีโอทีจะเปิดให้ บริการ 3G Initial phase ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ โดยมีเลขหมายให้บริการได้ทั้งหมด 5 แสนเลขหมาย ซึ่งทีโอทีจะทำการโอนย้ายลูกค้าจากไทยโมบายเดิม ราว 10,000 เลขหมาย มาอยู่กับ ทีโอที 3G ก่อนส่วนผู้ร่วมทำตลาด MVNO ขณะนี้ได้เลือกแล้ว จำนวน 5 ราย 1.บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น 2.สามารถ ไอ-โมบาย 3.ไออีซี 4.เอ็มคอนซัลท์และ 5.ล็อกซ์เลย์

****กทช.เพิ่มประเด็นประชาพิจารณ์

นาย ประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่าที่ ประชุมกทช.ได้รับพิจารณาประเด็นของครม.เศรษฐกิจ 3 เรื่องได้แก่ 1.อำนาจหน้าที่ 2.องค์ประกอบ3.ความเกี่ยวข้องพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือ ดำเนินกิจการของรัฐ โดย กทช.จะส่งเรื่องขอความเห็นไปยังสำนักงานคณะกฤษฎีกาสัปดาห์หน้า

นอก จากนี้ที่ประชุมกทช.ยังมีมติเพิ่มประเด็นการทำประชาพิจารณ์ 3G ตามความเห็นของครม.เศรษฐกิจ ได้แก่ 1.ควรมีการกำหนดการเรื่องโอนย้ายลูกค้าสำหรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือไม่ 2.การใช้โครงข่าย 2G และ 3G ว่าควรจะกำหนดอย่างไร เช่นให้ร่วมกันใช้ หรือไม่ให้ร่วมกันใช้โครงข่าย และ 3.การกำหนดคุณสมบัติเอกชนผู้รับสัมปทานเดิมว่าบริษัทเกี่ยวเนื่องกันควรมี สิทธิเข้าร่วมการประมูลหรือไม่

http://www.thaiinternetwork.com/forum/viewtopic.php?f=37&t=1398

คดีขายหุ้นชินคอร์ป

ความจริงเรื่องนี้
มีการโต้เถียงกันหลายสิบกระทู้แล้ว
เรียกว่าโต้กันจนเบื่อ
แต่ก็ดีทำให้มีข้อมูลเก็บไว้จำนวนมาก
และคิดว่าครอบคลุมแทบทุกเรื่องที่กล่าวหากันแล้ว
แต่ขอสรุปง่ายๆ เพื่อความเข้าใจ
แล้วตามอ่านคำชี้แจงต่างๆ เพิ่มเติม
อาจทำให้เข้าใจมากขึ้น

เรื่องการขายหุ้นมีการกล่าวหาในหลายประเด็นดังนี้
เรื่องขายหุ้นทำไมไม่เสียภาษี
เรื่องไปตั้งบริษัทบนเกาะฟอกเงิน
เรื่องแก้กฏหมายทำให้ขายหุ้นได้
เรื่องภาษีส่วนต่างต้องเสียไหม
เรื่องนายเรืองไกรขายหุ้นทำไมเสียภาษี
สุดท้ายงัดเรื่องจริยธรรมมาเล่น
เรื่องเจตนารมณ์กฏหมายมาเล่น

ผมได้พยายามรวบรวมหลักฐาน
และคำชี้แจงของผู้เกี่ยวข้อง
ของกรมสรรพากร
และรวบรวมข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องมาลงไว้ด้วย
เพื่อให้ทุกท่านอ่านและสามารถวิเคราะห์ได้เองด้วย

โดย มาหาอะไร

———————————————

1. ประเด็นภาษีการขายหุ้นชินคอร์ปฯ

1.1. (หากขายหุ้น 49% ตั้งแต่ปี42) คุณทักษิณและภรรยามีหุ้นชินคอร์ปฯ 49% (จากที่ตั้งบริษัทเองเมื่อ 22 ปีก่อน และเข้าตลาดหุ้นเมื่อ 15 ปีก่อน) หุ้นจำนวนนี้หากขายในตลาดหุ้น ไม่ว่าให้ลูกและลูกขายต่อให้ใคร ในฐานะนักลงทุนบุคคลในตลาดหุ้นไม่มีภาษีจากการขายหุ้น เป็นสิทธิ์พื้นฐานของคุณทักษิณและครอบครัว ไม่จำเป็นต้องทำอะไรซับซ้อนเพื่อลดหรือเลี่ยงภาษี (เช่นกรณีแอมเพิลริช) เพราะไม่มีภาษีให้ลดหรือเลี่ยง

· ที่คุณทักษิณทำเรื่องบริษัทแอมเพิลริชในปี 42 เพราะจะเอาหุ้นชินคอร์ปฯ 11% เข้าขายในตลาดหุ้นสหรัฐ (ดูหน้าข้อมูลประกอบ) ตอนหลังตลาดหุ้นสหรัฐตกมาก เลยหยุดแผน แต่หุ้นส่วนนี้ก็อยู่ที่แอมเพิลริชไปเรื่อยๆ

1.2. (โอนไป หุ้น11%) คุณทักษิณโอนหุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่ เดิมถือเองอยู่ในฐานะบุคคล ให้ถือโดยบริษัทแอมเพิลริชที่คุณทักษิณเป็นเจ้าของ ไม่มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษี เพราะเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมข้อ 1.1

· (ยกหุ้น49% ให้ลูก) ปลายปี 43 คุณทักษิณและภรรยา ขายโอนชินคอร์ปฯให้ลูกที่ต้นทุน ก่อนจะเป็นนายกฯ เพื่อให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ: เป็นหุ้นชินคอร์ปฯส่วน 38% (ที่ถือในฐานะบุคคล) และเป็นตัวบริษัทแอมเพิลริช (ที่ถือหุ้นชินคอร์ปฯส่วน 11%)

1.3. (โอนกลับ หุ้น11%) ต้นปี 49 พาน/พิณ ในฐานะเจ้าของบริษัทแอมเพิลริช โอนหุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่บริษัทแอมเพิลริชถืออยู่ มาถือเองตรงในฐานะบุคคล การโอนกลับก็เทียบเท่ากับตอนแรกที่ได้โอนไป คือ ไม่มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษี เพราะเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมในข้อ 1.1

· โอนกลับ 11% จากแอมเพิลริช (มาถือในฐานะบุคคล) เพื่อมารวมกับส่วน 38% (ที่ถือในฐานะบุคคลมาตลอด) เท่าจำนวนหุ้นเดิม 49%

1.4. (ขายหุ้น 49% ปี 49) ต้นปี 49 พาน/พิณ จึงขายหุ้นทั้ง 49% ในตลาดหุ้นในฐานะบุคคลธรรมดา ไม่มีภาษี เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมตามข้อ 1.1

· ปรากฏว่า ถูกกล่าวหาว่าเลี่ยงภาษีส่วนแอมเพิลริช 11% ตอนโอนกลับ และหากถูกกฏหมายก็หาว่าผิดจริยธรรม

1.5. ข้อกล่าวหาแบบที่ (1) ว่า การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯจากแอมเพิลริชที่ราคา 1 บาท แล้วตอนขายได้ 49 บาท พาน/พิณ มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ 48 บาท และต้องจ่ายภาษีในวันที่ “ขาย”

1.6. ข้อกล่าวหาแบบที่ (2) คล้ายกรณีบริษัทออกหุ้นราคาถูกพิเศษขายจูงใจให้พนักงาน (สต็อกออปชั่น หรือ ESOP ที่ พนักงานสามารถซื้อหุ้นใหม่นี้ได้ที่ราคาต่ำกว่าราคาหุ้นบริษัทที่ซื้อ ขายอยู่ในตลาดในวันนั้นๆ จงใจให้พนักงานมีกำไรจากการขายหุ้น อันเป็นวิธีหนึ่งในการจ่ายรายได้เพิ่มให้พนักงาน)

· ว่า การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯจากแอมเพิลริชที่ราคา 1 บาท ในวันที่หุ้นชินคอร์ปฯในตลาดหุ้นราคา 42 บาท เสมือนว่าพาน/พิณ มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ 41 บาท และต้องจ่ายภาษีในวันที่ “ซื้อ” เลย(ภายหลังขายในตลาดหุ้นที่ 49 บาทไม่มีภาษีแล้วเพราะได้เป็นเจ้าของหุ้นนั้นแล้ว)

1.7. ข้อกล่าวหาทั้งสองลักษณะ เป็นการตีความคนละหลักการ

· พาน/พิณเป็นเจ้าของแอมเพิลริช เป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ 11% นี้อยู่แล้ว เป็นบุคคลเดียวกันดังที่รายงานตลาดหุ้นมาตลอด ดังนั้น การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่แอมเพิลริชถืออยู่กลับมาถือเองโดยตรงในราคาพาร์ต้นทุน ไม่ทำให้พาน/พิณมีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ เพราะเป็นหุ้นเดิมของตนแต่เดิม

· เป็นคนละกรณีกับ นายจ้างจ่ายผลตอบแทนลูกจ้างด้วยการออกหุ้นใหม่ขายให้ในราคาพิเศษ (หรือ บางข้อกล่าวหาว่าเหมือนการให้รางวัลจับสลาก หรือ การขายตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีส่วนลดหน้าตั๋ว) ล้วนเป็นการจ่ายให้ผู้รับมีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ แต่กรณีพาน/พิณไม่มีรายได้เพิ่ม เพราะเป็นหุ้นเดิมของตนแต่เดิม

· จึง ดูเพียงครึ่งทางตอนขาโอนกลับอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูทั้งวงจร คือเจ้าของเดิมโอนไปครั้งแรกและโอนกลับครั้งหลัง ระหว่างตนเองกับบริษัทที่ตนเป็นเจ้าของ (แอมเพิลริช) ไม่เป็นการมีรายได้เพิ่ม มิเช่นนั้น ก็ควรต้องออกกฏหมายให้ชัดๆว่าการโอนโดยเจ้าของเดียวกันต้องเสียภาษี

1.8. ประเด็นนี้ พาน/พิณ หารือกับสรรพากรตั้งแต่กลางปีที่แล้ว สรรพากรก็ยืนยันว่าเรื่องนี้ถูกต้อง แต่ก็ไม่ฟังกัน กล่าวหาว่าลูกนายกฯเลี่ยงภาษี นายกฯไม่มีจริยธรรม สรรพากรผิดจรรยาบรรณตีความเข้าข้างรับใช้นายกฯ

· ข้อกล่าวหาโดยนักกฏหมายยังมีการตีความไปหลายแบบ (ที่ไม่ใช่ประเด็นถูกต้อง) ว่ามีเข้าข่ายต้องเสียภาษีในหลายกรณีที่แตกต่างกันมาก เพื่อยัดเยียดว่าต้องผิดจริยธรรมแน่นอน (การถูกผิดกฏหมายควรเป็นกรณีชัดเจนเพียงอันใดอันหนึ่ง)

· หาก แคลงใจในแง่กฏหมายว่าลูกนายกฯเลี่ยงภาษี โดยการตีความไปต่างๆนาๆ ก็ควรให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน ไม่ใช่แค่เอาเป็นประเด็นโจมตีทางการเมืองไปที่นายกฯ สรรพากร และ กลต

1.9. เป็น สิทธิ์ของประชาชนตามกฏหมาย ที่มีหน้าที่เสียภาษีเท่าที่จำเป็น หากเสียภาษีเกิน ก็เรียกคืนจากสรรพากรได้ ตามที่ทุกคนยื่นแบบภาษีกันทุกปี

· ข้อ กล่าวหานี้ เปรียบไปคล้ายกับว่า ถนนข้างล่างว่าง ขับได้เร็วอยู่แล้ว คนขับมีสิทธิ์อยู่แล้ว แต่ไปบอกว่าหากไม่ขึ้นทางด่วนเสียเงินค่าทางด่วน ถือว่าคนขับหลีกเลี่ยง

1.10. ตลาด หลักทรัพย์ตั้งใจยกเว้นภาษีกำไรให้บุคคลธรรมดาที่ซื้อขายหุ้นในตลาด เพราะไม่งั้นเสียเปรียบบริษัทนิติบุคคลที่สามารถทำงบกำไรขาดทุนได้

· บริษัท นิติบุคคลสามารถนำการขาดทุน การเสียภาษีเงินปันผล การเสียภาษีกำไรขายหุ้น ไปหักลบในงบกำไรขาดทุน ทำให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง

· บุคคลธรรมดาทำงบไม่ได้ หากขาดทุน หรือเสียภาษี ก็หักลบอย่างอื่นไม่ได้เลย ตลาดหลักทรัพย์จึงต้องส่งเสริมเช่นนี้ มิเช่นนั้น นักลงทุน 500,000 คนต้องไปตั้งบริษัทกันหมด วุ่นวายต้องทำบัญชี สอบบัญชี

1.11. ทั้งตัวคุณทักษิณ ครอบครัว บริษัท และพนักงานกว่า12,000 คน เสียภาษีให้รัฐทุกรูปแบบ ทั้งเงินได้จากเงินปันผล เงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล รวมถึงค่าสัมปทานต่างๆ ทั้งมือถือ ดาวเทียม ฯลฯ ปีละหลายหมื่นล้านบาท สิบกว่าปีนี้หลายแสนล้านบาท เป็นผู้จ่ายภาษีรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศไทย ร่วม 5% ของยอดจัดเก็บของสรรพกร ทำขนาดนี้ ทั้งผู้ก่อตั้งและตัวบริษัทเอง เป็นผู้เสียภาษีที่รักชาติไม่น้อยกว่าใครที่มาโจมตี (หลายปีก่อนตอนยังทำธุรกิจ คุณทักษิณเคยเป็นบุคคลที่เสียภาษีสูงสุดของไทยปีละหลายร้อนล้านบาทหลายปี)

1.12. กลุ่มบริษัทชินคอร์ปฯ ได้ชื่อว่า เป็นบริษัทดีเด่นของไทย มูลค่าทางตลาดรวมในตลาดหลักทรัพย์ (Market Capitalization) กว่า 350,000 ล้านบาท เท่ากับ 7% ของทั้งตลาดหุ้นไทย เป็นหนึ่งในสามบริษัทไทยที่ติด 500 อันดับ แรกของบริษัทใหญ่ที่สุดในโลกจัดโดยฟอร์จูน (อีกสองบริษัทคือปูนซีเมนต์ไทยและปตท) ได้รับรางวัลจากตลาดหลักทรัพย์ไทยและสถาบันการเงินระหว่างประเทศจำนวนมาก ในความดีเด่นในแง่ผู้บริหาร การจัดการ ธรรมธิบาล การรายงานการเงิน ความเชื่อถือทางการเงิน (เครดิตทางการเงินของเอไอเอส ในเครือชินคอร์ปฯคอร์ป สูงกว่าของรัฐบาลไทย) ทำได้ขนาดนี้ ต้องมีความสามารถและจริยธรรมเพียงพอแน่

ข้อมูลประกอบ

ที่ SH 063/2542
11 มิถุนายน 2542
เรื่อง ขอชี้แจงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตามที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ ตามแบบ 246-2 ที่ผู้ถือหุ้นได้แจ้งให้สำนักงาน กลต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบแล้วนั้น บริษัทฯ ขอชี้แจงเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจนในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้ทราบดังนี้

เดิม ใหม่

1. นางพจมาน ชินวัตร 25.00% 25.00%

2. พ.ต.ท.ดร. คุณทักษิณ ชินวัตร 23.75% 11.88%

3. Ample Rich Investments Limited 0% 11.87%

(ถือหุ้นโดย พ.ต.ท. คุณทักษิณ ชินวัตร ทั้งหมด 100 %) 48.75% 48.75%

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือ พ.ต.ท. ดร. คุณทักษิณ ชินวัตร ได้โอนหุ้นของบริษัทฯ จำนวน 11.87% ให้กับ Ample Rich Investments Limited ซึ่งผู้ถือหุ้นถือเป็นบุคคลเดียวกันกับเจ้าของเดิม แสดงให้เห็นว่ามิได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นดังกล่าวไม่มีผลต่อโครงสร้างผู้ถือหุ้นทั้งทางด้านส่วนตัวและบริษัทฯ โดยเฉพาะในส่วนของการบริหารงานบริษัท โดยเฉพาะในส่วนของการบริหารงานบริษัทฯ ยังคงเป็นเช่นเดิม

อย่างไรก็ตาม เพื่อชี้แจงให้เห็นวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ว่า เป็นการเตรียมการเพื่อสนับสนุนการที่บริษัทฯ มีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการจัดหาเงินทุนจากต่างประเทศ ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาขยายการลงทุนด้านโทรคมนาคมในประเทศไทย ตามที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2542 ตามหนังสือเลขที่ SH 61/2542 แล้วนั้น

เพื่อให้บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการจัดหาเงินทุนจากต่างประเทศดังกล่าว บริษัทฯ มีความจำเป็นที่ต้องสำรองหุ้นบางส่วนจากผู้ถือหุ้นปัจจุบันทั้งรายใหญ่และรายย่อย เพื่อทดสอบความสำเร็จและสภาพคล่องของ ADR Level I ก่อนนำหุ้นที่เพิ่มทุนเข้าสู่ ADR Level III หรือจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ

(นายบุญคลี ปลั่งศิริ)
กรรมการ
บมจ. ชิน คอร์ปอเรชั่นส์

ข้อมูลประกอบ

01/02/01
ชินคอร์ปเลิกไปแนสแดค ระดมทุนในไทยไร้ปัญหา
กลุ่มชินฯ บอกลาตลาดหุ้นแนสแดค อ้างเศรษฐกิจสหรัฐฯไม่ดี ส่งสัญญาณบริษัทที่เหลือคงพับแผน นักวิเคราะห์มองกลุ่มนี้ไม่ มีปัญหา แม้ต้องใช้ เงินขยายธุรกิจอีกมาก ด้วยสถานะดีระดมทุนในประเทศได้ไม่ยาก
บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SHIN ได้ ตัดสินใจที่จะเลื่อนแผนการเข้าไปเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดแนสแดค จากเดิมที่จะต้องนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในต้นปีนี้ ทั้งนี้เป็นผลมาจากตลาดแนสแดคได้เข้าสู่ช่วงขาลง
แหล่งข่าวจากกลุ่มชินฯ ให้เหตุ ผลว่า พวกเราประเมินกันแล้วว่าตลาดหุ้นของสหรัฐ โดยเฉพาะแนสแดคคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะฟื้นตัว เห็นได้จากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในแนสแดคส่วน ใหญ่มีรายได้ลดลง ซึ่ง เป็นผลมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ สหรัฐฯที่อยู่ในช่วงชะลอตัว โดยที่ธนาคารกลางสหรัฐฯกำลังพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งซึ่งจะทราบผลใน วันนี้

“หากตลาดแนสแดคดีขึ้นเมื่อไหร่ เราคง จะหันมาทบทวนแผนการระดมทุนอีกครั้ง”
สิ่ง ที่เกิดขึ้นจะทำให้นักลงทุนในสหรัฐฯให้ความสนใจหุ้นในกลุ่มนี้ลดลงและอาจจะ เคลื่อนย้ายเงินลงทุนออกจากสหรัฐฯ ซึ่งจะมีผลต่อราคาหุ้นที่จะนำไปเสนอขาย รวมไปถึ งแผนที่ทางกลุ่ม เคยคิดที่จะออกตราสารแทนหุ้นบริษัทและเปิดให้ซื้อขายในต่างประเทศได้ ซึ่ง คงจะต้องเปลี่ยนแผนไปเช่นกัน

นัก วิเคราะห์หลักทรัพย์กล่าวว่า การถอยจากการระดมทุนในสหรัฐของกลุ่มชินฯ ถือว่า เป็นสัญญาณบอกกับบริษัทอื่นๆ ที่มีแผนจะนำเอาบริษัทไปจดทะเบียนที่แนสแดคว่าคงจะต้องคิดเหมือนกลุ่มชินฯ เพราะกลุ่มตั้งความหวังไว้ส่วนใหญ่จะมีสถานะเป็นรองกลุ่มชินฯ แทบทั้งสิ้น

นอกจากนี้ตราสารของบริษัทในย่านเอเชียที่ออกเพื่อใช้ซื้อขายในสหรัฐฯเกือบทุกแห่งมีราคาตกลงเป็นอย่างมาก ดังนั้นการที่ตลาดหุ้นแนสแดคมีปัญหาเท่ากับเป็นการดับความหวังของบริษัทต่างๆ ที่คิดจะเข้าไประดมทุนในสหรัฐฯ
แม้ว่ากลุ่มชินฯ จะปรับแผนไม่ไป ระดมทุนที่สหรัฐฯ แต่คงไม่สร้างปัญหาให้กับกลุ่มชินฯ ทั้งๆ ที่ทางกลุ่มจะต้องใช้เงินอีกจำนวนไม่น้อยเพื่อขยาย ธุรกิจ เนื่องจากโดยศักยภาพของกลุ่ม นี้สามารถที่จะแหล่งเงินทุนได้ไม่ยากนัก และบริษัทลูกก็สามารถออกหุ้นกู้ได้เอง
…………………….

* ที่มา Kimeng & Manager

———————————————

2) การจัดตั้งบริษัทนอกอาณาเขต (Offshore Company

2.1. แอมเพิลริชเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นชินคอร์ปฯเฉยๆ ไม่ได้มีกิจการค้าขายธุรกรรมอื่น ไม่มีรายได้ในไทย ใน BVI หรือ ในประเทศใด จึงไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เสียในประเทศใด ขณะที่หุ้นชินคอร์ปฯที่ถืออยู่ เป็นของครอบครัวคุณทักษิณตั้งแต่ต้น สามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้โดยไม่มีภาษีอยู่แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ใดๆที่จะตั้งแอมเพิลริชเพื่อการหลีกเลี่ยงภาษี

· แอ มเพิลริชถือหุ้นชินคอร์ปฯซึ่งมีข้อมูลชัดเจนอยู่แล้ว ตามทะเบียนกระทรวงพาณิชย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงไม่ใช่การตั้งขั้นเพื่อการหลบเลี่ยงการรายงาน ซ่อนหรือฟอกเงินหรือทรัพย์สิน

2.2. ประเทศไทยก็มีกฏหมายเปิดรับการจัดตั้งบริษัทนอกอาณาเขตแบบปลอดภาษีในประเทศไทยเองเช่นกัน

· ประเทศที่จัดให้มีการตั้งบริษัทนอกอาณาเขตแบบปลอดภาษี ที่นิยมกันมาก คือ บีวีไอ (กว่า 300,000 บริษัท), เบอร์มิวดา, เคย์แมน, บาฮามา, มอริเชียส, ฯลฯ รวมถึง สิงค์โปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศไทยด้วย (วาณิชธนกิจ BIBF (Bangkok International Banking Facilities) ของแบงค์ชาติ มีสิบกว่าปีแล้ว)

· หลัก การคล้ายกันคือ เพื่อจูงใจให้ต่างชาติมาใช้บริการทางการเงินของประเทศ ประเทศก็จะมีบริการให้ต่างชาติสามารถมาตั้งบริษัทนอกอาณาเขตได้ เปิดบัญชีเงินดอลลาร์ หากไม่มีรายได้ที่เกิดจากการค้าขายในประเทศ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ประเทศ ดังนั้นบริษัทนอกอาณาเขตแบบปลอดภาษี เป็นเรื่องปกติและถูกต้องตามกฏหมายในการทำธุรกิจสากล ดูข้อมูลประกอบ

 

2.3. ตลาดหุ้นสหรัฐเปิดรับบริษัทนอกอาณาเขตแบบปลอดภาษีจากทุกประเทศอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ห้ามหรือปิดกั้นอย่างที่กล่าวหา (รวมถึงตลาดหุ้นสากลใหญ่ๆทุกแห่ง ทั้ง อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์) บริษัทต่างชาติ ที่เข้าระดมทุนซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นสหรัฐจำนวนมาก ก็เป็นบริษัทนอกอาณาเขตแบบปลอดภาษี ดูข้อมูลประกอบhttp://www.sec.gov/divisions/corpfin/internatl/foreignsummary2004.pdf

2.4. แผนการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นสหรัฐของชินคอร์ปเป็นแบบซื้อขายหุ้นของชินคอร์ป ในลักษณะใบรับฝากหุ้นอเมริกา (ADR: American Depository Receipt) เป็น การเข้าสองตลาดหุ้นขนานพร้อมกัน ระหว่างตลาดหุ้นไทยเป็นหลักและตลาดหุ้นสหรัฐเป็นรอง โดยหุ้นชินคอร์ปส่วนที่แอมเพิลริชถืออยู่เป็นตัวเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐ

2.5. กรณี ชินแซท เป็นแผนการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นสหรัฐโดยบริษัทไอพีสตาร์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ตั้งขึ้นเพื่อเน้นธุรกิจบอร์ดแบนด์อินเทอร์เน็ทความ เร็วสูงผ่านดาวเทียมไอพีสตาร์ทั่วทั้งภูมิภาค บริษัทไอพีสตาร์จดทะเบียนในบีวีไอ เพราะความสะดวกในการ จัดตั้ง การขายและการลงทุนทั่วทั้งภูมิภาค และการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นสากล (แต่ตัวบริษัทชินแซทเองก็สามารถเลือกทำ ADR แบบชินคอร์ปได้เช่นกัน)

2.6. กรณีที่นายกฯเคยพูดถึงรัฐสภาสหรัฐ กำลังแก้กฏหมายเรื่องการเก็บภาษีบริษัทนอกอาณาเขต ก็แสดงว่าที่ผ่านมาไม่ผิดกฏหมาย และไม่ใช่ทุกกรณีที่เลี่ยงภาษี

· รัฐสภาสหรัฐแก้กฏหมายเพื่อปรับปรุงการเก็บภาษีบริษัทหรือคนสหรัฐเองที่ค้าขายในสหรัฐ แต่ไปตั้งบริษัท “แม่” หรือ “สำนักงานใหญ่” นอกประเทศแบบนอกอาณาเขต ปลอดภาษี ไม่ใช่กรณีบริษัทต่างชาติไปทำ ADR หรือบริษัทต่างชาติเข้าตลาดหุ้นโดยตรง

· ประเทศ สหรัฐเปิดกว้างให้ต่างชาติเข้าไปค้าขายได้มาก ทำให้มีคนหรือบริษัทสหรัฐจำนวนมากไปแสร้งตั้งบริษัทนอกอาณาเขตเพื่อค้า ขายกลับเข้าไปในสหรัฐ เพราะมีหลายกรณีจะเสียภาษีน้อยกว่าเป็นสัญชาติสหรัฐเอง (กระทั่งในสหรัฐก็มีรัฐปลอดภาษีเช่น เนวาดา เดลาแวร์ ใครเคยไปคงจำได้ว่า การซื้อของทางไปรษณีย์จากรัฐอื่นไม่ต้องเสียภาษีขาย (Sales Tax) ในขณะที่คนซื้อของจากผู้ขายในรัฐเดียวกันกับต้องเสียภาษี เป็นความแปลกแบบสหรัฐ เอาไทยไปเทียบไม่ได้)

· เป็น คนละกรณีกับแอมเพิลริชที่ทำหน้าที่เพียงถือหุ้นชินคอร์ปเพื่อเข้าตลาดหุ้น สหรัฐ พอไม่ได้เข้าหุ้นนี้ก็อยู่ที่เดิมตลอดมา ไม่มีการค้าขาย ส่วนสำนักงานใหญ่ชินคอร์ปอยู่เมืองไทย (ดูข้อมูลประกอบ)

· ส่วนในข่าวมีการใช้คำว่าไม่รักชาติ (non-patriotic) เป็นเพียงสำนวนนักการเมืองสหรัฐที่ใช้ศัพท์ให้เร้าใจเพื่อสร้างความสนใจและการสนับสนุนการแก้กฏหมาย

2.7. ข้อ กล่าวหาเรื่องฟอกเงิน เพราะมีรายงานบางฉบับบอกว่า มีการใช้บริษัทนอกอาณาเขตแบบนี้เพื่อการฟอกเงิน ค้ายาเสพติด อาชญากรรมจำนวนมาก ก็ไม่ได้หมายถึงทุกบริษัทนอกอาณาเขตเป็นสิ่งผิดกฏหมายทั้งหมด

· มิ เช่นนั้นจะกลายเป็นว่า บริษัทประกันภัย ธนาคารชั้นนำของโลกเกือบทุกราย รวมถึงหลายแห่งของไทย ก็มีบริษัทนอกอาณาเขตในแหล่งหลักๆเช่น บีวีไอ บาฮามา เคย์แมน ฯลฯ แปลว่าทุกคนผิดกฏหมายหรือ?

· หรือ กรณีว่าบัญชีธนาคารในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ขึ้นชื่อว่ามีอาชญกรจำนวนมากเปิดบัญชีใช้ฝากเงินผิดกฏหมาย อย่างที่เห็นบ่อยๆในภาพยนตร์ ดังนั้น แสดงว่าใครไปเปิดบัญชี ก็เป็นอาชญกรทั้งหมดหรือ?

· หุ้นชินคอร์ป อยู่ในทะเบียนกระทรวงพาณิชย์และตลาดหลักทรัพย์ ไม่ใช่เงินที่นำไปฟอกได้

———————————————

3 การมีต่างชาติถือหุ้นใหญ่ในบริษัทโทรคมนาคม

3.1 ครอบครัวดร.ทักษิณขายหุ้นชินคอร์ปที่ตนเป็นเจ้าของ 49% ให้กองทุนเทมาเสกและพันธมิตร

· ไม่ใช่การขายทั้งบริษัท 100% เพราะที่เหลือเป็นของผู้ถือหุ้นอื่น

· ไม่ใช่การขายตัวสัมปทาน, ความถี่, เครือข่าย, หรือหุ้นของบริษัทสัมปทานผู้ให้บริการมือถือ ดาวเทียม ทีวี

3.2 ชินคอร์ปถือหุ้นในเอไอเอส 43% ในชินแซทเทลไลท์ 41% ในไอทีวี 53%

· ดังนั้น ถือได้ว่าเทมาเสก (ผ่านการถือหุ้น49% ในชินคอร์ป) มีความเป็นเจ้าของ เอไอเอส 21% ชินแซทเทลไลท์ 20% ไอทีวี 26% (หากเอาของสิงเทลที่ถือหุ้นเอไอเอส 21% บวกกับส่วนที่เทมาเสกถือผ่านชินคอร์ปอีก 21% ก็จะมีต่างชาติถือหุ้นเอไอเอสรวม 42%) ทั้งหมดไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ถือว่าปกติ

3.3 การที่กองทุนเทมาเสกและพันธมิตรซื้อหุ้นชินคอร์ป และมีการทำการตรวจสอบประเมินมูลค่า (Due Diligence) ชิน คอร์ป รวมถึง เอไอเอส ชินแซทเทลไลท์ และไอทีวี ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ บริษัทเหล่านี้ไม่ต้องให้รายละเอียดเครือข่ายที่เป็นความลับใดๆ ของทั้งตนเองและผู้ใช้บริการแก่ผู้ถือหุ้นชินคอร์ปแต่อย่างใด

3.4 สิงเทล หนึ่งในบริษัทลูกของเทมาเสก ถือหุ้นในบริษัทโทรคมนาคมทั่วภูมิภาคจำนวนมาก เช่น

· ถือหุ้น 100% ใน Optus บริษัทดาวเทียมหนึ่งเดียวและบริษัทมือถืออันดับสองของออสเตรเลีย, ถือหุ้น 21% ในเอไอเอส บริษัทมือถืออันดับหนึ่งของไทย, ถือหุ้น 30% ใน Bharti บริษัทมือถืออันดับหนึ่งของอินเดีย, ถือหุ้น 44% ในบริษัท Globe บริษัทมือถืออันดับสองของฟิลิปปินส์, ถือหุ้น 35% ใน Telkomcel บริษัทมือถือ โทรศัพท์ และดาวเทียมอันดับหนึ่งของรัฐบาลอินโดนีเซีย, ถือหุ้น 20% ในบริษัท Apt Satellite บริษัทดาวเทียมอันดับสองของจีน

· ขณะที่ บริษัทสิงคโปร์เทคโนโลยี บริษัทลูก 100%ของเทมาเสก ถือหุ้น 42% ใน Indosat บริษัทมือถือ โทรศัพท์ และดาวเทียม อันดับสองของรัฐบาลอินโดนีเซีย

3.5 ประเทศอาเชียนเพื่อนบ้านเหล่านี้ ไม่ประท้วงการขายชาติหรือการขายสมบัติของชาติ ไม่ใช่เพราะโง่กว่าเราและเราฉลาดกว่า ที่เป็นชาตินิยม ปกป้องกีดกันการลงทุนจากต่างประเทศ

· การลงทุนโทรคมนาคมโดยทุนต่างชาติ สะท้อนถึงโลกาภิวัฒน์ในการเปิดเสรีโทรคมนาคม เป็นไปทั่วโลกอย่างรุนแรง เช่น บริษัทแม่ Vodafone แห่งอังกฤษ ถือหุ้นเกือบ 100% ในVodafone ญี่ปุ่น บริษัทมือถืออันดับสามของญี่ปุ่น, เทเลนอร์ ถือหุ้นใหญ่เกือบ 100% ในดีแทค บริษัทมือถืออันดับสองของไทย และ 61% ใน Digi บริษัทมือถืออันดับสองของมาเลเซีย, ชินแซทของไทยเองก็ถือหุ้น 50% ในบริษัทลาวโทรคมนาคม ซึ่งให้บริการโทรคมนาคมเต็มรูปแบบอันดับหนึ่งของรัฐบาลลาว

3.6 การ มีต่างชาติถือหุ้นและร่วมบริหารในบริษัทโทรคมนาคมไทย ไม่กระทบหรือมีประเด็นความมั่นคงของชาติ เพราะใบอนุญาตและผู้ให้บริการโทรคมนาคมล้วนอยู่ภายใต้กฏหมายไทยและเป็นเครือ ข่ายติดอยู่ในประเทศ (ถอดเครือข่ายออกไปไม่ได้)

· ผู้ให้บริการต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบและนโยบายของกระทรวงไอซีที, กทช (ซึ่งมีอำนาจถอดถอนใบอนุญาตได้หากละเมิดกฏหมาย), หน่วยราชการอื่นๆ (ตลาดหลักทรัพย์ กระทรวงพาณิชย์ สรรพากร, ฯลฯ) ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีปัญหาที่ควบคุมไม่ได้ (ข้อสังเกตุ: หน่วยงานกำกับดูแลเช่น กทช มีแนวโน้มจะมีปัญหาในการกำกับดูแลบริษัทโทรคมนาคมไทยขนาดเล็ก (เช่น กรณีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ท วิทยุชุมชน ที่บางรายอาจดื้อมากหรือมีอิทธิพล) มากกว่าการกำกับดูแลบริษัทใหญ่ที่มีต่างชาติถือหุ้น ฯลฯ)

· ปัจจุบันเป็นระบบ “ยกทรัพย์สินให้ทางราชการ” (BTO: Build Operate Transfer) ผู้ ให้บริการเป็นผู้ลงทุน แต่ได้เพียงสิทธิในการบริหารเครือข่ายเพื่อหารายได้ (ในอนาคตเป็นระบบใบอนุญาต ไม่มีการยกทรัพย์สินให้ทางราชการ)

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ….. มีสาระสำคัญดังนี้

5. การกำกับดูแลและมาตรการบังคับผู้รับใบอนุญาต

กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจสอบการประกอบกิจการโทรคมนาคมของผู้รับใบ อนุญาตได้ และในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ คณะกรรมการอาจเข้าครอบครองและใช้อุปกรณ์ของผู้รับใบอนุญาตหรือจะสั่งให้ผู้ รับใบอนุญาตปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

ใน กรณีที่มีการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ให้เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติมีอำนาจสั่งให้แก้ไขให้ถูก ต้อง ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้กำหนดค่าปรับทางปกครองได้ และถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้คณะกรรมการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ส่วนกรณีที่มีการกระทำร้ายแรงนั้น ให้มีโทษทางอาญาด้วย จากการประชุม ครม วันที่ 14 มีนาคม 2543 นายชวน หลีกภัย เป็นนายกฯ

3.7 ดังนั้น ประเทศไทยต้องแยกเรื่อง “เงินลงทุนและผู้ถือหุ้น” ออกจาก “บริษัทและใบอนุญาต”

· เงินทุนเคลื่อนไหวเร็ว เสรี ไม่มีพรมแดน โทรคมนาคมลงทุนสูง ต้องส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ

· ต้องหลีกเลี่ยงลัทธิปกป้องหรือกีดกันการค้า มิเช่นนั้นต่างชาติไม่มาลงทุนและจะกีดกันกลับ

· หากบริษัทโทรคมนาคมไทยกู้ยืมเงินจากธนาคารต่างชาติ ก็เสมือนต่างชาติเป็นเจ้าหนี้เจ้าของทางอ้อมอยู่ดี

· ในอนาคต จะต้องมีการลงทุนเทคโนโลยีโทรคมนาคมใหม่เพื่อให้ทันกับการพัฒนา เช่น บรอดแบนด์ โทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 ซึ่งจะต้องมีการลงทุนเพิ่มอีกหลายแสนล้านบาท ทุนไทยมีข้อจำกัดอย่างแน่นอน

3.8 ประเทศไทยมีพันธสัญญาต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ตั้งแต่ปี 2538 ในเรื่องการเปิดเสรีโทรคมนาคม ภายในปี 2549 ต้องปฏิบัติตาม ไม่ใช่ทางเลือก มิเช่นนั้นจะมีปัญหาการค้ากับทั่วโลก

3.9 ปัจจุบัน ต่างชาติมีส่วนแบ่งการตลาดและความเป็นเจ้าของสูงมากในอุตสาหกรรมที่ดูเหมือน มีผลต่อความมั่นคงของไทย เช่นน้ำมัน ธนาคาร แต่ภาครัฐก็สามารถกำกับดูแลได้ดี

กรณีดาวเทียมไทยคม:

3.10การใช้วงโคจรที่ได้รับสิทธิจากสหประชาชาติ (UN) และ ITU ต้อง ทำตามกฏนานาชาติ เป็นเรื่องสากล เพราะดาวเทียมมีพื้นที่บริการครอบคลุมหลายประเทศ รัฐบาลไทยก็เพียงได้สิทธิ์วงโคจรดาวเทียมที่ประสานงานกับชาติอื่นผ่านแล้ว ไม่ใช่เจ้าของโดยสมบูรณ์ จากนั้นจึงมอบหมายให้บริษัทส่งดาวเทียมขึ้นไปให้บริการมีกำหนดเวลาตามอายุ ดาวเทียม

· ไม่ ใช่เรื่องที่แต่ละประเทศทำตามใจได้ การให้บริการต้องเป็นสากล เป็นกลางและเน้นธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ อิงการเมืองไม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้แต่ละประเทศอนุญาตให้ใช้ดาวเทียมของประเทศอื่นๆได้โดย ไม่กีดกันอ้างเรื่องความมั่นคง หากฝั่งไทยอ้างหรือเน้นเรื่องความมั่นคงภายในหรือเรื่องชาตินิยมกันมาก ก็เท่ากับไปป่าวร้องให้ชาติอื่นห่วงเรื่องนี้ เกิดกีดกันระหว่างประเทศ ไปกันใหญ่

3.11ปัจจุบันดาวเทียมไทยคมมีลูกค้าและรายได้จากต่างประเทศ กว่า 60% และเมื่อไอพีสตาร์และไทยคม 5 ให้บริการเต็มรูปแบบ จะมีลูกค้าและรายได้จากต่างประเทศกว่า 95% จึงต้องเป็นสากลและเป็นกลางอย่างยิ่ง

· ดาว เทียม ปาลาปาของรัฐบาลอินโดนีเซีย แอ็ปสตาร์ของฮ่องกงจีน อ็อปตัสของออสเตรเลีย ล้วนมีผู้ถือหุ้นต่างชาติสัดส่วนสูงมาก มีส่วนร่วมในการบริหารสูง ในอนาคตไทยคมก็จะมีบริษัทลูกในหลายประเทศ

3.12การที่อ้างประเด็นการขายสมบัติของชาติ ที่ผ่านมารัฐบาลส่งเสริมบริษัทโทรคมนาคมไทยอย่างไร?

· มีการเก็บภาษีสองต่อ ทั้งภาษีเงินได้และค่าสัมปทาน (ต่อมาเรียกบางส่วนเป็นภาษีสรรพสามิตด้วย) ราวกับเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ที่มาเลเซียมีการให้สถานะ MSC (Multimedia Super Corridor) ให้สิทธิประโยชน์หลายอย่าง บ้านเรารัฐบาลให้อะไร?

· สัมปทานมือถือและดาวเทียมเดิม ต้องโอนทรัพย์สินเป็นของรัฐ ทำให้การบริหารงานและการกู้เงินซับซ้อนมาก ต้นทุนสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น

· รัฐก็กำกับดูแลการแข่งขันให้เหมาะสมไม่ได้ ทำให้บริการมือถือไทยแข่งขันรุนแรงมาก จัดได้ว่าถูกที่สุดในโลก (การแข่งขันมากไปไม่ใช่ว่าดี แข่งกันเจ๊ง ลงทุนซ้ำซ้อนเสียเงินตราต่างประเทศมาก)

· เช่นกรณีโทรทั่วไทย 1 ชั่วโมง จ่าย 1 นาที (หากจ่าย 2 บาท/นาที เท่ากับ นาทีละ 3.3 สตางค์ ที่อเมริกา นาทีละ 15 เซ็นต์ เท่ากับ 6 บาท มากกว่าบ้านเรา 181 เท่า, ที่ออสเตรเลีย นาทีละ 25 เซ็นต์ เท่ากับ 6.25 บาท/นาที มากกว่าบ้านเรา 189 เท่า, ที่จีน นาทีละ 50 เซ็นต์หยวน จ่ายทั้งผู้โทรออกและรับเข้า เท่ากับ 5 บาท/นาที มากกว่าบ้านเรา 151 เท่า ทั้งหมดนี้แค่โทรในเมืองเดียวกัน ทั่วประเทศแพงกว่านี้มาก) ขณะที่ต้นทุนอุปกรณ์และการเงินของเราแพงกว่า มีแค่บริหารต้นทุนและค่าแรงได้ต่ำกว่าเท่านั้น

3.13กรณี ยูคอม ดีแทค ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่อันดับสองของไทย

· ปลายปี 48 ตระกูลเบญจรงคกุล ได้ขายหุ้นอย่างซับซ้อน รวมถึงการใช้ตัวแทนนอมินีด้วย ทำให้ต่างชาติ(บริษัทเทเลนอร์ เจ้าของใหญ่คือรัฐบาลนอร์เวย์) เป็นเจ้าของดีแทคเกือบทั้งหมด 100% (มากกว่ากรณีชินคอร์ปมาก) ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นเช่นกัน มีการถือหุ้นทางอ้อมผ่านตัวแทน

· หาก กรณีชินคอร์ปไม่ถูกต้อง กรณียูคอมดีแทคก็เหมือนกัน ทำไมผู้ประท้วงกรณีชินคอร์ปไม่ประท้วงกรณียูคอมดีแทค เป็นแค่เกมการโจมตีการเมือง (ไม่ได้ต้องการกระทบดีแทค เพียงไม่ต้องการการเมืองสกปรก)

· 7 ปี ก่อน นายสนธิทำโครงการดาวเทียมลาวสตาร์ลงทุนแล้วเจ๊งไปหลายพันล้านบาท ให้ยูคอมซื้ออุ้มบริษัทไป เป็นเหตุให้เลือกปฏิบัติในการโจมตีกล่าวหา?

3.14กรณีนายสนธิทำโทรทัศน์ดาวเทียมช่อง ASTV แพร่ภาพในไทยโดยใช้ดาวเทียมต่างชาติ (New Sky Network) ผิดกฏหมายไทย สองกรณี

· การใช้ดาวเทียมต่างชาติที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้บริการได้ในไทยโดย กทช

· การ ออกอากาศแพร่ภาพโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยไม่มีใบอนุญาต อาศัยช่องโหว่ที่ทางราชการยังไม่มีมาตรการจัดการกับช่องโทรทัศน์ไทยผ่านดาว เทียมอย่างผิดกฏหมาย

· อาศัยอิทธิพลม็อบ อ้างสิทธิสื่อมวลชน และอ้างว่ารัฐปิดกั้นสื่อ ทั้งที่สื่อไทยโจมตีรัฐบาลได้ทุกรูปแบบ

3.15กรณีนายสนธิทำธุรกิจดาวเทียมลาวสตาร์ ในนามบริษัท ABCN (Asia Broadcasting & Communications Ltd)

· นายสนธิขอสัมปทานและร่วมทุนกับรัฐบาลลาว ตั้งเป้าขายตลาด ไทย ไต้หวัน จีน อินเดีย

· พยายาม ที่จะฝ่าฝืนกฏหมายไทยเพื่อขายช่องสัญญาณ และทำโทรทัศน์บอกรับสมาชิกในไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ เล็งที่จะแข่งกับดาวเทียมไทยคมและUBC

· แต่หลังลงทุนไปหลายพันล้านบาท ก็ล้มละลายและต้องเลิกไป คงยังเจ็บใจที่ทำแล้วเจ๊ง?

3.16ทั้ง หมดนี้ นายสนธิได้ช่วยส่งเสริมความมั่นคงของชาติและการไม่ขายชาติตรงไหน ในการร่วมมือกับต่างชาติเพื่อทำสื่อข้ามประเทศเข้ามาประเทศไทยอย่างผิด กฏหมาย

3.17นายสนธิยังผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรค 1 ทั้ง 4 ประเด็น เพราะ (1) พยายามล้มรัฐบาล (2) หมิ่นประมาทและละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอื่น (3) ก่อม็อบ และ (4) เนื้อหาหยาบคาย

· บุคคล ย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อ (1) รักษาความมั่นคงของรัฐ (2) เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น (3) เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ (4) เพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน

———————————————

4. การออกกฏหมายให้ต่างชาติถือหุ้นบริษัทโทรคมนาคมไทยได้ไม่เกิน 50%

4.1 เดิมบริษัทโทรคมนาคมไทยที่เป็นสัญชาติไทย ต้องมีสัดส่วนหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 50% ตามนิยามในกฏหมายการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ไม่มีเจตนากีดกันหรือไม่ต้อนรับการลงทุนด้านโทรคมนาคมจากต่างชาติ

4.2 ต่อมาปี 2543 รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอร่าง พรบ การประกอบกิจการโทรคมนาคม เป็นการออกกฏหมายลูกตามรัฐธรรมนูญใหม่ปี 2540 โดยสัดส่วนต่างชาติ ให้ใช้นิยามตาม พรบ การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ปี 2542 (ว่าต้องเป็นบริษัทไทย คือต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 50%)

· แต่ในปี 2544 วุฒิสภาได้แปรญัตติให้สัดส่วนเป็นไม่เกิน 25% แทน ทำให้บริษัทโทรคมนาคมหลายราย คือ ดีแทค ออเร้นจ์ ทีทีแอนด์ที (บริษัทโทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น, บริษัทซีพีออเร้นจ์ บริษัทไทยเทเลโฟน แอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น) มีปัญหา เพราะมีสัดส่วนการลงทุนจากต่างชาติเกินกว่านี้ จึงร้องเรียนเสนอพรรคการเมืองทุกพรรคให้ปรับสัดส่วนนี้

· มีการอภิปราย แปรญัตติ มาตลอด 4 ปี จึงผ่านการพิจารณาของทั้งสองสภาปลายปี 2548 ให้สัดส่วนต่างชาติตามพรบ การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ปี 2542 (ต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 50%) ตามร่างแรกเมื่อปี 2542

4.3 สัดส่วนนี้สอดคล้องกับแนวโน้มการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ พันธสัญญาต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ในการเปิดเสรีโทรคมนาคมปี 2549 รวมถึงแนวโน้มการลงทุนเทคโนโลยีโทรคมนาคมใหม่เพื่อให้ทันกับการพัฒนา เช่น บรอดแบนด์โทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 ซึ่งจะต้องมีการลงทุนเพิ่มอีกหลายแสนล้านบาท ขณะที่ทุนไทยจะมีข้อจำกัดอย่างแน่นอน ต้องอาศัยเงินลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก

4.4 การ กล่าวหาว่าตั้งใจแก้กฏหมายแล้วขายหุ้นทันที ความจริงแล้วจังหวะเวลาที่กฏหมายมีผลใช้ใกล้เคียงกับการขายหุ้นชินคอร์ป เป็นความบังเอิญ ไม่ใช่การออกกฏหมายมาเอื้อการขายหุ้น

· มีการทำเรื่องนี้ทุกพรรคและทุกสภามา 4 ปี วันที่ผ่านสภาผู้แทน 14 กันยายน 2548

· กรณี นี้ไม่มีผลต่อชินคอร์ป เนื่องจากไม่ใช่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการโทรคมนาคมโดยตรง และยังไม่มีผลต่อเอไอเอสหรือชินแซทเทลไลท์ในขณะนี้ตามใบอนุญาตเดิม จะมีผลเมื่อมีใบอนุญาตใหม่ในอนาคต

“คณวัฒน์” ออกโรงป้องนายก โต้ไอซีทีไม่เกี่ยวข้องเรื่องแก้กฎหมายพรบ.คมนาคม แจงเริ่มแก้ไขมาตั้งแต่ปี 2544 แล้ว

สำนักข่าวอีนิวส์ – ผู้ สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีขณะนี้ มีกระแสข่าวถึงความเข้าใจผิดว่า รัฐบาลได้สั่งการให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ได้เร่งรัดแก้ไขพระราชบัญญัติการกระกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 โดยเฉพาะประเด็นอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นจาก 25% เป็น 49% เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ครอบครัวของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเพื่อการขายหุ้นนั้น โดยในวันนี้ ( 20 ก.พ. ) นายคณวัฒน์ วศินสังวร ผู้ช่วยรมว.ไอซีที ได้จัดแถลงข่าวเพื่อชี้แจงเรื่องดังกล่าวที่เกิดขึ้น

ผู้ ช่วยรมว.ไอซีที เปิดเผยว่า การแก้ไขกฏหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ ดังกล่าว เริ่มต้นที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีออเร้นจ์ จำกัด และ บริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น ได้เรียกร้องให้กระทรวงคมนาคมแก้ไขกฏหมายดังกล่าว จำนวน 4 มาตรา คือ มาตรา 8, 58, 79 และ 80 เพราะ เห็นว่า ไม่สอดคล้องกับการเปิดเสรีและปิดกันการแข่งขัน ดังนั้น ไอซีทีจึงไม่ได้เร่งแก้กฏหมายเอื้อประโยชน์ใคร และขอให้ประชาชนใช้วิจารณญาณ

ส่วนลำดับขั้นตอนการแก้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ นายคณวัฒน์ กล่าวว่า เริ่มจากวันที่ 18 ธ.ค. 2544 กระทรวงคมนาคมเสนอแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ตามที่เอกชนทั้ง 3 รายเสนอ หลังจากนั้น วันที่ 8 ต.ค. 2546 สภาฯ ชุดเดิมรับหลักการและตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแต่ไม่เสร็จ เพราะสภาฯ หมดวาระในปี 2547 จนกระทั่งวันที่ 27 เม.ย. 2548 สภาฯ ชุดปัจจุบันจึงตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษาอีกครั้ง ก่อนผ่านสภาฯ ในวันที่ 14 ก.ย. 2548 ผ่านวุฒิสภาวันที่ 14 พ.ย. 2548 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2549

“ กระบวนการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เริ่มต้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เพราะ มีบริษัทโทรคมนาคมเรียก ร้องผ่านกระทรวงคมนาคม โดยหลังจากนั้น กระบวนการแก้ไขก็ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาอย่างรอบคอบ ดังนั้น การแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จึงไม่ใช่การแก้กฏหมายอย่างเร่งรีบ เพราะถ้านับตั้งแต่กระทรวงคมนาคมเสนอขอแก้ไขจนถึงประกาศใช้รวมเวลาทั้งสิ้น 4 ปี แต่ถ้านับเวลาตั้งแต่สภาฯ ชุดที่แล้วรับหลักการต่อเนื่องมาถึงสภาฯ ชุดปัจจุบันใช้เวลาทั้งสิ้น 2 ปี 3 เดือน ” นายคณวัฒน์กล่าว

โดย เสาวณิต อังคะทายาท

สภาผ่านร่างกฎหมาย กทช.แก้สัดส่วนต่างชาติถือหุ้น

สำนักข่าวเนชั่น 14 กันยายน 2548

เมื่อเวลา 13.30 น. มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธาน ที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่…) พ.ศ. … ตาม ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ไม่มีการอภิปรายใดๆ เนื่องจากร่างดังกล่าวเป็นร่างที่ค้างการพิจารณาจากคณะกรรมาธิการของสภาผู้ แทนราษฎรชุดที่แล้ว และรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไปตามมาตรา 178

โดยสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 2 และแบบที่ 3 ให้มีสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 นั้น เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการระดมทุนจากการกู้ลงทุนต่างประเทศ หรือหากจะร่วมทุนกับต่างประเทศก็จะติดขัดปัญหาสัดส่วนการถือหุ้นของคน ต่างด้าว ส่งผลให้ผู้รับในอนุญาตทั้งรายเดิมและรายใหม่ไม่สามารถพัฒนาโครงข่ายหรือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม เพื่อจัดการให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

จึง สมควรแก้ไขสัดส่วนการถือหุ้นเสียใหม่เพื่อเอื้อต่อการระดมทุนจากนักลงทุนจาก ต่างประเทศ นอกจากนี้ ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินอื่นที่มี ลักษณะเป็นเงินประกัน ส่วนการเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ คณะกรรมการกำหนด เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคหรือประโยชน์สาธารณะ …..

———————————————

5. ประเด็นการใช้ตัวแทนถือหุ้นให้ต่างชาตินอมินี (Nominee)

5.1 ตาม ที่กล่าวหาว่า ต่างชาติใช้ตัวแทนถือหุ้นชินคอร์ป เพื่อจงใจหลีกเลี่ยงและผิดกฏหมาย พรบ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ปัญหาเกิดจากการเอาประเด็นกฏหมายสองฉบับมาปนกัน

5.2 ตาม พรบ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ปี 2542

· ธุรกิจตามบัญชีหนึ่ง สงวนไว้เฉพาะสัญชาติไทย ห้ามต่างด้าวทำ (มีกิจการโทรคมนาคมและสื่อโทรทัศน์)

· ธุรกิจตามบัญชีสอง อนุญาตให้ต่างด้าวทำได้ แต่หุ้นไทยไม่น้อยกว่า 40% (มีกิจการการบินในประเทศ)

· นิยามความเป็นต่างด้าวคือ มีต่างชาติถือหุ้นเกิน 50% (และห้ามสัญชาติไทยถือหุ้นแทนแบบนอมินี)

· มีข้อกำหนดเรื่องการถือหุ้นในบริษัทต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำธุรกิจตามบัญชี1-3 (ธุรกิจนอกบัญชีไม่เกี่ยว ไม่ได้ห้ามคนต่างด้าวทำ)

· ไม่มีข้อพิจารณาเรื่องสัดส่วนอำนาจในการบริหารกิจการ การครอบงำกิจการ หรือ การพิจารณาการถือหุ้นทุกทอด (Chain Principle) ตาม กฏ กลต.

5.3 ตาม กฏ กลต เรื่องการครอบงำกิจการ

· หากมีผู้ซื้อหุ้นเกิน 25% ของบริษัทจดทะเบียน ต้องทำข้อเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นรายอื่นทั้งหมด (Tender Offer) วัตถุประสงค์เพียงเพื่อคุ้มครองผู้ถือหุ้นรายอื่น หากไม่ชอบ ให้มีโอกาสถอนตัวออกไป (Exit)

· ปกติต้องการจะดูการถือหุ้นทุกทอด ทั้งตรงและอ้อม (Chain Principle) และมีหน้าที่ต้องรายงาน เพื่อดูสัดส่วนอำนาจในการบริหารกิจการ การถือหุ้นแทนแบบนอมินีก็เป็นเรื่องปกติ ไม่ผิดอะไร

· ไม่ได้ดูเรื่องสัญชาติไทยหรือความเป็นต่างด้าว ตาม พรบ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

5.4 ประเด็นชินคอร์ป ตาม พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

· ชินคอร์ปเป็นบริษัทไทย มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกิน 50% และไม่ได้ทำธุรกิจตามบัญชี พรบ. ธุรกิจต่างด้าว แต่ชินคอร์ปเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ทำ (ชินคอร์ปถือหุ้นในเอไอเอส 43% ในชินแซทเทลไลท์ 41% ในไอทีวี 53% ในไทยแอร์เอเชีย 49%)

· กรณีไทยแอร์เอเชีย มีมาเลเซียถือหุ้นอยู่แล้ว 49% ซึ่งมีแนวโน้มเรื่องสัญชาติได้ จึงดำเนินการแก้ไขอยู่

5.5 ประเด็นชินคอร์ป ตาม กฏ กลต. เรื่องการครอบงำกิจการ

· หากต่างชาติซื้อหุ้นชินคอร์ป 25% แล้วต้องทำ Tender Offer ซื้อหุ้นหมด 100% ตาม กฏ กลต จะทำให้มีประเด็นสัญชาติได้

· เทมาเสกไม่ได้ต้องการซื้อทั้งหมด 100% จึงมีการนำพันธมิตรมาร่วมซื้อและถือหุ้นหลายราย ทั้งบริษัทกุหลาบแก้ว และธนาคารไทยพาณิชย์ (ซึ่งเป็นของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) เพื่อให้เป็นสัญชาติไทยถูกต้อง เป็นความเหมาะสมในทางธุรกิจ

5.6 แนวคิดอื่นๆในการแก้ปัญหา

· 1. หากผู้ถือหุ้นชินคอร์ปสัญชาติไทยที่เหลือ เก็บหุ้นไว้ ไม่ขายให้ตาม Tender Offer

· 2. กลต. อนุญาตให้ไม่ต้องทำ Tender Offer (มีกฏและความเหมาะสม เช่น กรณีทำให้เกิดความเสียหายต่อมูลค่าของบริษัท กรณีนี้หากทักท้วงกันมาก ก็น่าจะพิจารณาให้เข้าข่ายได้)

· 3. ให้สัญชาติไทยอื่นมาซื้อ โดยเฉพาะในบริษัทย่อยเช่น ไทยแอร์เอเชีย ITV หรือ ชินแซท

5.7 ข้อเท็จจริงอื่นๆ

· ครอบครัวนายกฯขายหุ้นชินคอร์ป 49% ที่ตัวเองเป็นเจ้าของ ไม่ได้ขายทั้งบริษัทเพราะไม่ได้เป็นเจ้าของส่วนที่เหลือ ไม่ใช่ผู้รับผิดชอบปัญหานี้

· ปัญหา ประเด็นสัญชาติหรือการถือหุ้นแทนใดๆ เป็นปัญหาของผู้ซื้อหุ้นชินคอร์ป คือ เทมาเสกและพันธมิตร ในการแก้ปัญหานี้ ไม่ใช่ปัญหาของผู้ขาย คือครอบครัวนายกฯ

5.8 ดูรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ๆในตลาดหลักทรัพย์ มีคำว่า นอมินี (Nominee) ในบริษัทดังๆจำนวนมาก (ไม่มีชื่อว่านอมินีแต่เป็นก็มี) ดูข้อมูลประกอบ

· เป็น เรื่องปกติในธุรกิจ มีเหตุผลความจำเป็นหลากหลาย หากผิดหรือห้ามก็จะมีปัญหากับบริษัทอีกจำนวนมากที่ทำอยู่ และมีปัญหาการลงทุนจากต่างชาติ เพราะหลายๆประเทศเปิดกว้างให้ต่างชาติถือหุ้นมากกว่าบ้านเรามาก

5.9 กรณี ยูคอม ดีแทค ปลายปี 48 ตระกูลเบญจรงคกุล ได้ขายหุ้นอย่างซับซ้อน (ดูบทที่ 3) รวมถึงการใช้ตัวแทนนอมินีด้วย ทำให้ต่างชาติเป็นเจ้าของดีแทคเกือบทั้งหมด (มากกว่ากรณีชินคอร์ปมาก) ไม่มีใครพูดถึง

———————————————

อ่านรายละเอียดเรื่องอื่นๆ ได้เพิ่มเติมที่นี่
http://shincase.googlepages.com

———————————————

“สรรพากร-ก.ล.ต.-ตลท.” แจงตรวจสอบหุ้น”ชิน” ประสานเสียงไม่พบ”ผิด”

หมาย เหตุ – ผู้บริหารกรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ร่วมแถลงข่าวชี้แจงตรวจสอบกรณีการขายหุ้นบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ให้กับกลุ่มเทมาเส็กจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่กระทรวงการคลัง

@ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ ก.ล.ต.

ก. ล.ต.มีข้อมูลการโอนหุ้นจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่โอนหุ้นในบริษัทแอมเพิล ริชฯ 100% ให้กับนายพานทองแท้ (ชินวัตร บุตรชายของนายกฯ) เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2543 แต่ไม่ใช่ข้อมูลปกติที่ต้องรายงานเป็นประจำต่อ ก.ล.ต. โดยเป็นข้อมูลที่ ก.ล.ต.ใช้อำนาจให้ส่งข้อมูล เพื่อใช้ในการตรวจสอบ แต่เป็นเอกสารลับ ไม่ใช่เอกสารที่เผยแพร่ต่อสาธารณชน โดย ก.ล.ต.ได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544 เอกสารเลขที่รับ 17656 ในสมัยนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นเลขาธิการ ก.ล.ต.

อย่างไร ก็ตาม กลับไม่มีเอกสารการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นในแอมเพิล ริชฯ จากเดิมที่นายพานทองแท้ถือ 100% เหลือ 80% และนางสาวพิณทองทา (ชินวัตร บุตรสาวของนายกฯ) ถือ 20% ซึ่งนายพานทองแท้และพิณทองทาได้แจ้งว่า เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2548 แอมเพิล ริชฯได้เพิ่มทุนจาก 1 ดอลลาร์สหรัฐเป็น 5 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง ก.ล.ต.พอใจข้อมูลเบื้องต้น แต่ยังต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมจากต่างประเทศด้วย

กรณีที่แอมเพิล ริชฯขายหุ้นบริษัทชินฯ ราคา 1 บาท และนายพานทองแท้และพิณทองทานำหุ้นมาข่ายต่อในราคา 49.25 บาท เป็นประเด็นเข้าข่ายการใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trading) ตามมาตรา 214 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือไม่นั้น

หากพิจารณาเชิง กฎหมายชัดเจนว่าการซื้อหุ้นชินฯของทั้ง 2 คน ไม่เข้าข่ายการใช้ข้อมูลภายใน เพราะทั้งนายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทาซื้อจากบริษัทที่ตัวเองถือหุ้นอยู่ และไม่ใครอื่นถือหุ้นในบริษัทนั้น ดังนั้น จึงไม่ได้เอาเปรียบใคร เป็นการซื้อขายหุ้นบริษัทตัวเอง เป็นการเอาเปรียบตัวเอง ไม่ใช่เอาเปรียบประชาชน

การ เปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในแอมเพิล ริชฯแล้วกระโดดข้าม 25% และต้องทำคำเสนอซื้อหุ้น (เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) หรือไม่นั้น เป็นประเด็นทางเทคนิค ซึ่ง ก.ล.ต.ยังไม่มีข้อยุติ จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม แต่เบื้องต้นน่าจะเข้าข่าย การไม่รายงานการถือหุ้น ตามมาตรา 246 และมาตรา 247 แม้ว่า ก.ล.ต.จะได้รับหนังสือจากแอมเพิล ริชฯ ปี 2544 แต่ไม่ถือว่าเป็นรายงานตามมาตรา 246 ดังนั้น ก.ล.ต.ต้องตรวจอย่างละเอียด ถ้าเข้าข่ายฝ่าฝืนก็ต้องเข้ากระบวนการเปรียบเทียบปรับต่อไป หากมีความผิดจะดำเนินการตามกฎหมายทุกอย่าง ไม่ลดหย่อนหรือรุนแรงขึ้นตามความรู้สึก แต่จะใช้ไม้บรรทัดเดียวกันกับที่ดำเนินการกับบริษัทจดทะเบียนทุกแห่ง

ก. ล.ต.มีหน้าที่รักษากฎหมายอย่างเคร่งครัดและยืนยันว่าจะไม่ดำเนินการหย่อนต่อ กฎหมายในกรณีการซื้อขายหุ้นชิน แต่อยากให้เข้าใจด้วยว่า ก.ล.ต.ไม่สามารถปฏิบัติเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ ยืนยันให้ทุกคนมั่นใจว่า ก.ล.ต.ทำหน้าที่รักษากฎหมายอย่างเคร่งครัดไม่เคยหย่อนต่อกฎหมาย

@ กิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตลาด หลักทรัพย์อยู่ระหว่างการตรวจสอบการซื้อขายหุ้นบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC ว่ามีการใช้ข้อมูลภายในมาซื้อขายหุ้นหรือไม่ เนื่องจากพบว่ามีกรรมการบางคนขายหุ้น ADVANC ออกมาก่อนที่จะประกาศการซื้อขายหุ้น อาจเพราะทราบว่าราคาที่จะต้องทำคำเสนอซื้อ ADVANC ต่ำกว่าราคาตลาดมาก จึงรีบขายหุ้นออกมาหรือไม่ ซึ่ง ก.ล.ต.ตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังพบว่ากรรมการบริษัทดังกล่าวมีการทยอยขายหุ้นออก มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2548 จนถึงปัจจุบันในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน แต่การขายหุ้นในรอบ 6 เดือนนั้น ขายหุ้น ADVANC น้อยกว่าจำนวนหุ้นที่จัดสรรให้กับพนักงาน (ESOP) ในเดือนพฤษภาคม 2548 ซึ่งข้อมูลยังไม่เพียงพอ ต้องตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง

ตลาดหลักทรัพย์จะตรวจสอบการ ซื้อขายหุ้นของกรรมการ ADVANC ว่า เข้าข่ายผิดปกติหรือไม่ และจะไม่นิ่งนอนใจเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอย่างแน่นอน โดยอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลการประชุมของคณะกรรมการว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ที่จะเข้าข่ายการใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้น

@ ศิโรตม์ สวัสดิ์พานิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร

บริษัท ชินฯมีหนังสือหารือกรมสรรพากรกรณีการซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทยจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ และกรมสรรพากรมีหนังสือตอบไปเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2548 สรุปสาระสำคัญดังนี้

กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคา ตลาด เป็นการซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ส่วนต่างจากราคาซื้อกับราคาตลาด จึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร

กรณี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ ประกอบกิจการในประเทศไทย ขายหุ้นให้แก่บุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทย หากไม่มีเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษีและนำส่งตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร

กรณี บุคคลธรรมดาขายหุ้น หากขายออกไปในราคาที่สูงกว่าที่ซื้อมา (เงินได้เกินกว่าที่ลงทุน) ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี หากบุคคลธรรมดาขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรมสรรพากรต้องรักษากฎหมายอย่างเคร่งครัด และต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกคน การปฏิบัติหน้าที่ของเราก็ถูกกฎเกณฑ์ และกฎหมายมีความชัดเจนเสมอมา เพียงแต่องค์ประกอบของแต่ละเรื่องมีความแตกต่างกันจึงจำเป็นที่ต้องวินิจฉัย กันไปตามกรณี การวินิจฉัยของเราเที่ยงตรงเสมอ ขอให้มั่นใจในความซื่อสัตย์ของกรมสรรพากร

@ โมรีรัตน์ บุญญาศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย กรมสรรพากร

การ ซื้อของถูกกว่าราคาตลาดไม่นับเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 เพราะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 จะต้องเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 จึงจะต้องเสียภาษี โดยมีระบุเพียงมาตรา 40(4) คือ เรื่องของการโอนหุ้น ไม่มีการระบุเรื่องการขายหุ้นต่ำกว่าราคาตลาด จึงไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39

(ผู้ สื่อข่าวถามถึง กรณีกรมสรรพากรเคยออกหนังสือตอบข้อซักถามสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อปลายปี 2543 เรื่องการซื้อหุ้นต่ำกว่าราคาตลาดว่าส่วนต่างถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 39 แต่ทำไมวันนี้บอกว่าไม่ใช่)

โดยหลักการแล้ว การซื้อของถูกไม่ถือว่ามีเงินได้ตามมาตรา 39 และ 40 แต่ถ้ากรณีขายแล้วได้กำไรต้องถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ช) แต่กรณีที่กรมเคยตอบข้อหารือไปในวรรค 2 ว่า “กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นของบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ ผู้ซื้อหุ้นไม่มีเงินได้พึงประเมิน จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เว้นแต่เป็นการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาหรือค่าอันพึงมี ผลต่างระหว่างราคาหรือค่าอันพึงมีกับราคาซื้อ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ผู้ซื้อหุ้นต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย”

แต่ ก่อนที่จะอ่านคำว่า “เว้นแต่” ในฐานะนักกฎหมาย ขอให้อ่านประโยคแรกก่อนว่า ผู้ซื้อไม่มีเงินได้พึงประเมิน แสดงว่าขณะซื้อไม่มีเงินได้จริง แต่ประโยคต่อมาบอกว่า เว้นแต่เป็นการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาหรือค่าอันพึงมี ผลต่างระหว่างราคาหรือค่าอันพึงมีกับราคาซื้อ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ผู้ซื้อหุ้นต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย เป็นประโยคที่ทุกคนจะมองว่า 1 บาท กับ 48 บาท เป็นส่วนต่างที่ผู้ซื้อจะต้องนับเป็นเงินได้บุคคลธรรมดา

แต่ส่วน นี้ต้องดูว่าที่กรมตอบไปว่า “เข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39” ซึ่งกรมเอาไปผูกกับมาตรา 39 ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องนี้จะผูกด้วยอัตโนมัติว่าเป็นเงินได้เลย และในมาตรา 39 เขียนไว้ว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่าเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภท ต่างๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ ด้วย

ดัง นั้น การที่จะระบุว่าเงินได้ตามมาตรา 39 จะต้องเข้าลักษณะตามมาตรา 40 ด้วย แสดงว่าต้องดูมาตรา 40 ประกอบด้วย ซึ่งระบุว่า เงินได้พึงประเมินนั้นคือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ ซึ่งเราต้องไล่ไปดู (1) (2) และ (5) ซึ่งมีข้อความว่า “ประโยชน์อื่นใดที่ได้” ประกอบด้วย (1) การจ้างงาน (2) การรับทำงานให้ (5) การเช่าทรัพย์สิน

ส่วนมาตรา 40 (4) (ช) เขียนว่า “ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคล อื่น เป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน” ซึ่งไม่พูดถึงประโยชน์อื่นใดที่ได้รับ เวลาวินิจฉัยกฎหมายเราจึงไม่ใช่เรื่องซื้อขายโดยทั่วๆ ไป เช่น การซื้อหุ้น การซื้อทองที่ถูกกว่าคนอื่น นี่คือที่มาของการวินิจฉัยว่าเราพิจารณา มาตรา 39 มาตรา 40 และมาไล่ดู ตาม (1) (2) และ (5)

มติชน 03 กุมภาพันธ์ 2549

———————————————

วัน ที่ 19 ธ.ค. 2548 นางไพฑูรย์ พงษ์เกษร รองอธิบดีกรมสรรพากร แถลงยืนยันว่า การที่กรมสรรพากรไม่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากการที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขายหุ้นให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวโดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ขายหุ้นให้นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายโดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์เช่นกัน มิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติ แต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย

นางไพฑูรย์กล่าวว่า กรมสรรพากรมีแนวทางปฏิบัติที่ต้องทำตามกฎหมาย เทียบเคียงกับแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ผ่านมา ซึ่งมีอยู่ 3 กรอบหลักๆ ไม่ว่าคุณจะโอนแบบไหน โอนให้ใคร โอนอย่างไร ก็อยู่ภายในกรอบ 3 ประเด็นนี้ คือ

กรอบที่ 1 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับหุ้นโดยเสน่หา ผู้ได้รับหุ้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มีข้อยกเว้น หากได้รับหุ้นหรือสินทรัพย์ใดๆ ในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีหรือได้รับจากการอุปการะโดย หน้าที่ธรรมจรรยา ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ตามมาตรา 39 และมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ก็มีข้อแม้ว่า กรมสรรพากรจะต้องเข้าไปพิสูจน์ตรวจสอบพยานเอกสารหลักฐานในอดีตว่า ระหว่างผู้ให้กับผู้รับมีความเกี่ยวพันกันด้วยจริงไม่

กรอบที่ 2 กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาด ผลต่างจากราคาซื้อกับราคาตลาดดังกล่าวในปีที่ซื้อยังไม่ถือเป็นเงินได้ที่ ต้องเสียภาษี เนื่องจากเงินได้ของบุคคลธรรมดาเกิดขึ้นเมื่อได้รับเงินจริงในแต่ละปีภาษี เมื่อปีภาษีใดมีการขายหุ้นนั้นออกไปในราคาที่สูงกว่าที่ซื้อมาและได้รับเงิน จริง ผลต่างดังกล่าวจึงถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาในปีภาษีนั้น แต่ในประเด็นที่ 2 ก็ยังมีข้อยกเว้น คือการขายหุ้นทุกกรณีในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของบุคคลธรรมดาให้ได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 39 และมาตรา 40 (4) แห่งประมวลรัษฎากร

กรอบที่ 3 กรณีพนักงาน ลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา ได้รับแจกหุ้นจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือได้ซื้อหุ้นจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดตามข้อตกลงพิเศษ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจริงตามสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้นลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ใน หุ้นนั้น ทั้งนี้ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเสียในกรณีได้รับแจกหุ้นหรือได้ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาดตามข้อ ตกลงพิเศษ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538

ทั้งนี้จากการวินิจฉัย ของกรมสรรพากร พบว่าในกรณีการซื้อขายหุ้นของนายเรืองไกรเข้าข่ายกรอบที่ 2 คือซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาด แต่นายเรืองไกรไม่ทราบว่า กรมสรรพากรยึดการพิจารณาเงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดาตามเกณฑ์เงินสด หากได้รับซื้อหุ้นมาแล้วยังไม่ขายหุ้นออกไป ก็ยังไม่ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี ดังนั้นนายเรืองไกรจึงได้ยื่นแบบเสียภาษีผิดไป โดยนำเงินได้จากการซื้อหุ้นในครั้งนั้นมากรอกในแบบเสียภาษีด้วย จึงทำให้เครื่องประมวลผลออกมาว่าจะต้องเสียภาษีเพิ่ม ซึ่งนายเรืองไกรก็รีบจ่ายเงินให้กรมสรรพากรและไม่ได้อุทธรณ์ กรมสรรพากรจึงไม่รู้ และไม่สามารถแก้ไขให้ได้ตั้งแต่ต้น แต่ภายหลังเกิดเป็นประเด็นข่าวขึ้น กรมก็ได้เรียกนายเรืองไกรมาชี้แจงว่าการซื้อหุ้นดังกล่าวไม่เข้าข่ายที่จะ ต้องเสียภาษี และจ่ายเงินคืนไป

นางไพฑูรย์ ยังกล่าวถึงกรณีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ซื้อหุ้นต่อจากนายกรัฐมนตรีว่า กรมสรรพากรวินิจฉัยตามเงื่อนไขที่มีพบว่า เข้าข่ายการรับซื้อขายหุ้นในกรอบที่ 2 เช่นเดียวกับนายเรืองไกร คือมีการซื้อหุ้นต่ำกว่าราคาตลาดจริง โดยตามหลักจะต้องเสียภาษี แต่จะเสียก็ต่อเมื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ในฐานะผู้รับโอนได้ขายหุ้นหรือโอนหุ้นไป ให้คนอื่น และมีส่วนต่างของราคา จึงนำส่วนต่างของราคามาคิดคำนวณเสียภาษี เว้นแต่จะโอนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ก็ไม่จำเป็นจะต้องเสียภาษีเพราะถือเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการตลาดทุน

” การซื้อขายหุ้นในตลาดทุนฯทุกคนก็ไม่เสียภาษีอยู่แล้ว ใครขายก็ไม่เสีย จะโอนกันกี่ร้อยรอบก็ไม่เสีย ตรงนี้กรมสรรพากรไม่ได้ปล่อย เราพิจารณาตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ ใครก็ตามที่เข้าเกณฑ์ก็ให้ทุกคน ไม่ได้เลือกปฏิบัติ ถ้าคุณเป็นนาย ก. แล้วให้ ส่วนนาย ข. ไม่ให้ เราไม่เคยทำอย่างนั้น” รองอธิบดีกรมสรรพากรกล่าว

สำหรับกรณีคุณหญิง พจมาน ชินวัตร ที่โอนหุ้นชินคอร์ปให้นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชาย โดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์นั้น นางไพฑูรย์กล่าวว่า กรมสรรพากรวินิจฉัยแล้ว จัดเป็นการโอนหุ้นโดยเสน่หา ตามกรอบที่ 1 แม้ตามกรอบนี้ผู้ที่ได้รับหุ้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่เนื่องจากมีข้อยกเว้นว่าหากได้รับโอนหุ้นตามพิธีหรือตามโอกาสก็จะมีสิทธิ ยกเว้นการเสียภาษีได้ ซึ่งในกรณีนี้กรมสรรพากรได้ทำการพิสูจน์พยานหลักฐานและเอกสารแล้ว พบว่า ผู้ให้กับผู้รับหุ้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องเป็นพี่น้องกัน และทั้งคู่ก็เคยมีประวัติการช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน อย่างเรื่องการค้ำประกันเงินกู้ในอดีต ซึ่งมีเอกสารชัดเจน ดังนั้นจึงเข้าสิทธิการรับโอนหุ้นโดยเสน่หาได้ พร้อมกันนี้การโอนหุ้นชินคอร์ปในครั้งนั้น ก็พบว่าเป็นการโอนให้ในพิธีแต่งงานของนายบรรณพจน์ถือว่าเข้าสิทธิการได้รับ ยกเว้นภาษีตามกรอบที่ 1 อย่างชัดเจน

นางไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า เรื่องที่กมธ.วุฒิสภาที่ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้าตรวจสอบการทำงานของกรมสรรพากรนั้น กรมสรรพากรพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ แต่เนื่องจากเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช. จึงไม่สามารถตอบแทนอะไรมากนัก

———————————————

อดีตบิ๊กคลังให้การหนุน “พจมาน”

โพสต์ ทูเดย์ อดีตรองอธิบดีสรรพากร ให้การศาลยัน “บรรณพจน์-พจมาน” โอน 4.5 ล้านหุ้นโดยเสน่หา ไม่ต้องเสียภาษี

ที่ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก มีการสืบพยานจำเลยครั้งแรกในคดีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัว ฐานร่วมกันจงใจหลีกเลี่ยงการชำระภาษี

ทั้งนี้ ทนายความจำเลยนำนายปรีดี บุญยัง อดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร มาเบิกความเกี่ยวกับหลักการชำระภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42 (10) ว่า กรณีที่คุณหญิงพจมานโอนหุ้นบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิว นิเคชั่น 4.5 ล้านหุ้น มูลค่า 738 ล้านบาท ให้แก่นายบรรณพจน์ จำนวน 546 ล้านบาท ถือเป็นการให้โดยอุปการะ, โดยหน้าที่ธรรมจรรยา, มรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี จะได้รับการยกเว้นภาษี

นอกจากนั้น กรณีที่บุคคลซื้อขายหลักทรัพย์กันในตลาดหลักทรัพย์ หรือบุคคลโอนหุ้นให้กันโดยผ่านโบรกเกอร์ในตลาดหลักทรัพย์ ก็เข้าข้องดเว้นไม่ต้องชำระภาษีด้วย

อดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า การตีความเรื่องการให้ด้วยการอุปการะตามมาตรา 42 (10) จะต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นซึ่งแนวทางปฏิบัติขณะยังรับราชการนั้น จะดูจากฐานะผู้ให้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับ และเจตนาเป็นหลัก

สำหรับ เรื่องกำหนดวันที่ให้นั้น นายปรีดีกล่าวว่า อาจไม่ตรงกับวันพิธีการนั้นก็ได้ เพราะสิ่งที่พิจารณาคือ ผู้ให้มีเจตนาให้ตามข้อกำหนดมาตรา 42 (10) หรือไม่

ทั้งนี้ ทนายความจำเลยได้นำสำเนาคำพิพากษาฎีกาที่ 1793/2548 ที่วินิจฉัยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ภาระการชำระภาษีตามมาตรา 42 (10) ในคดีอื่น ซึ่งฎีกาวินิจฉัยว่าการให้หุ้นอุปการะไม่ต้องเสียภาษียื่นเป็นพยานเอกสาร ด้วย

ทั้งนี้ นายปรีดีเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมศุลกากร และอธิบดีกรมธนารักษ์ ในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=finance&id=190680
11-9-50

———————————————

โฆษกตระกูล”ชินวัตร” ไขปริศนา”แอมเพิล ริชฯ” “วันนี้ผมไม่ได้รับมอบหมายให้พูดเรื่องจริยธรรม”

หมาย เหตุ – เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ นายสุวรรณ วลัยเสถียร โฆษกตระกูล ชินวัตรและดามาพงศ์ ได้แถลงข่าวกรณี กองทุนแอมเพิล ริชฯ ที่ถือหุ้นอยู่ในชินคอร์ป 11.87% ต่อมาหุ้นนี้ถูกขายต่อให้กับนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในราคาหุ้นละ 1 บาท จากนั้นนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา นำมาขายให้กลุ่มเทมาเส็ก จากสิงคโปร์ ซึ่งเกิดข้อสงสัยว่าเจ้าของแอมเพิล ริชฯ คือใคร เพราะจำนวนหุ้น 11.87% ดังกล่าว ไม่ปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณแจ้งต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แต่อย่างใด

1.ทางครอบครัวชินวัตร โดยนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร มีหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2549 เพื่อชี้แจงลำดับความเป็นมาในการซื้อขายหุ้นทั้งหมด ส่วนสาเหตุที่ชี้แจงล่าช้า เพราะต้องใช้เวลาในการค้นหาและรวบรวมเอกสารที่สามารถยืนยันได้ เพื่อให้เกิดความถูกต้องชัดเจน เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2542 ที่ผ่านมา 6 ปีแล้ว และเป็นเรื่องเก่าที่เป็นข่าวแล้วทั้งสิ้น

2. กองทุนแอมเพิล ริชฯ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2542 โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือหุ้น 100% เพื่อรับโอนหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 32.92 ล้านหุ้น (ต่อมามีการลดพาร์จาก 10 บาทเป็น 1 บาท จำนวนหุ้นจึงเพิ่มเป็น 329.2 ล้านหุ้น) เพื่อเตรียมนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดแนสแด็ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยหุ้นที่นำไปซื้อขาย จะต้องเป็นหุ้นในกระดานต่างประเทศ จึงต้องใช้บริการบริษัทต่างประเทศ คือ แอมเพิล ริชฯ เป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งทางแนสแด็กได้ออกเอกสาร เอดีอาร์ (America Drawing Right) เพื่อใช้เป็นตราสารในการซื้อขายที่ตลาดหุ้นแนสแด็ก แต่ด้วยสภาพตลาดแนสแด็กในปี 2543 ตกต่ำมาก บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จึงยกเลิกแผนการเข้าตลาดหุ้นแนสแด็ก ทำให้หุ้นค้างอยู่ที่แอมเพิล ริชฯ จนถึงปัจจุบัน

3.เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2543 พ.ต.ท.ทักษิณได้ขายหุ้นแอมเพิล ริชฯให้นายพานทองแท้ทั้งหมด ก่อนการเลือกตั้งในปี 2544 เรื่องนี้ ก.ล.ต.เคยสอบถามเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2544 และแอมเพิล ริชฯ ได้มีหนังสือตอบยืนยันเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2544

4.เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2548 ได้มีการแจ้งเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นในแอมเพิล ริชฯ โดย น.ส.พิณทองทาได้เข้าถือหุ้น 20% ส่วนนายพานทองแท้ถือ 80% จนถึงปัจจุบัน

5. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 กองทุนแอมเพิล ริชฯ ที่ถือหุ้นโดยนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ได้ขายหุ้นชินฯนอกตลาดหลักทรัพย์ จำนวน 329.2 ล้านหุ้นให้กับนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา คนละ 164.6 ล้านหุ้น เนื่องจากไม่ประสงค์จะเก็บเงินที่ได้จากการขายหุ้นไว้ในต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ซื้อและผู้ขายถือเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกัน จึงไม่มีประเด็นการใช้ข้อมูลภายในในการนำหุ้นมาขายให้กับผู้ถือหุ้นรายใหม่ ในวันที่ 23 มกราคม 2549

6.ในการรายงานการขายหุ้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 ให้กับ ก.ล.ต.ได้มีการกาเครื่องหมายผิดพลาดในช่องของแบบรายงาน 246-2 ว่าเป็นการซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ และได้มีการแก้ไขรายงานต่างๆ ให้ถูกต้องเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2549

7.ประเด็นเรื่องภาษีนั้น ได้มีการหารือกับกรมสรรพากร และกรมสรรพากรได้มีหนังสือตอบข้อหารือที่ กค.0706/7896 ลงวันที่ 21 กันยายน 2548 ว่า การขายหุ้นจากแอมเพิล ริชฯ ให้กับนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ในราคาทุนที่ซื้อมาพาร์ 1 บาท เป็นการขายในราคาทุน ไม่มีกำไร จึงไม่ต้องเสียภาษี และต่อมาบุคคลทั้ง 2 ได้นำหุ้นจำนวนดังกล่าวไปขายผ่านตลาดหลักทรัพย์อีกครั้งหนึ่งนั้น เข้าเงื่อนไขไม่ต้องเสียภาษีตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ออกตามประมวลรัษฎากร ซึ่งใช้บังคับมากว่า 20 ปี

ทั้งนี้ ทางครอบครัวชินวัตรตระหนักเป็นอย่างดี ถึงความสนใจของสาธารณชนและสื่อมวลชนในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งอาจจะส่งผลต่อภาพพจน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน การดำเนินการทุกอย่างจึงต้องเป็นไปตามกฎระเบียบและกฎหมาย เพื่อให้เกิดความถูกต้องชัดเจน รวมทั้งให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ ในการชี้แจงเรื่องทั้งหมดทุกขั้นตอน ทางครอบครัวจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สาธารณชนจะเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องกันทุกฝ่าย และขอบคุณสื่อมวลชนทุกท่านในโอกาสนี้

@ จะมีการเปิดเผยผลการดำเนินงานประจำปีของแอมเพิล ริชฯ เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบหรือไม่?

ผมไม่ทราบ ต้องถามทางครอบครัวชินวัตร ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นว่าจะเปิดเผยหรือไม่

@ การขายหุ้นมีการคำนึงถึงจริยธรรมหรือไม่ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นทั้งเจ้าของ และเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย?

ผม ไม่เก่งเรื่องการเมือง แต่กรณีการซื้อขายหุ้นครั้งนี้ ถือว่าเป็นไปตามขั้นตอนตามกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้นำประเทศจะต้องคำนึงถึง คือ จะต้องทำตามกฎหมาย ให้ข้อเท็จจริงทุกประการ และมีเอกสารอ้างอิง โดยรายได้จากการขายหุ้น ก็จะมีการนำไปใช้เพื่อสังคม ส่วนคำถามเรื่องจริยธรรมว่าเหมาะสมหรือไม่นั้น ผมไม่ได้รับมอบหมายให้มาพูดเรื่องนี้ บอกได้แต่เพียงว่า การซื้อขายครั้งนี้ไม่มีภาษี เรื่องอื่นนั้น อยู่นอกขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย ส่วนการชี้แจงจะสามารถสร้างความเข้าใจได้หรือไม่นั้น ผมได้รับมอบหมายให้มาชี้แจง ส่วนการจะสร้างความเข้าใจได้หรือไม่ คงไม่สามารถคาดเดาได้ เป็นเรื่องของความรู้สึก

แต่การขายหุ้นชินฯ ครั้งนี้ ประเทศชาติได้ประโยชน์ เพราะเงินเข้าประเทศ ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น โดยในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เงินบาทแข็งขึ้นจาก 40 กว่าบาทต่อดอลลาร์มาเป็น 38-39 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ดุลการชำระเงินเราดีขึ้น เป็นการดีต่อเศรษฐกิจประเทศ

@ เหตุใดแอมเพิล ริชฯ จึงไม่ขายตรงให้กับกลุ่มเทมาเส็ก การขายผ่านบุคคลทั้ง 2 ถูกมองว่าเป็นการเลี่ยงภาษี?

ต้องกลับ ไปที่วัตถุประสงค์เดิมที่ให้แอมเพิล ริชฯ ถือหุ้นชินฯ ก็เพื่อจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นที่สหรัฐ ดังนั้น การให้แอมเพิล ริชฯ ขายหุ้นให้นายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ก็เพื่อนำหุ้นกลับมา ส่วนการให้แอมเพิล ริชฯ ขายหุ้นโดยตรงให้กลุ่มเทมาเส็กนั้น เป็นเพราะผู้ถือหุ้นมองว่า การขายหุ้นในประเทศจะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะชินคอร์ปเป็นบริษัทไทย เป็นของคนไทย หากแอมเพิล ริชฯ ขายตรงให้กับต่างชาติ ก็ถือว่าเป็นบริษัทต่างชาติขายหุ้นให้กับต่างชาติ ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี และจะทำให้เงินไม่เข้าประเทศ ขณะที่การขายผ่านบุคคลทั้ง 2 ซึ่งก็ไม่มีภาษีเช่นกัน แต่จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยมากกว่า

ผมอยากแจ้งข้อมูลให้ทราบว่า ตลอด 22 ปีของกลุ่มชินฯ กลุ่มชินฯเสียภาษีนิติบุคคล 50,000 ล้านบาท หากมองว่าครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ เสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ทั้งจากเงินปันผล ค่าจ้าง ตลอดเวลาที่ผ่านมาแล้วจำนวน 3,000 ล้านบาท

@ กรณีที่นายพานทองแท้ ซึ่งถือหุ้นชินฯอยู่แล้ว 24.99% เมื่อเดือนเมษายน 2543 ต่อมาได้รับโอนการถือหุ้นในแอมเพิล ริชฯ ซึ่งถือหุ้นชินฯอยู่ 7.8% อีกด้วย ทำให้นายพานทองแท้เข้าข่ายถือหุ้นชินฯเกินกว่า 25% ต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย (เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) ใช่หรือไม่?

เกณฑ์ของ ก.ล.ต.ในขณะนั้น คือ เมื่อปี 2543 ยังไม่ได้กำหนดการนับรวมหุ้น เพราะเกณฑ์ดังกล่าวเพิ่งมากำหนดขึ้นในภายหลัง

@ กรณีที่นายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทาขายหุ้นชินฯให้กับเทมาเส็กนั้น เงินที่ได้จากการขายหุ้น หากนำเข้ามาในประเทศ จะต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่?

ผมไม่แม่นในกฎระเบียบของกรมสรรพากร แต่ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพ คือ กรณีคนไทยไปทำงานที่ซาอุดีอาระเบีย แล้วมีเงินได้เข้าประเทศ หากนำเงินรายได้เข้ามาในปีเดียวกัน ก็ต้องเสียภาษี แต่หากทิ้งเงินไว้ต่างประเทศ แล้วเอาเข้ามาในปีถัดไป ก็ต้องไม่เสียภาษี โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 41 ของกรมสรรพากร เพราะมาตรานี้ให้เสียรายได้ในปีเดียวกัน แต่ผมไม่เก่งตรงนี้ อาจต้องหารือกับกรมสรรพากร

@ การขายหุ้นครั้งนี้มีเงินเข้าประเทศจริงหรือไม่?

มี เงินเข้ามาจริง เพราะเป็นการขายผ่านโบรกเกอร์ในประเทศ 6 ราย ได้แก่ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) บล.ภัทร บล.ทรีนิตี้ บล.ธนชาติ บล.ไทยพาณิชย์ และ บล.ยูบีเอส ซึ่งจะมีการโอนเงินระหว่างกัน และฝ่ายผู้ซื้อจะต้องชำระเงินผ่านโบรกเกอร์

@ จากกรณีที่ชี้แจงว่าการขายหุ้นของนายกรัฐมนตรีให้ลูกๆเป็นเรื่องที่ก.ล.ต. รับทราบมาตลอด แต่ทำไมก.ล.ต.ต้องสอบถามกลับมาว่า ทั้งแอมเพิล ริชและพานทองแท้และพิณทองทา เป็นบุคคลเดียวกันเมื่อไหร่

25 กรกฎาคม 2544 ได้รายงานพานทองแท้ถือ 100%หลังจากนั้นพิณทองทาได้รับการโอนหุ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ก.ล.ต.ไม่ทราบเรื่อง เพราะไม่มีกฎหมายว่าจะต้องแจ้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นของต่าง ประเทศ เป็นเรื่องของต่างกรรมต่างวาระ

มติชน 2 กุมภาพันธ์ 49

———————————————

แถลงการณ์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ณ วันที่ 11 กันยายน 2550
ตาม ที่ คตส. ได้แถลงข่าวเรื่องการซุกหุ้นของบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นรอบสอง โดยมีการกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นเจ้าของหุ้นแอมเปิ้ลริช และเป็นเจ้าของกองทุนวินมาร์ค และกล่าวอ้างต่างๆนานาว่ามีหลักฐานข้อมูลที่คตส. อ้างว่าเชื่อถือและนำมาเป็นเหตุในการกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น เป็นที่น่าสังเกตุว่าข้อมูลที่ คตส. นำมากล่าวอ้างนั้น เป็นข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลใหม่แต่อย่างใด เป็นเรื่องที่มีการชี้แจงต่อ คตส. แล้ว แต่ คตส. เลือกที่จะดูข้อมูลบางส่วนบางตอน มาพยายามสร้างเรื่อง “ซุกหุ้น” รอบสองขึ้นมาใหม่

ดังนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงให้พี่น้องประชาชนรับทราบดังนี้

1. ท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยเป็นเจ้าของบริษัทแอมเปิ้ลริชจริง แต่ได้มีการโอนขายหุ้นทั้งหมดในบริษัทดังกล่าวให้แก่บุตรชายและบุตรสาวแล้ว ตั้งแต่ก่อนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว และเรื่องนี้ก็ได้มีการรายงานให้คณะกรรมการ กลต.ทราบและก็ได้มีการชี้แจงทางการเมืองให้พี่น้องประชาชนและสื่อมวลชนทราบ แล้ว ส่วนเอกสารที่ คตส นำมากล่าวอ้างว่า ท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นผู้มีอำนาจลงนามสั่งการในบัญชีหุ้นของบริษัท แอมเปิ้ลริชตลอดเวลาที่ท่านยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น ก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ข้อมูลที่ทาง คตส. ขอไปก็เป็นเพียงเอกสารในการเปิดบัญชีหลายปีก่อนท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายก ซึ่งภายหลังจากที่ท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ขายหุ้นชินคอร์ปไปหมดแล้ว ท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก็มิได้เป็นเจ้าของหรือผู้มีอำนาจลงนามในบัญชีดังกล่าวแต่อย่างใด ความจริง ในการตรวจสอบของ คตส. ถ้ามีใจเป็นธรรม คตส.ก็ควรจะสอบสวน หรือตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนที่จะมาสรุปเอาเองโดยไม่ตรวจสอบข้อมูลให้รอบคอบ เช่นนี้

2. ข้อกล่าวหาที่ว่าท่านซุกหุ้นผ่านกองทุนวินมาร์คนั้นเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มี มูล และขณะนี้ทาง ดีเอสไอก็อยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวนในเรื่องนี้อยู่และยังหาข้อสรุปไม่ได้ แต่ คตส.กลับสามารถสรุปประเด็นนี้ได้เองเหมือนแอมเปิ้ลริช การโอนหุ้นโดยธนาคารที่ทำหน้าที่เป็นคัสโตเดียนก็เป็นธุรกรรมการลงทุนโดย ทั่วไปของนักลงทุนซึ่งไม่ได้มีอะไรชอบมาพากลหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่ อย่างใด

3. ทาง คตส กล่าวอ้างว่ามีการโอนเงินปันผลของบริษัทชินคอร์ปเข้าบัญชีของคุณหญิง พจมาน ชินวัตร จึงเป็นเหตุที่ทางคตส.มากล่าวอ้างว่าหุ้นทั้งหมดของชินคอร์ปยังคงเป็น กรรมสิทธิ์ของท่าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตลอดเวลาที่ท่านยังเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นข้ออ้างว่าท่านอดีตนายกฯซุกหุ้นรอบสอง และอ้างต่อไปด้วยว่าด้วยเหตุนี้ ท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจึงดำเนินการต่างๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มชินคอร์ปซึ่งคตส.อ้างว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของท่า นพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรอยู่ตลอดเวลา ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ชี้แจงมาโดยตลอดว่า ท่านได้ขายหุ้นชินคอร์ปให้แก่บุตร ธิดา ก่อนท่านเข้ารับตำแหน่งนายกฯ และเมื่อบุตรธิดาของท่านได้รับเงินปันผลค่าหุ้นของชินคอร์ปมา ก็นำเงินดังกล่าวมาชำระหนี้ค่าหุ้นโดยจ่ายเข้าบัญชีคุณหญิงพจมาน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องทั้งตามกฏหมายและตามทำนองคลองธรรม และขอเรียนยืนยันว่าภายหลังจากที่มีการโอนขายหุ้นชินคอร์ปไปแล้ว ทั้งท่านพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน
ชินวัตร ไม่เคยได้รับเงินปันผลจากชินคอร์ปอีกเลย

4. ในขณะที่ทางคตส.มากล่าวอ้างว่า ทั้งบริษัทแอมเปิ้ลริช กองทุนวินมาร์ค และการโอนขายหุ้นให้บุตรธิดาของท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็น “ตัวแทนเชิด” ในอีกคดีหนึ่ง คตส.เองกลับไปมีคำวินิจฉัยว่า นายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร ได้ซื้อหุ้นจากบริษัทแอมเปิ้ลริช มาขายให้กองทุนเทมาเสคในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่เสียภาษี โดยในคดีภาษีอากรดังกล่าว คตส. รับรองว่าหุ้นของแอมเปิ้ลริช และหุ้นของชินคอร์ปเป็น “กรรมสิทธิ์” ของ นายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร และ คตส.ได้มีคำสั่งให้กรมสรรพากรทำการประเมินภาษีสืบเนื่องจากกรณีดังกล่าวด้วย จึงต้องถาม คตส.ว่าตกลง คตส.มีกี่มาตรฐาน มีกี่สมมติฐานในการดำเนินการสอบสวนและตั้งข้อกล่าวหา ถ้า คตส. กลับลำมากล่าวอ้างว่าหุ้นของแอมเปิ้ลริช และหุ้นชินคอร์ปเป็นของท่านพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ก็จะขัดกับการกล่าวหาในคดีประเมินภาษี จึงต้องเรียนถามด้วยว่าถ้า คตส.กลับลำแบบนี้ จะยกเลิกการประเมินภาษีนายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ชินวัตรหรือไม่

http://www.truethaksin.com/legal_fact/justice_statement_11sep_th.html

———————————————

ต้นแบบขาย SHIN คือการขาย UCOM ให้กับกลุ่ม เทเลเนอร์
ขายกันก่อน พรบ.โทรคมนาคมฉบับที่ 2 ออกหลายเดือน

UCOM : บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)
ผู้ถือหุ้นรายย่อย ณ วันที่ 11/04/2548
จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free float) 9,191 % การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (% Free float) 34.96
ภาพรวมข้อมูลผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 07/04/2549 ประเภทการปิดสมุด : XM
จำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด 3,698 % การถือหุ้นแบบไร้ใบหุ้น 99.83

ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) % หุ้น
1 บริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด 255,090,589 58.69
2 TELENOR ASIA PTE LTD 129,661,610 29.83
3 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 8,402,227 1.93
4 CLEARSTREAM NOMINEES LTD 4,846,384 1.11

+++++++++++++++

ข้อมูลเบื้องต้นบริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์

ข้อมูลเบื้องต้นบริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ ที่ได้รับจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้
รายชื่อกรรมการบริษัท-กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
– นาย ศรีภูมิ ศุขเนตร
– นาย คนุท บอร์เก็น
– นาย กุนนาร์ เบอร์เทลเส็น
– นาย คริสเตียน สตอร์ม
– นาย สมยศ สุธีรพรชัย

กรรมการ ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท คือ 1. นายศรีภูมิ ศุขเนตร, นายคนุท บอร์เก็น, นายกุนนาร์ เบอร์เทลเส็น, นายคริสเตียน สตอร์ม กรรมการ 2 ใน 4 คน ลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของบริษัท 2. นายศรีภูมิ ศุขเนตร, นายคนุท บอร์เก็น, นายกุนนาร์ เบอร์เทลเส็น, นายคริสเตียน สตอร์ม กรรมการหนึ่งคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ในเอกสารที่ใช้ยื่นจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ และกรมสรรพากร

รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่

รายชื่อ จำนวน (หุ้น)
1. บริษัท เทเลนอร์ เอเชีย พีทีอี แอลทีดี 19,600,000
2. บริษัท โบเลโร จำกัด 10,480,000
3. นายบุญชัย เบญจรงคกุล 3,960,000
4. บริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) 3,959,993
5. บริษัท แซนดาลวูด โฮลดิ้งส์ จำกัด 800,000
6. บริษัท เพทรูส จำกัด 600,000
7. บริษัท อมาโรนี่ จำกัด 600,000
8. อื่น ๆ 7
รวม 40,000,000

ทุนจดทะเบียนบริษัท 400,000,000 บาท

———————————————

วัน ที่ 23 มกราคม 2549 ถึงการที่เทมาเซกตกลงซื้อหุ้นชินคอร์ป หรือ SHIN โดยสัดส่วนการเข้าถือหุ้นชินคอร์ปครั้งนี้ประกอบด้วย ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ 38.6% และเทมาเซก 11% ทั้งนี้ ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ มีผู้ถือหุ้นประกอบด้วย เทมาเซก 49% ธนาคารไทยพาณิชย์ 9.9% และบริษัท กุหลาบแก้ว 41.1% คิดเป็นมูลค่าการลงทุนครั้งนี้ 73,300 ล้านบาท

บริษัท กุหลาบแก้ว มีนายพงส์ สารสิน ถือหุ้น 51% เทมาเซกถือ 49%

————————————

กรณีกุหลาบแก้วที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นนอมินี่ในช่วงนั้น
และมีคณะกรรมการตรวจกันใหญ่
ถามว่าจนถึงวันนี้ผ่านมา 3 ปีกว่าแล้ว
ทำไมเรื่องเงียบไป
ไม่เห็นไปยึดบริษัท SHIN มาจาก เทมาเสก เสียที

———————————————

เรื่องภาษีส่วนต่างต้องเสียไหม


หนังสือ อีกฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2548 (ที่ กค. 0709.31/18325 ลงนามโดย นางจิตรมณี สุวรรณพูล สรรพากรภาค 1 ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร) ชี้แจงเรื่องนี้ต่อนายเรืองไกรซึ่งเป็นการพลิกคำวินิจฉัยเดิมทั้งหมดว่า การซื้อขายทรัพย์สิน (หุ้น) ราคาต่ำกว่าราคาตลาด “ส่วนต่าง” ดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 ของประมวลรัษฎากรตั้งแต่ต้น
หนังสือดังกล่าวพยายามอธิบายว่า การซื้อทรัพย์สินโดยปกติจะมีราคาตลาดสำหรับซื้อทรัพย์สินนั้น โดยราคาตลาดจะมีหลายราคา หากเป็นการซื้อเพื่อนำไปใช้เองหรือเป็นผู้บริโภค ผู้ซื้อจะซื้อตามราคาของผู้ขายปลีก หากเป็นการซื้อเพื่อนำไปขายซึ่งต้องซื้อเป็นจำนวนมาก ผู้ซื้อจะต้องซื้อในราคาต่ำโดยอาจซื้อราคาตลาดที่เป็นของผู้ผลิตหรือผู้ขาย ส่ง

ดังนั้น ทรัพย์สินชนิดเดียวกัน อาจมีราคาซื้อแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสถานะของผู้ซื้อ ซึ่งเป็นเรื่องปกติทั่วๆ ไปของการซื้อขายตามมาตรา 453 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ราคาซื้อดังกล่าวถูกกว่าราคาตลาด เช่น การส่งเสริมการขาย สินค้าตกรุ่น เลหลังสินค้า เลิกกิจการ ขายทอดตลาด ความพอใจ ความสัมพันธ์ส่วนตัว ฯลฯ ซึ่งเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย อันเป็นเรื่องปกติทั่วๆ ไป ตามมาตรา 453 ป.พ.พ.

“การซื้อทรัพย์สินใน ลักษณะดังกล่าว จะเป็นเรื่องของทุนซึ่งกระทบต่อจำนวนเงินของผู้ซื้อที่มีอยู่ ทั้งจำนวนเงินที่เหลืออยู่และที่ได้จ่ายไป ดังนั้น ไม่ว่าการซื้อทรัพย์สินผู้ซื้อจะซื้อตามราคาตลาดหรือซื้อในราคาถูกกว่าตลาด ผู้ซื้อต้องเสียเงินสำหรับการซื้อตามจำนวนมากน้อยตามราคาที่ตกลงกัน..0 การที่ซื้อทรัพย์สินราคาถูกจะทำให้เหลือเงินมากกว่าซื้อทรัพย์สินในราคาปกติ เงินที่เหลือดังกล่าวไม่ว่าจะเหลือมากน้อยเท่าใด ก็เป็นเงินของผู้ซื้อเอง เป็นเรื่องของทุน มิใช่เงินที่ผู้ซื้อได้รับหรือเข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับจาก ผู้อื่นแต่อย่างใด ด้วยเหตุผลข้างต้น การซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ อันเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 เช่นเดียวกับส่วนลดปกติและส่วนลดพิเศษที่จะลดให้ทันที เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าตามเกณฑ์ที่กำหนด” หนังสือของกรมสรรพากรระบุ

จาก นั้นสรุปว่า กรณีของนายเรืองไกรซึ่งซื้อหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพจากบิดาต่ำกว่าราคาตลาดที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เป็นการซื้อขายทรัพย์สินกันระหว่างนายเรืองไกรกับบิดาซึ่งเป็นการซื้อขายอัน เป็นเรื่องปกติในทางการค้า ส่วนราคาที่ตกลงซื้อขายกันต่ำกว่าราคาตลาด ผู้ขายและผู้ซื้อมีสิทธิตกลงวกันได้โดยผู้ซื้อต้องใช้ราคาทรัพย์สินตามที่ ตกลงกันนั้นตามมาตรา 453 แห่ง ป.พ.พ.
“ดังนั้น กรณีท่าน (นายเรืองไกร) ซึ่งเป็นผู้ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาด ส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาตลาด ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ อันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 ตามเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น” หนังสือระบุ

จากคำชี้แจงดังกล่าว สรุปได้ว่า การซื้อขายหุ้นต่ำกว่า ราคาตลาด “ส่วนต่าง” ที่เกิดขึ้น มิได้เป็นผลประโยชน์ที่ได้รับมาตั้งแต่ต้น จึงไม่เข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินมาตั้งแต่ต้น เพราะเป็นการซื้อขายทรัพย์สินตามปกติ โดยมีเงื่อนไข เช่นความสัมพันธ์ส่วนตัว ความพอใจ ดังนั้นต่อไปไม่ว่า ผู้ซื้อจะขายหุ้นนั้นไปในราคาสูงเท่าใด ก็ไม่ต้องเสียภาษีที่เกิดขึ้นจาก “ส่วนต่าง” มาตั้งแต่ต้น
เป็นการพลิกแนวคำวินิจฉัย 3 ครั้งแรก ที่ระบุว่า ถ้าขายหุ้นไปแล้วมีกำไร เกิด “ส่วนต่าง” เกินกว่าที่ได้ลงทุน (ซื้อมา) ต้องเสียภาษี “ส่วนต่าง” ดังกล่าว

———————————————

เรื่องนายเรืองไกรขายหุ้นทำไมเสียภาษีจริงหรือ

1) ตอนยื่นแบบ ภงด. ในปี 46.. คุณเรืองไกร”เจตนา”กรอกเงินได้จำนวน 55,000 บาท(มูลค่าหุ้นที่ได้รับโอน) ลงในช่อง “เงินได้ในการคำนวณภาษี”.. แต่เวลาคำนวณค่าภาษี กลับ”ละเลย”ตัวเลข 55,000 บาทนี้ โดยไม่ยอมนำมาใช้คำนวณด้วย..

ทั้งๆ ที่ คุณเรืองไกร”ไม่จำเป็น”ต้องกรอกจำนวนเงินดังกล่าว ลงในช่อง”เงินได้ในการคำนวณภาษี”.. เนื่องจากเป็นหุ้นที่ได้รับโอนจากบิดา และยังมิได้นำไปขายให้เกิดรายได้..
เมื่อกรอกไปแล้ว แต่กลับไม่ยอมเอามาใช้คำนวณ.. ผลลัพธ์”มูลค่าภาษี”จึงไม่สอดคล้องกับจำนวนรายได้ทั้งหมดที่ระบุไว้..

2) เมื่อ จนท.สรรพากร ได้ตรวจสอบการคำนวณค่าภาษี จาก”เงินได้ทั้งหมด”(รวม 55,000 บาทด้วย เพราะกรอกว่าเป็น”เงินได้”).. จึงพบว่า คุณเรืองไกร”คำนวณค่าภาษีไม่ถูกต้อง” ยอดภาษีน้อยกว่าที่สรรพากรคำนวณได้ = 21,350 บาท.. จึงได้แจ้งคุณเรืองชัยให้ไปชำระภาษีเพิ่ม..
ซึ่งจนท.สรรพากร ก็ไม่ได้ตรวจสอบว่าเป็นการ”กรอกข้อมูลผิด”

3) คุณเรืองไกร ได้ยื่นอุทธรณ์ภาษีในกรณี”สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่มไม่ถูกต้อง” (แต่ไม่ได้อุทธรณ์ในกรณี”กรอกข้อมูลผิด” และหุ้น 55,000 บาทไม่ต้องเสียภาษี)
ซึ่งคณะกรรมการอุทธรณ์ ก็ได้พิจารณาการคำนวณภาษีจาก”ยอดเงินได้ทั้งหมด(ที่กรอกไว้)”.. และเห็นว่าคุณเรืองไกร คำนวณมาไม่ถูกต้องจริง และต้องเสียภาษีเพิ่มตามที่ จนท.สรรพากรได้ประเมินไว้.. จึงได้”ยกคำร้องอุทธรณ์”

————————-

กรณีนี้ จึงเป็นเรื่องของการ”คำนวณค่าภาษีไม่ถูกต้อง”.. จากการ”กรอกข้อมูลผิด”ของผู้เสียภาษีเอง..
ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเด็นว่า”การโอนหุ้นจากบิดาให้กับบุตร” จะต้องเสียภาษีหรือไม่??
ลองมาอ่านคำพิพากษาดูนะครับ..

โดยเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า หลังจากที่โจทก์ถูกแจ้งให้ไปชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2546 จำนวน
21,350 บาท

โจทก็ได้นำเงินภาษีไปชำระให้จำเลยพร้อมกับยื่นอุทธรณ์การประเมินระบุว่าการคำนวณเงินได้ไม่ถูกต้อง และโจทก์ขอให้ยกเลิกการประเมิน

แล้ว ต่อมาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์หลังจากพิจารณาแล้วว่า โจทก์ไม่ได้นำผลประโยชน์จากการรับโอนหุ้นจำนวน 55,000 บาท มารวมเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีด้วย

ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏ*ว่าหลังจากนั้น โจทก์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผลการประเมินภาษีต่อศาล* ดังนั้น
การพิจารณาประเมินภาษีโดยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ต้องชำระเงินภาษีเพิ่มจำนวน 21,350 บาท จึงถือเป็นที่สุด

ดัง นั้นจำเลยหรือเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลการวินิจฉัย อุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฝ่ายบริหารที่ถือเป็นที่สุดแล้วให้เป็น อย่างอื่นได้

การที่จำเลยมีหนังสือคืนเช็คพร้อมส่งเช็คคืนเงินภาษีให้แก่โจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

พิพากษา ให้จำเลยรับคืนเช็ค ลงวันที่ 31 ก.ค. 2548 จากโจทก์ และให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์และค่าทนายความแทนโจทก์ จำนวน 2,000 บาท

ทั้งนี้ นางปาริชาติ ภู่สำรวจ อธิบดีผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง กล่าวด้วยว่า คดีนี้ศาลวินิจฉัยเฉพาะเรื่องของอำนาจเจ้าพนักงานประเมิน หรือกรมสรรพากรในการเปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เท่านั้น

“โดยไม่ได้วินิจฉัยในเนื้อหาว่า คำวินิจฉัยของคณกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่วินิจฉัยเกี่ยวกับภาระภาษีจากการรับโอนหุ้นถูกต้องหรือไม่”

———————————————

ข้อกฏหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติม

เอม ระบุอยู่เมืองไทยไม่ครบ 180 วัน ซึ่งได้รับยกเว้นเสียภาษี

11:58 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่น.ส.พิณทองทา ชินวัตร จะขึ้นลิฟท์ ไปชี้แจงคณะอนุกรรมการฯ ผู้สื่อข่าวได้ตะโกนถามนางสาวพิณทองทาว่า ” อยู่เมืองไทยครบ 180 วันหรือไม่”
นางสาวพิณทองทา ส่ายศีรษะพร้อมกับตอบเพียงสั้นๆ ว่า “ไม่ครบค่ะ”
ผู้ สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หากนางสาวพิณทองทาอยู่ในประเทศไทยไม่ครบ 180 วัน จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41
—————————
มาตรา 41 ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )

ผู้ อยู่ในประเทศไทยมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้เมื่อนำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้า มาในประเทศไทย
ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย

( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 ใช้บังคับปีภาษี 2494 เป็นต้นไป )

———————————————

มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด
(4) เงินได้ที่เป็น
(ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคล อื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 7 พ.ย. 2534 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ข้อ 2 (30) )

http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata38

+++++++++++++

มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
(17) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง

( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2496 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 201 (พ.ศ. 2539) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 219 (พ.ศ. 2542) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 230 (พ.ศ. 2544) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 241 (พ.ศ. 2546) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 252 (พ.ศ. 2548) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 254 (พ.ศ. 2548) )

http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata38

+++++++++++++++++

ข้อ 2 ให้กำหนดเงินได้ต่อไปนี้เป็นเงินได้ตาม (17) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496

(23) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร
(แก้ไข เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ. 2534) ความเดิมยังคงใช้บังคับดอกเบี้ยพันธบัตรของรัฐบาลและพันธบัตรของรัฐบาลที่ เริ่มจำหน่ายก่อน 8 พฤศจิกายน 2534)

http://www.rd.go.th/publish/2502.0.html

————————————————————-

http://www.settrade.com/brokerpage/IPO/StaticPage/Education/tax_investor_t.html

การ เสียภาษีถือเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติของผู้มีเงินได้ทุกคน สำหรับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน ผู้ลงทุนย่อมมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของตัวเงิน ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าผู้ลงทุนนั้นจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติก็ตาม ยกเว้นกรณีที่ผู้ลงทุนเป็นบุคคลธรรมดาและได้รับเงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์ จะไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด สำหรับรายละเอียดของภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สรุปได้ ดังนี้

กรณีผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา
ประเภทเงินได้ ผู้ลงทุนไทย
( ผู้ลงทุนที่เป็นคนไทยและต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไปใน 1 ปีปฏิทิน)

ผู้ลงทุนต่างชาติ
( ผู้ลงทุนที่เป็นคนไทยและต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วันใน 1 ปีปฏิทิน)

เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์
– ได้รับยกเว้น
(เว้น แต่เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ประเภทหุ้นกู้ พันธบัตร ซึ่งจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15 โดยมีสิทธิเลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้)
– ได้รับยกเว้น
(เว้น แต่เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ประเภทหุ้นกู้ พันธบัตร ซึ่งจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15 โดยมีสิทธิเลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้)

เงินปันผล
1) กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 10
ภาษีสิ้นปี : สามารถเลือกดำเนินการได้ 2 วิธี
1. นำเงินปันผลที่ได้รับทั้งสิ้นในปีนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีรวมกับเงินได้ ประเภทอื่น ซึ่งจะได้รับเครดิตภาษีเงินปันผล 3 ใน 7 ของเงินปันผลที่ได้รับ
2. ไม่นำเงินปันผลที่ได้รับทั้งสิ้นในปีนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปี โดยกรณีนี้ถือว่าผลลงทุนยอมเสียภาษีสำหรับเงินปันผลในอัตราร้อยละ 10 = อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

2. เงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มี เว้นแต่ผู้ลงทุนยอมให้หักไว้ตาม
ภาษีสิ้นปี : สามารถเลือกดำเนินการได้ 2 วิธี
1. นำเงินปันผลที่ได้รับทั้งสิ้นในปีนั้นมารวม คำนวณเพื่อเสียภาษีรวมกับเงินได้ประเภทอื่น
2. ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10 โดยสิ้นปีผู้ลงทุนไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวมมารวมคำนวณเพื่อ เสียภาษีตอนสิ้นปี โดยกรณีนี้ถือว่าผลลงทุนยอมเสียภาษีสำหรับเงินปันผล = อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

3. กรณีได้รับเงินปันผล จากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน หรือ BOI
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มีภาษีสิ้นปี : ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สิ้นปี

1) กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
1. ผู้ลงทุนต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป จะต้องเสียภาษีเหมือนผู้ลงทุนไทย
2. ผู้ลงทุนต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วันภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 10ภาษีสิ้นปี : ต้องนำเงินปันผลไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สิ้นปี รวมกับเงินได้ประเภทอื่น

2. เงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มีภาษีสิ้นปี : ต้องนำไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปีรวมกับเงินได้ประเภทอื่น

3) กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน หรือ BOI : เหมือนผู้ลงทุนไทย

ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 15
ภาษี สิ้นปี : มีสิทธิเลือกที่จะนำดอกเบี้ยมารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ปลายปีหรือไม่ก็ได้ ผู้ลงทุนต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป และอยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วัน : เหมือนผู้ลงทุนไทย
อากรแสตมป์
(ตราสารการโอน) การติดอากรแสตมป์สำหรับการโอนหลักทรัพย์
1. กรณีมีตราสารการโอน ติดอากรในอัตรา 1 บาท สำหรับทุกจำนวน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท คิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้ว หรือตามราคาในตราสารการโอน แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
2. กรณีโอนหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นนายทะเบียนไม่ต้องติดอากรแสตมป์
3. กรณีไม่มีตราสารการโอน เช่น โอนในระบบไร้ใบหุ้น (Scripless) ไม่ต้องติดอากรแสตมป์

การติดอากรแสตมป์สำหรับการโอนหลักทรัพย์ : เหมือนผู้ลงทุนไทย

กรณีผู้ลงทุนที่เป็นนิติบุคคล

ประเภทเงินได้ ผู้ลงทุนไทยและผู้ลงทุนต่างชาติที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้ลงทุนต่างชาติที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มี
ภาษีสิ้นปี : ต้องนำเงินกำไรที่ได้มารวมคำนวณหากำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 15 เว้นแต่เงินกำไรจากการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ไม่ต้องถูกหักภาษี
ภาษีสิ้นปี : ไม่มี

เงินปันผล
1. กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทย
ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 10
ภาษีสิ้นปี : ต้องนำเงินปันผลที่ได้รับมารวมเป็นรายได้เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้รับ ยกเว้นผู้รับเงินปันผลในกรณีต่อไปนี้
– บริษัทจดทะเบียนได้รับเงินปันผล หากได้ถือหุ้นไว้ไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนและหลังวันที่มีเงินได้จากเงินปันผล
ภาษี ณ ที่จ่าย : ได้รับยกเว้น
ภาษีสิ้นปี : ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีทั้งจำนวน
– ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียน แต่เป็นบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง และผู้จ่ายเงินปันผลมิได้ถือหุ้นในบริษัทผู้รับเงินปันผล หากได้ถือหุ้นไว้ไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนและหลังวันที่มีเงินได้จากเงินปันผล
ภาษี ณ ที่จ่าย : ได้รับยกเว้น
ภาษีสิ้นปี : ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีทั้งจำนวน

2. กรณีได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มี
ภาษีสิ้นปี : ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ยกเว้นผู้รับเงินปันผลในกรณีต่อไปนี้
– บริษัทจดทะเบียน ได้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนและหลังวันที่ได้รับเงินปันผล ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินหันผลมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีทั้งจำนวน บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน ได้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนและหลังวันที่มีได้รับเงินปันผล ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีกึ่งหนึ่ง
– บริษัทต่างประเทศที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ต้องนำเงินปันผลที่ได้รับมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสีย ภาษีทั้งจำนวน

3. กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัท ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI
ภาษี ณ ที่จ่าย : ได้รับยกเว้น
ภาษีสิ้นปี : ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
1. กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตราร้อยละ 10
ภาษีสิ้นปี : ไม่มี

2. กรณีได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ภาษี ณ ที่จ่าย: ไม่มี
ภาษีสิ้นปี: ไม่มี

3.กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI : เหมือนผู้ลงทุนไทย

ดอกเบี้ยหุ้นกู้
ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 1
ภาษีสิ้นปี : ต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปีด้วย ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 15
ภาษีสิ้นปี : ไม่มี
อากรแสตมป์
(ตราสารการโอน) การติดอากรแสตมป์สำหรับการโอนหลักทรัพย์
1. กรณีมีตราสารการโอน ติดอากรในอัตรา 1 บาท สำหรับทุกจำนวน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท คิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้ว หรือตามราคาในตราสารการโอน แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
2. กรณีโอนหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นนายทะเบียนไม่ต้องติดอากรแสตมป์
3. กรณีไม่มีตราสารการโอน เช่น โอนในระบบไร้ ใบหุ้น (Scripless) ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ การติดอากรแสตมป์สำหรับการโอนหลักทรัพย์ : เหมือนผู้ลงทุนไทย

หมาย เหตุ : ในกรณีของผู้ลงทุนชาวต่างชาติบางประเทศนั้น อัตราภาษีดังกล่าวข้างต้นอาจได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาภาษีซ้อน

อนุสัญญาภาษีซ้อน

ปัจจุบัน ในกรณีของผู้ลงทุนที่เป็นนิติบุคคลต่างชาติบางประเทศนั้น อัตราภาษีสำหรับการได้ สำหรับเงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์ เงินปันผล และดอกเบี้ยหุ้นกู้ อาจได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในอนุสัญญา ภาษีซ้อน ขณะเดียวกัน กรณีผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาต่างชาติ อาจได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินปันผล และดอกเบี้ยหุ้นกู้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาภาษีซ้อน ทั้งนี้ มีประเทศที่เป็นคู่สัญญาอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทยในปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 44 ประเทศ ได้แก่ เกาหลี นอร์เวย์ เบลเยี่ยม มาเลเซีย สเปน อิตาลี สหราชอาณาจักรอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือ แคนาดา นิวซีแลนด์ โปแลนด์ โรมาเนีย สวิสเซอร์แลนด์ อิสราเอล สาธารณรัฐเชค ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ลักเซมเบอร์ก สวีเดน แอฟริกาใต้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เดนมาร์ก เนปาล ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐปากีสถาน สาธารณรัฐฟินแลนด์ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐไซปรัส สาธารณรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน สาธารณรัฐบัลแกเรีย สาธารณรัฐมอริเชียส สาธารณรัฐออสเตรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐฮังการี สาธารณรัฐอาร์เมเนีย

———————————————

ข้อกล่าวหาเรื่องจริยธรรม

ผมเห็นพวกที่พูดเรื่องจริยธรรม
เงียบกริบเวลาเห็นคนผ่านการเกณฑ์ทหารไม่ถูกต้อง
คนช่วยซิกแซกให้ไปเป็น
โดนลงโทษทางวินัย
โดนคดีอาญา
ไม่รู้ตอนเอาเอกสารไม่ครบไม่ถูกต้อง
ไปยื่นสมัครเป็นอาจารย์รร.นายร้อยจปร.
ใช้จริยธรรมคุณธรรมสูงขนาดไหน
เงียบกริบ
พวกที่พูดเรื่องจริยธรรมคุณธรรม
เงียบกริบมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลสุรยุทธ์เขายายเที่ยง
สรุปก็คือใช้กับทักษิณคนเดียว
เรื่องจริยธรรม
ห้ามใช้กับสุรยทธ์
ห้ามใช้กับมาร์ค
ถึงว่า
ที่เขาว่า 1 ประเทศ 2 มาตรฐานเป็นแบบนี้เอง

อีกอย่างถ้ามีกฏหมายให้ทำได้
แล้วสื่ออาจารย์นักวิชาการบางคน
ให้ยึดเนื้อหาหรือหลักจริยธรรมส่วนตัว
ไม่ดูข้อกฏหมาย
มันจะอยู่กันได้ไหมประเทศนี้
ไม่ต้องอะไรแค่คำว่าจริยธรรมยังเลือกใช้เลย
อย่างที่บอกสมัยทักษิณ
สื่ออาจารย์สารพัดออกมาพูดเรื่องจริยธรรม
พอเจอเขายายเที่ยงเงียบ
เจอจดทะเบียนซ้อน4 คนเลยเงียบ
เจอซิกแซกไปเป็นอาจารย์สอนทหาร
ทั้งๆ ที่หลักฐานไม่ครบ
ชายไทยยุคมาร์คเป็นหนุ่มเป็นต้นมา
จะไปเป็นภารโรงยังต้องตรวจหลักฐาน
เรื่องได้หมดภาระการเกณฑ์ทหารแล้วเลย
แล้วไปเป็นอาจารย์ได้ยังไง
เมื่อหลักฐานไม่สมบูรณ์
เรื่องพวกเนี้ยะไม่เห็นออกมาพูดเรื่องจริยธรรม
หรือฉีกบัตรที่กรุงเทพไม่ผิด
แต่ฉีกบัตรเลือกตั้งคราวเดียวกันอีกจังหวัดติดคุก
คุณคิดว่ามีกฏหมาย
แล้วใช้จริยธรรมส่วนตัว
เนื้อหาอะไรส่วนตัวตัดสิน
มันจะเหมือนกันไหม
ถ้าเปลี่ยนคนตัดสิน
ถ้าต้องตัดสินคนมีเส้นกับไม่มีเส้น
เขาถึงต้องยึดตัวกฏหมายเป็นหลัก
ถ้ามันไม่ผิดก็คือไม่ผิด
แล้วจะไปแก้ให้มันผิดทีหลังก็ทำไป
แต่ไม่มีผลย้อนหลัง
ไม่ใช่กฏหมายบอกไม่ผิด
แต่จะหาเรื่องให้ผิดให้ได้
ลองเปลี่ยนเป็นผม
ไปตัดสินคนที่ชอบพูดเรื่องจริยธรรม
รับประกันได้ถ้าใช้หลักจริยธรรมของผม
ผมสามารถหาข้อผิดของคนพวกนั้นได้
แม้จะไม่มีกฏหมายรองรับอะไร
เห็นรึยังว่าหลักจริยธรรมแต่ละคนก็แต่ละแบบ
ที่ประเทศมันมีสองมาตรฐาน
ก็เพราะยึดการตัดสิน
ตามความคิดเห็น
ตามความรู้สึก
ตามหลักจริยธรรมส่วนตัว
ไม่ยึดกฏหมายเป็นหลัก
มันถึงได้วุ่นอยู่ทุกวันนี้
และเสื่อมความน่าเชื่อถือยังไง

เรื่องการวางแผนภาษีไม่ใช่การโกง
ไม่งั้นคงไม่มีวิชาวางแผนภาษีหรอก
ถ้าท่านจบมามีโอกาสได้ทำงาน
ท่านก็ต้องมาวางแผนภาษี
ตอนจ่ายภาษีสิ้นปี
ถ้าทำอยู่แล้ว
อาจไม่รู้ว่าที่ทำอยู่ทุกปี
ที่เที่ยวไปเอานั่นนี่มาหักภาษี
นั่นแหละเขาเรียกว่าวางแผนภาษีไม่ใช่โกง
อยากถามอาจารย์นักวิชาการ
ที่ออกมาพูดเรื่องจริยธรรมอะไร
ทุกสิ้นปีเคยวางแผนภาษีโกงรัฐ
เพื่อจ่ายภาษีน้อยๆ หรือเปล่า
เช่นเอาค่านั่นนี่มาลดหย่อน
ถึงแม้จะถูกกฏหมายรัฐให้ทำได้
แต่เจตนารมย์รัฐต้องการเงินไปใช้มากๆ ปีนี้
ดังนั้นเที่ยวหานั่นนี่มาลดหย่อนเยอะๆ
จะผิดเจตนารมย์ของการเก็บภาษีเข้ารัฐ
ทำให้รัฐเก็บได้น้อยลงอะไรประมาณนั้นหรือเปล่า

———————————————

เรื่องเจตนารมณ์ของกฏหมาย

การที่สื่อ อาจารย์ นักวิชาการบางพวก
เน้นเรื่องการเก็บภาษีเข้ารัฐอย่างเดียว
โดยดูว่ารัฐเสียเปรียบหรือไม่
ไม่ดูข้อกฏหมายว่าเขาทำถูกหรือไม่
เป็นเจตนารมณ์ของกฏหมาย
ที่เคยได้ยินมาว่า
ปล่อยคนผิด 10 คน ดีกว่าจับคนไม่ผิดติดคุกหรือไม่
การพิจารณาข้อกฏหมาย
ไม่ได้ดูว่าใครได้เปรียบเสียเปรียบ
แต่ควรดูว่ากฏหมายว่ายังไง
ผิดกฏหมายหรือไม่
ไม่เช่นนั้นเขาไม่เรียกกฏหมาย
เขาเรียกว่ากฏใครกฏมัน
และถ้าตอนที่เขาทำ
มันมีกฏหมายอยู่ให้ทำได้
จะมาปรับปรุงภายหลัง
เพื่อไปกล่าวหาก็ไม่ถูกต้องนัก
และถ้าพูดถึงเจตนารมณ์ของกฏหมายเรื่องภาษี
จะให้ใครเป็นคนตัดสิน
ก็เขาถามไปที่กรมสรรพากร
กรมสรรพากรบอกไม่ผิด
ถ้าเป็นท่าน ท่านจะต้องถามไปที่ศาลอีกไหม
หรือกรมสรรพากรตอบกลับมาว่ายังไง
ต้องไปถามใครอีก
เพื่อเข้าใจในเจตนารมณ์ของกฏหมาย
แล้วถ้ากรมสรรพากรตอบแล้วเชื่อถือไม่ได้
ถามหน่อยว่าควรไปถามใคร
สมมุติท่านไปทำงานด้านภาษี
แล้วท่านมีปัญหาถามกรมสรรพากร
แล้วเขาตอบท่านมาแล้วท่านทำตาม
แล้วไปขึ้นศาล
สมมุติว่าศาลบอกผิดเจตนารมณ์กฏหมาย
ถ้าเช่นนั้นทำไมไม่ส่งเรื่องไปถามศาลทุกๆ เรื่องเลยหล่ะ
แล้วถ้าอนาคตท่านโดนกรณีนี้บ้างหล่ะ
นี่เป็นกรณีตัวอย่าง
ดังนั้นใครทำตามที่กรมสรรพากรแนะนำ
ก็อาจติดคุกหรือโดนกล่าวหาว่าโกงภายหลังก็ได้

“1.8. ประเด็นนี้ พาน/พิณ หารือกับสรรพากรตั้งแต่กลางปีที่แล้ว สรรพากรก็ยืนยันว่าเรื่องนี้ถูกต้อง แต่ก็ไม่ฟังกัน กล่าวหาว่าลูกนายกฯเลี่ยงภาษี นายกฯไม่มีจริยธรรม สรรพากรผิดจรรยาบรรณตีความเข้าข้างรับใช้นายกฯ”

ระวังไว้ก็แล้วกันสำหรับนักบัญชีทั้งหลาย
อนาคตอาจเข้าคุกหรือทำผิดกฏหมาย
หรือโดนกล่าวหาว่าโกง
เพราะทำตามที่กรมสรรพากรแนะนำมา
ดังนั้นที่ทุกวันนี้คนเป็นร้อยเป็นพัน
ที่โทรไปถามปัญหากับกรมสรรพากร
เพื่อความชัวร์โทรไปหาเหล่าอาจารย์นักวิชาการ
ที่ออกมาพูดเรื่องจริยธรรม และศาลอีกครั้ง
เพื่อจะได้เข้าใจเจตนารมณ์กฏหมายไปในทิศทางเดียวกัน
ไม่งั้นทำตามอาจซวยได้
และอีกหน่อยอาจเป็นแบบครอบครัวนี้

สรุปส่งท้ายเรื่องนี้
ที่มันมั่วๆ และคนไม่เข้าใจอยู่ทุกวันนี้
ก็เพราะพยายามยกตัวอย่างการขายสินค้า
ว่าต้องเสียภาษี
แล้วทำไมขายหุ้นไม่เสีย
ก็กฏเกณฑ์ข้อบังคับมันต่างกัน
ขายหุ้นเขามียกเว้น
และภาษีเงินได้ก็มียกเว้น
มันต่างจากการขายสินค้า
ถ้ามันเหมือนกัน
จะแยกกฏหมายเรื่องขายหุ้นกับขายสินค้ากันทำไม
ข้างล่างคือกฏหมายของตลาดหลักทรัพย์

“กรณีผู้ลงทุนที่เป็นนิติบุคคล

ประเภทเงินได้ ผู้ลงทุนไทยและผู้ลงทุนต่างชาติที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้ลงทุนต่างชาติที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มี
ภาษีสิ้นปี : ต้องนำเงินกำไรที่ได้มารวมคำนวณหากำไรสุทธิ
เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ”

เขาขายกลับมาในราคาเท่าทุนมันก็ไม่มีกำไร
ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ก็ถูกแล้วไง
ทำไมตอนโอนไปก็ราคาพาร์
ตอนโอนกลับก็ราคาพาร์
มันแปลกตรงไหน
แต่ถ้าเอากำไรตัวเองสิถึงแปลก
จะต้องไปสืบสวนเบื้องหลังอีกว่า
อยู่ดีๆ มาหากำไรตัวเองทำไม
มีอะไรลึกลับซ้อนเงื่อนผูกอยู่
หรือลืมกินยาผิด
ถึงคิดมาเอากำไรตัวเอง
ซึ่งเขาจะขายราคาพาร์
ราคาเอากำไรตัวเอง
หรือขาดทุนอะไร
มันเรื่องของเขา
ไม่มีใครไปบังคับเขาได้ว่าห้ามขายเท่าทุน
ไม่มีข้อห้ามนี้
เมื่อไม่มีข้อห้ามนี้เขาจะขายก็เรื่องของเขา
หุ้นของเขา
แล้วจะไปเจ้ากี้เจ้าการ
บังคับให้เขาขายเอากำไรตัวเอง
เพื่อจะได้เสียภาษีเงินได้
ซึ่งคนที่เสียภาษีเงินได้
ก็คือบริษัท แอมเพิลริช
ในฐานะที่ได้รับหุ้นที่โอนไปให้
แล้วโอนกลับมา
แล้วจะหาเหาใส่ตัว
ให้บริษัทที่ไม่ได้ทำอะไร
แค่เอาหุ้นไปพักไว้
ไม่มีการซื้อขายใดๆ
แล้วโอนกลับมา
เชื่อเหอะว่าคนสติดีๆ เขาก็ทำแบบนี้แหล่ะ
ผมไม่เชื่อพวกชอบยกจริยธรรมคุณธรรมอะไรมาอ้าง
แล้วจะขายหุ้นเอากำไรตัวเอง
เพื่อให้ตัวเองเสียภาษีอีกต่อหนึ่งหรอก
เพราะสิ่งที่เอากำไรตัวเอง
มันก็คือเอากำไรตัวเองไม่ได้อะไรขึ้นมา
แต่ที่เสียแน่ๆ คือต้องจ่ายเพิ่มไปเสียภาษี
ถามจริงๆ อีกที
พวกที่เจ้ากี้เจ้าการเที่ยวบอกว่า
ทำไมเขาไม่ขายเพื่อเอากำไรตัวเอง
ถ้าเป็นคุณจะทำไหม
ในเมื่อเจ้ากี้เจ้าการราวกับเป็นคนมีจริยธรรมอะไร

แล้วข้อแก้ตัวที่ว่าคนมีจริยธรรมมาเป็นนายก
คิดเฉพาะตอนมาดำรงตำแหน่งก่อนหน้านั้น
จะไปทำอะไรไม่มีจริยธรรมไม่คิด
สรุปว่าตำแหน่งนายกกับจริยธรรมที่พูดนี่
เฉพาะตอนดำรงตำแหน่งใช่ไหม
ถ้าก่อนหน้านั้นไร้จริยธรรมพอมาเป็นนายก
ถือว่าเป็นคนมีจริยธรรม
เพราะว่าคิดเฉพาะตอนดำรงตำแหน่ง
ก่อนหน้าไม่คิดใช่ไหม
ถ้าเช่นนั้นตำแหน่งนายก
ก็เป็นตำแหน่งฟอกจริยธรรมให้คนอ่ะซิ
โดนกล่าวหาอยู่ดีๆ ว่าไร้จริยธรรม
พอได้เป็นนายกกลายเป็นคนมีจริยธรรมปกติไปได้
ประหลาดดีลอจิกแถยิ่งกว่าปลาไหลใส่สเก็ตเสียอีก
ถ้าลอจิกแบบนี้ดีถูกต้องยอมรับกัน
คนที่พึ่งถูกด่าว่าไร้จริยธรรมอะไร
งวดหน้าถ้าเขาได้เป็นอีก
ถือว่าเขามีจริยธรรมปกติน่ะ
เพราะอดีตไม่คิด
ถ้าลองยอมรับคนไม่มีจริยธรรมมาเป็นนายกได้แล้ว
อย่ามาทำเป็นยกตัวเองหน่อยเลยว่า
เป็นพวกนักเชิดชูจริยธรรมอะไร

———————————————

วิชาการวางแผนภาษีมีเปิดสอนตามสถาบันการศึกษาทั่วไป

Tax Planning for the Boss
(การวางแผนภาษีสำหรับผู้บริหาร)

การ วางแผน (Planning) เป็นกระบวนการหนึ่งในการ บริหารธุรกิจ ผู้บริหารควรจะวางแผนไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการผลิต การขาย การตลาด การประชาสัมพันธ์ การเงิน การบัญชี การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ

แต่ มีผู้บริหารน้อยรายมากที่วางแผนภาษีอากร (Tax Planning ) ทั้งๆที่การวางแผนภาษีอากรเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารธุรกิจ และมีผลโดยตรงต่อกำไรหรือขาดทุนของกิจการ

ผู้บริหารที่ไม่ได้วางแผน ภาษีอากร จึงทำให้กิจการต้องเสียภาษีมากหรือเสียภาษีเกินกว่าจำนวนที่ควรจะต้องเสีย และการที่ผู้บริหารไม่ได้วางแผนภาษีอากรนี้อาจเป็นเพราะไม่รู้วิธีการวางแผน ภาษีอากรก็ได้ และหลักสูตร MBA ในประเทศไทยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้สอนวิชาการวางแผนภาษีอากร

#

วิชาการสอบบัญชี โดย
รศ.ดร.ศิลปพร ศรีจั่นเพชร
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิชาการวางแผนภาษีอากร

อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์
การวางแผนภาษีอากร
การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล
การวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ความรู้เกี่ยวกับประมวลรัษฎากร
http://www.lcc.ac.th/WEB_T/Thodsaporn/page3.htm

#

สำนักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ภาค วิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ. ภาควิชาการตลาด. ภาควิชาการเป็นผู้ประกอบการ …. การวางแผนภาษีอากร. กรุงเทพฯ: สำนักงาน วิชิตา ทนายความ บัญชีและธุรกิจ …
www2.feu.ac.th/admin/ia/articles_detail.php?id=126

#

กวดวิชาบัญชี ภาษี และการวางแผนการเงิน
2BAcc training: ผู้เชี่ยวชาญการสัมมนา อบรมบัญชี และ อบรมภาษี การวางแผนการเงิน ทอล์คโชว์ การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องบัญชี (CPD) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ …
http://www.2bacc.co.th/index.php/tutor-tax-accounting

#

TSI Thailand Securities Institute
ชุด วิชาที่ 5: การวางแผนภาษีและมรดก (Tax and Estate Planning) เพื่อให้เข้าใจในเรื่องของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นภาษีทางตรงที่ถือว่ามีความสำคัญ …
http://www.tsi-thailand.org/ProfessionalEdu_3/4_training/training_TFP_Module5.html

#

University of the Thai Chamber of Commerce – มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
AC 523 ปัญหาภาษีอากรของธุรกิจเฉพาะด้าน (Tax Problems on Specific Businesses). หมวดที่ 3 หมวดวิชาการวางแผนภาษีอากรและการประยุกต์ จำนวน 2 วิชา 6 หน่วยกิต …
gs.utcc.ac.th/diptaxation/content.php?ct_id=9

คดีเงินกู้พม่า

ประเทศนี้มันแปลกๆ ยังไงไม่รู้น่ะ
นายกที่บริหารประเทศได้จนมีเงินเหลือปล่อยกู้
หรือทำให้เป็นประเทศเจ้าหนี้ได้
กับจะเป็นจะตายกันให้ได้
ไม่อยากให้กู้ หรือหาเรื่องกับนายกที่มีนโยบายให้กู้
แต่เวลามีนายกมาบริหารประเทศกู้เอากู้เอา
พวกที่โวยวายหาเรื่องนายกคนปล่อยกู้
เงียบกริบดีแท้
อันที่จริงไทยไม่ให้กู้
สิงคโปร์ก็ให้กู้แทนก็ได้
หรือประเทศอื่นก็ให้กู้ได้
แถมไทยเองก็เคยมีโครงการที่ให้กู้มากมาย
หลายประเทศแถบนี้ก่อนหน้านี้แล้ว
เพราะมีพรบ.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ที่ทำในสมัยรัฐบาล ชวน หลีกภัย นั่นเอง
ดูเจตนารมณ์ที่ออกกฏหมายนี้ที่ท่อนหมายเหตุดังต่อไปนี้

“หมายเหตุ :
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สมควรแก้ไขเพิ่มเติม วัตถุประสงค์และอำนาจของธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับ สนุนการลงทุนให้ชัดเจนและกว้างขวางขึ้น โดยให้มีอำนาจให้สินเชื่อ ให้บริการทางการเงินในรูปอื่น ค้ำประกันหนี้ และรับประกันความเสี่ยง ตลอดจนให้มีอำนาจเข้าร่วมลงทุน หรือให้สินเชื่อ เพื่อการลงทุนในกิจการใด ๆ ในต่างประเทศ อันเป็นผลดีต่อการนำเข้า และการส่งออก ซึ่งสินค้าและบริการของประเทศไทย หรือมีผลดีต่อผู้ลงทุนไทย ที่ลงทุน
หรือ ประกอบกิจการในต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของนักลงทุน ทั้งแก่ผู้ลงทุนไทยที่ต้องการขยายการลงทุน ในต่างประเทศและแก่ผู้ลงทุนทั้งไทย และ ต่างประเทศที่ต้องการลงทุน หรือประกอบกิจการในประเทศ โดยให้คณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดประเภท และลักษณะการประกอบกิจการของผู้ลงทุนที่สมควรได้รับการสนับสนุนดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ”

โดย มาหาอะไร

———————————————————

“เอ็กซิมแบงก์” แจง ปล่อยกู้พม่าโปร่งใส

จาก กรณีที่กระทรวงการสื่อสารและไปรษณีย์ของประเทศพม่า ทำหนังสือถึงรัฐบาลไทย เพื่อขอกู้เงินดอกเบี้ยต่ำไปลงทุนในโครงการพัฒนาการสื่อสารและโทรคมนาคมของ พม่านั้น ใน 3 โครงการ คือ
1.โครงการพัฒนาการสื่อสารผ่านดาวเทียมระบบบรอดแบนด์(Myanmar Telecommunication Development Plan via Broadband Satellite)
2.โครงการ ถ่ายทอดสัญญาณผ่านเคเบิลใยแก้ว ระยะทาง 1,500 กิโลเมตร(Myanmar Nationwide Transmission Project : 1,500 Km Optical Fiber) และ
3.โครงการ พัฒนาเทคโนโลยีข่าวสารและการสื่อสาร หรือ MICT Project(Myanmar Information and Communication Technology Development Project)
โดยเป็นการขอความร่วมมือในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล(จีทูจี)
ต่อ มารัฐบาลไทยได้อนุมัติให้รัฐบาลพม่ากู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำ เข้า(เอ็กซิมแบงก์) วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยวงเงินกู้ดังกล่าว ส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้ลงทุนใน 3 โครงการข้างต้นซึ่งสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า ได้ระบุให้บริษัทสื่อสารขนาดใหญ่รายหนึ่งจากประเทศไทยเป็นผู้ได้สิทธิ ซัพพลายเออร์ (ผู้ให้คำปรึกษา และจัดหาอุปกรณ์ป้อน) ทั้ง 3 โครงการ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) ได้เปิดแถลงข่าว
โดย นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการ ธสน. เป็นผู้แถลงร่วมกับ นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการ นายสถาพรกล่าวว่า จากการที่ น.ส.พ.มติชน ฉบับวันที่ 23 สิงหาคม 2547 ได้เสนอข่าวโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ที่รัฐบาลพม่าขอกู้จากรัฐบาลไทย มีส่วนโยงใยกับผลประโยชน์ของบริษัทสื่อสารยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยนั้น ธสน.ขอ ชี้แจงว่าเอกสารดังกล่าวไม่ได้เป็นเอกสารที่นำเสนอต่อรัฐบาลไทยหรือใช้กู้ใน โครงการเงินกู้ระยะยาวจำนวน 4,000 ล้านบาท ระยะเวลา 12 ปี ที่เอ็กซิมแบงก์ได้รับมอบหมาย
ให้ ดำเนินการแต่อย่างใด และอาจจะทำให้มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้เอกสารเหล่านั้นพวกเราไม่มีใคร เคยเห็น และไม่ใช่เอกสารที่ใช้ในสัญญาต่างๆ ที่เอ็กซิมแบงก์ลงนามกับรัฐบาลพม่าแต่ อย่างใด และยืนยันได้ว่าเอกสารสัญญาเงินกู้ระหว่าง เอ็กซิมแบงก์ และ Myanma Trade Bank(MFTB) ที่มีการลงนามไปเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ไม่ได้มีการระบุชื่อเอกชนรายใด เพราะการคัดเลือกเป็นหน้าที่ของรัฐบาลพม่าเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนเอ็กซิมแบงก์มีหน้าที่เพียงตรวจดูว่าเงินกู้ดังกล่าวถูกนำไปใช้ถูก วัตุประสงค์และตรงตามเงื่อนไขหรือไม่เท่านั้น โดย โครงการเงินกู้ดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเริ่มมีการเจรจากันมาตั้งแต่ปฏิญญาพุกาม และเอ็กซิมแบงก์ก็ได้รับมอบหมาย จากกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงการคลังให้ดำเนินการ ซึ่งผมและประธานคณะกรรมการ ธสน.ได้เริ่มเดินทางไปเจรจาที่พม่าตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดย ดำเนินการตามระเบียบขั้นตอนทุกอย่าง มีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และขออนุมัติจากระทรวงการคลังที่กำกับดูแลในทุกขั้นตอน จนเชื่อมั่นได้ว่ามีความโปร่งใสที่สุดแล้ว
เรา ยืนยันว่ามีการให้กู้กับพม่าจริง โดยมอบหมายให้ MFTB เป็นผู้กู้ และกระทรวงการคลังของสหภาพพม่าเป็นผู้ค้ำประกัน วงเงิน 4,000 ล้านบาท ระยะเวลา 12 ปี อัตราดอกเบี้ย 3% มี ระยะปลอดเงินต้น 5 ปีแรก โดยเงินกู้ดังกล่าวรัฐบาลพม่าจะนำไปใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ ซึ่งมีเงื่อนไขว่าจะต้องจ้างบริษัทไทยเป็นผู้ดำเนินการ แต่จะเลือกบริษัทใดนั้น เป็น กระบวนการของประเทศพม่าที่จะผู้ตัดสิน ซึ่งก็ต้องให้เกียรติกับประเทศผู้กู้ และเคารพกติกาในการคัดเลือกของประเทศนั้นๆ ซึ่งรัฐบาลพม่าได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดสรรวงเงินกู้และ อนุมัติการจัดซื้อแก่กระทรวงและหน่วยงานต่างๆ (Procurement Committee of the Prime Minister’s Office) ขึ้นมาเพื่อพิจารณาว่าเอกชนรายใดจะเป็นผู้รับงานใน
โครงการ ต่างๆ และหลังจากนั้นก็จะส่งเอกสารมาให้ ธสน.เพื่ออนุมัติเงินกู้ ซึ่งหากเราดูว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเงื่อนไขก็อนุมัติเงินกู้ไปสำหรับ โครงการเงินกู้วงเงิน 4,000 ล้านบาท ได้มีการลงนามไปเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ปัจจุบันได้เบิกเงินกู้ไปแล้ว 13 โครงการ คิดเป็นเงิน 2,100 ล้านบาท ประกอบไปด้วยการกู้เงินเพื่อซื้อยางมะตอย 19% เครื่องจักร 41% โทรคมนาคม 15% และที่เหลือเป็นการกู้เพื่อปรับปรุงโรงงานและรัฐวิสาหกิจอื่นๆ
ส่วน เงินกู้ในส่วนที่ตกเป็นข่าวนั้น เป็นเงินกู้สำหรับการพัฒนาระบบโทรคมนาคมในโครงการ Broadband Satellite System มูลค่า 15 ล้านเหรียญ หรือ 600 ล้านบาท รัฐบาล พม่าได้คัดเลือกคู่สัญญา ซึ่งก็คือ บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด(มหาชน) และได้มีการลงนามในสัญญาลงวันที่ 30 ก.ค.47 หลังจากนั้นได้ส่งสัญญามาให้ ธสน.วันที่ 5 สิงหาคม 2547 และ ธสน.ได้อนุมัติเงินกู้ไป เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่ผ่านมา แม้ว่าการกู้เงิน 4,000 ล้านบาท จะเป็นเป็นเรื่องที่ดำเนินการตามนโยบายสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ เพื่อนบ้าน
แต่ในรายละเอียด การจัดซื้อเป็นขั้นตอนของรัฐบาลพม่าเป็นฝ่ายตัดสินใจว่าจะซื้อจากผู้ใด เราได้ตรวจดูเงื่อนไขแล้วว่า เป็นบริษัทไทยตามเงื่อนไขและเป็นสัญญาที่มาตรฐาน สมเหตุสมผล และ มีความเป็นมืออาชีพ ตรงตามวัตถุประสงค์ จึงให้ความเห็นชอบและอนุมัติเงินกู้ ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวเป็นไปตามภารกิจของเอ็กซิมแบงก์ในการสนับสนุนให้ผู้ ส่งออกและนักลงทุนไทยไปรับงานใน ต่างประเทศอยู่แล้ว ผู้สื่อข่าวถามว่าขั้นตอนการประมูลงานของพม่าเอื้อให้กับบริษัทที่มีเส้นสาย กับรัฐบาล และนำไปสู่เรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และเอ็กซิมแบงก์ใช้ มาตรฐานอะไรในการอนุมัติเงินกู้ดังกล่าว เพื่อให้มีความโปร่งใส นายสถาพรกล่าวว่า “คุณมีสิทธิสงสัยได้ แต่ผมบอกได้ว่าเท่าที่เราได้ตรวจสอบเอกสารสัญญาตามมาตรฐานของการเป็น พนักงานธนาคาร ผมคิดว่าโครงการนี้มีมาตรฐานและสมเหตุสมผลมากที่สุดแล้ว และตรงตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งมีความสามารถในการใช้คืนได้ในอนาคต แต่ขั้นตอนการประมูลของรัฐบาล พม่าจะเป็นอย่างไรเราต้องเคารพเขา เพราะเขาเป็นผู้ใช้เงิน และชำระเงินกู้ ซึ่งโครงการให้ความช่วยเหลือประเทศอื่นๆ ก็มีเงื่อนไขเดียวกัน”

นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา
ประธานคณะกรรมการ เอ็กซิมแบงก์
“คง ไม่สามารถเปิดเผยสัญญากู้ระหว่างเอ็กซิมแบงก์กับ MFTB เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมาให้สาธารณชนทราบได้ เพราะเป็นสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมาก และ แม้แต่ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารก็ไม่ครอบคลุมถึง แต่ผมสามารถที่จะยืนยันได้ว่าสัญญาดังกล่าวไม่ได้ระบุเรื่องของบริษัทเอกชน รายใดเข้าไปในสัญญา และแม้กระทั่งเอกสารแนบท้ายสัญญา ก็จะมีเพียงรายการสินค้าที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์เงินกู้เท่านั้น การพิจารณาอนุมัติเงินกู้ก็จะดูว่าสินค้าตรงตามเอกสารแนบหรือไม่ ส่วนบริษัทเอกชนรายใดจะได้รับงาน
ใน ส่วนใดนั้น คณะกรรมการเพื่อจัดสรรวงเงินกู้และอนุมัติการจัดซื้อแก่กระทรวงและหน่วยงาน ต่างๆ (Procurement Committee of the Prime Minister’s Office) ของ ประเทศพม่า ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของพม่าเป็นประธาน และรัฐมนตรีอื่นๆ เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าการธนาคารชาติของพม่าเป็น กรรมการด้วย จะเป็นผู้กำหนดวิธีการประมูลและคัดเลือก และส่งรายชื่อผู้ชนะกับสัญญามาให้ ธสน.ตรวจดูเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาทุกอย่างก็เป็นไปตามระเบียบ”
ส่วน เอกสารแนบท้ายสัญญาที่ระบุรายการสินค้าต่างๆ ที่จะจัดซื้อจัดจ้างตามโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลพม่านั้น รายการประกอบด้วย รถแทรกเตอร์ รถบรรทุก รวม ถึงบรอดแบนด์ แซทเทลไลท์ ซิสเต็ม แต่ไม่มีการระบุว่าจะต้องซื้อจากบริษัทใด ซึ่งในทางปฏิบัติฝ่ายบริหารของ ธสน.จะพิจารณาเฉพาะสัญญาเงินกู้ในวงเงินรวม 4,000 ล้านบาท หลังจากนั้นเมื่อ ผู้กู้คือรัฐบาลพม่า จะเบิกเงินกู้ในแต่ละรายการ ก็จะส่งสัญญาซื้อขาย พร้อมทั้งรายการสินค้ามาให้ ธสน. ซึ่งคณะกรรมการบริหาร ธสน.จะอนุมัติให้กรรมการผู้จัดการ ธสน.อนุมัติ เงินกู้ดังกล่าวได้เลย หากว่าหากการเบิกเงินกู้ตรงตามกรอบสัญญาและเงื่อนไขในเอกสารแนบ แต่ถ้ามีสิ่งอื่นสิ่งใดที่นอกเหนือ เราก็จะไม่อนุมัติวงเงินกู้ ซึ่งที่ผ่านมาทุกอย่างเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติทั้งหมด
“ผม และกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นคนเดินทางไปเจรจากับรัฐบาลพม่าหลายต่อหลายครั้ง ยืนยันได้ว่าเงินกู้ในสัญญานี้ทำโดยโปร่งใส และการที่รัฐบาลพม่าตั้งคณะกรรมการร่วมใน ระดับรัฐบาลขึ้นมาพิจารณา เมื่อคณะกรรมการชุดนี้ตัดสินให้ใครได้รับงานก็เป็นเรื่องของรัฐบาลพม่าที่ เราต้องเคารพ เพราะเราเชื่อว่ากระบวนการที่เขาวางไว้ได้ให้โอกาสแก่เอกชนเท่าเทียมกันแล้ว”

———————————————————

ธสน. ชี้แจงโครงการเงินกู้พม่า 4,000 ล้านบาท

จาก การที่หนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่ 23 สิงหาคม 2547 ได้เสนอข่าวว่า โครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่รัฐบาลพม่าขอกู้จากรัฐบาลไทยมีส่วนโยงใยกับผล ประโยชน์ของบริษัทสื่อสารยักษ์ ใหญ่ของประเทศไทยนั้น นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ขอชี้แจงว่า
เอกสารที่ หนังสือพิมพ์มติชนนำมาอ้างอิงนั้นมิได้เป็นเอกสารที่นำเสนอต่อรัฐบาลไทยหรือ ใช้ในการขอกู้ในโครงการเงินกู้ระยะยาวจำนวน 4,000 ล้านบาท ระยะ เวลา 12 ปีที่ ธสน. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการให้กู้แก่สหภาพพม่า การนำเสนอเอกสารดังกล่าวจึงอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านได้กรรมการ ผู้จัดการ ธสน. ชี้แจงต่อไปว่า โครงการเงินกู้ดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศเพื่อนบ้าน โดย ธสน. ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการให้กู้ และสหภาพพม่าได้มอบหมายให้ Myanma Foreign Trade Bank (MFTB) เป็นผู้กู้ โดยมีกระทรวงการคลังของ สหภาพพม่าค้ำประกัน รัฐบาลพม่าจะนำเงินกู้ดังกล่าวไปจัดสรรให้หน่วยงานต่างๆ ใช้ซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง และบริการที่เกี่ยวข้องจากประเทศไทย เพื่อ นำไปพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและพัฒนาเศรษฐกิจของสหภาพพม่า ทั้งนี้ รัฐบาลพม่าได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดสรรวงเงินกู้และอนุมัติการจัดซื้อ แก่กระทรวงและหน่วยงานต่างๆ (Procurement Committee of the Prime Minister’s Office) โดยจัดสรรวงเงินจำนวน 600 ล้านบาท หรือ 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับ การพัฒนาระบบโทรคมนาคมในโครงการ Broadband Satellite System มิได้มีมูลค่า 30.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐดังที่ระบุในหนังสือพิมพ์มติชน และ ขณะที่ ธสน. ทำสัญญาเงินกู้กับ MFTB เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ฝ่ายพม่ายังไม่ได้มีการตกลงว่าจะจัดซื้อจากผู้ใด รัฐบาลพม่าเป็นผู้พิจารณาจัดซื้อจัดจ้างโครงการนี้ตามขั้นตอนของรัฐบาลพม่าเองในภายหลัง นาย สถาพร กล่าวว่า แม้การให้กู้ยืมเงิน 4,000 ล้านบาทจะเป็นเรื่องที่ดำเนินการตามนโยบายสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ เพื่อนบ้าน แต่รายละเอียดการจัดซื้อเป็น ขั้นตอนที่รัฐบาลพม่าเป็นฝ่ายตัดสินใจว่าจะซื้อจากผู้ใด โดย ธสน. จะตรวจสอบเอกสารและให้ความเห็นชอบเพื่อให้การจัดซื้อนั้นเป็นไปตามวัตถุ ประสงค์ของเงินกู้และขั้นตอนที่กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาเงินกู้ ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวเป็นขั้นตอนในการสนับสนุนผู้ส่งออกไทยตามปกติอยู่แล้ว

24 สิงหาคม 2547
ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร

———————————————————

ธสน. ชี้แจงผลกระทบความเปลี่ยนแปลงการเมืองในสหภาพพม่า

นาย สถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ชี้แจงถึงผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหภาพพม่าต่อ โครงการเงินกู้ของ ธสน. ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในสหภาพพม่า ที่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการของลูกค้า หรือ เงินกู้เพื่อ การพัฒนาเศรษฐกิจแก่สหภาพพม่าที่ ธสน. ให้กู้ผ่านธนาคารเพื่อการค้าของสหภาพพม่า ทั้งนี้ ธสน. ยังเฝ้าติดตามสถานการณ์ในพม่าต่อไปว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลสหภาพพม่าอย่างไรหรือไม่

กรรมการ ผู้จัดการ ธสน. กล่าวว่า ปัจจุบัน ธสน. มีสินเชื่อที่ให้กู้แก่เอกชนและรัฐบาลสหภาพพม่าจำนวน 6,157 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการรัฐบาล 3,339 ล้านบาท โครงการ รัฐวิสาหกิจ 1,898 ล้านบาท และโครงการเอกชน 920 ล้านบาท ยอดสินเชื่อจากโครงการเงินกู้ 4,000 ล้านบาทที่ ธสน. ให้กู้แก่ Myanma Foreign Trade Bank (MFTB) โดยมีกระทรวงการคลังของสหภาพพม่าเป็นผู้ค้ำประกัน เพื่อใช้ซื้อสินค้าทุนและบริการที่เกี่ยวข้องจากไทย ซึ่ง ธสน. ได้ให้ความเห็นชอบการจัดซื้อตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวไปแล้วเป็นเงิน 2,377 ล้านบาท ล่าสุดมีการเบิกจ่ายไปแล้ว 339 ล้านบาท

นาย สถาพรกล่าวว่า ไทยและสหภาพพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันทั้งใน ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น จึงเชื่อได้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองที่ เกิดขึ้นไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ และเชื่อว่านโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจของสหภาพพม่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนกระทบกระเทือนต่อเงินกู้ต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้ว

20 ตุลาคม 2547
ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร

———————————————————

“แม้ว”แจงปล่อยกู้พม่า ยอมรับ”เลียนแบบ”ญี่ปุ่น

“แม้ว”ลั่น ไม่เคยใช้เวทีผู้นำเจรจาธุรกิจ อ้างไม่อยากทำให้ชาติ-ตัวเองเสียศักดิ์ศรี เผยไม่เคยเข้าไปยุ่งกับชินคอร์ปตั้งแต่เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ยอมรับใช้วิธีการเลียนแบบญี่ปุ่น มั่นใจทุกคนต้องถึงฝั่งเหมือนกันหมด ฝ่ายค้านวืดไม่ได้ซักเอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้พม่า “บัญญัติ”ระบุจุดอ่อนรัฐบาล

พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในรายการ “ถึงลูกถึงคน” ซึ่งออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี เมื่อเมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 25 สิงหาคม ถึงข้อวิจารณ์เรื่องการ คอร์รัปชั่นข้ามประเทศ ภายหลังกระทรวงการสื่อสารและไปรษณีย์ของประเทศพม่า ขอกู้เงินไปลงทุนในโครงการสื่อสารและโทรคมนาคมรวม 3 โครงการเป็น เงิน 962 ล้านบาท โดยกำหนดให้บริษัทชินแซทเทลไลท์ จากประเทศไทยได้รับสิทธิเป็นซัพพลายเออร์ว่า เรื่องพม่าเป็นเรื่องเงินกู้ เวลานี้ธนาคารเพื่อการส่งออกและ นำเข้าแห่งประเทศไทย(เอ็กซิมแบงก์) ให้พม่ากู้เงิน เป็นเรื่องที่พม่ากับเอ็กซิมแบงก์ตกลงกัน แต่รัฐบาลกำลังเลียนแบบญี่ปุ่นเมื่อหลายปีที่แล้ว ญี่ปุ่นทำซัพพลายเออร์เครดิต เวลา ญี่ปุ่นจะมาขายของให้ไทยตั้งวงเงินสินเชื่อให้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องซื้อของจากญี่ปุ่น เวลานี้ไทยต้องบุกตลาด แต่นอกเหนือจากการบุกตลาด ยังได้ช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่กำลังแย่ ซึ่ง การไปช่วยพม่าทำให้พม่าตอบแทนไทยด้วยการให้ก๊าซมา 2 แห่งใหญ่ๆ เพราะพอใจในความสัมพันธ์ที่มี พอบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไปขอสัมปทานก๊าซได้มาเลยเพราะเห็นว่าไทยเป็นประเทศที่มีน้ำใจ
ผู้ดำเนินรายการถามว่า ถ้าจะมองในแง่ลบ นายกฯอาจจะแอบไปตกลงใต้โต๊ะกับทางพม่า เพื่อให้ว่า้างบริษัทนี้

พ.ต.ท. ทักษิณกล่าวว่า “ไม่มี ไปดูบันทึกได้เลย ผมไม่เคยพูดเรื่องธุรกิจแม้แต่คำเดียว ไปดูได้เลยไปประเทศไหนไม่เคยพูด เพราะไม่มีความจำเป็น วันนี้จะกินมากก็ไม่ได้ กลัวเดี๋ยวอ้วน นี่คือความเป็นจริง มนุษย์กินอะไรใช้เท่าไหร่ โลกมันไปถึงไหนแล้ว” เมื่อถามว่า ยืนยันหรือไม่ว่าไม่เคยใช้บทบาทผู้นำของประเทศเพื่อธุรกิจ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า “มันเสียศักดิ์ศรีของตัวเองและประเทศ เรื่องอะไรจะไปทำให้เสียศักดิ์ศรีของตัวเองและประเทศ” ผู้ดำเนินรายการถามว่า นายกฯโกรธหรือไม่เวลาถูกกล่าวหาว่ามีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
พ.ต.ท. ทักษิณกล่าวว่า ตนเป็นคนที่มีธุรกิจมาก่อนจะมาเล่นการเมือง บางคนไม่มีอะไรเลยแล้วมาเข้าการเมือง มันไม่เหมือนกัน พอเข้าการเมืองก็เหมือนกับคนที่อยู่ในเรือและ ตนเป็นคนพายเรือ เมื่อเรือถึงฝั่งคนทุกคนต้องถึงฝั่งเหมือนกันหมด ไม่ใช่ว่าเลือกเอานักธุรกิจไปถึงฝั่งก่อน อีกคนไม่ถึงคงไม่ใช่ เมื่อพัฒนาเศรษฐกิจดีขึ้น ธุรกิจทุกอย่างก็จะได้ดีขึ้นเมื่อถามว่า วันนี้นายกฯทิ้งธุรกิจอย่างแท้จริงหรือยัง

พ.ต.ท. ทักษิณกล่าวว่า ไม่เคยไปยุ่งเลยเพราะเป็นบริษัทมหาชนไปแล้ว ได้เข้าสู่การเมืองมานานมากตั้งแต่ปี 2535 จึงบริหารธุรกิจในลักษณะพร้อมจะวางมือ โดย เลือกมืออาชีพเข้ามาทำ เมื่อสิบปีก่อนก็ซื้อระบบคอมพิวเตอร์เฉพาะซอฟต์แวร์มากว่า 150 ล้านบาท เพื่อจะคุมระบบและให้มีระบบตรวจสอบถ่วงดุล สามารถทิ้งบริษัทได้ไม่ต้องไปเกี่ยวข้อง ตอนหลังพอมาเข้าการเมืองโอนให้ลูกหมด ไม่ได้เข้าไปยุ่งเป็นเรื่องของลูกแล้ว “ความ จริงผมไม่ได้บริหารธุรกิจมาตั้งแต่เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศแล้ว ทิ้งหมดแล้ว แต่พอถูกโจมตีบางทีเราตั้งใจมาก และคนมาพูดมาอย่างนี้เรารำคาญ ธรรมดา ของมนุษย์ ผมยอมรับว่าบางทีเหนื่อยๆ บางทีงานเยอะ หลายเรื่อง มันก็มีอารมณ์บ้าง ผมเป็นมนุษย์ วันนี้ยังไงก็เป็นมนุษย์” นายกฯกล่าว
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะไปจ้างบริษัทอื่นมาบริหารแทนครอบครัวนายกฯ ไปเลย พ.ต.ท. ทักษิณหัวเราะก่อนกล่าวว่า “ช่วยหาคนมาซื้อหน่อยสิ พอลูกผมมีตังค์เยอะแล้ว ผมจะได้สบายใจ แต่วันนี้ผมไม่สนใจหรอก เพราะผมไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่ ต้องไปห่วง ผมทำงานของผมให้ประชาชนให้ประเทศ ผมมีความสุขแล้ว เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องเล็ก แต่วันนี้ผมไม่สนใจ เพราะผมไม่มีความจำเป็นอะไรต้องไปห่วง”
วัน เดียวกันที่ รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเดิมมีกำหนดระเบียบวาระการประชุมไว้ว่าจะมีเรื่องรับทราบรายงานกิจการ ประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาด ทุน เอ็กซิมแบงก์ และฝ่ายค้านโดยนายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่น ของ รัฐบาลในคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) และนายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมหยิบยกกรณีที่รัฐบาลพม่าขอ กู้เงินดอกเบี้ยต่ำไปลงทุนในโครงการสื่อสาร และโทรคมนาคมของพม่า ในวงเงิน 962 ล้านบาท ซึ่งมีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของไทยได้สิทธิในการเข้าดำเนินการเพียงรายเดียว แต่ปรากฏว่าที่ประชุมไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้

ทั้ง นี้ เนื่องจากที่ประชุมใช้เวลาก่อนการประชุมเพื่อรอให้ครบองค์ประชุมด้วยการ หารือเกี่ยวกับการที่ ส.ส.ไม่ค่อยเข้าประชุมและเรื่องหารือของ ส.ส.กว่า 1 ชั่วโมง ทำให้กว่าจะเริ่ม พิจารณาวาระแรก คือ รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2545 ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้ ในเวลา 10.30 น.
โดย ใช้เวลาพิจารณาจนถึงเวลา 13.30 น. ซึ่งถึงเวลาการประชุมสภาผู้แทนฯ ภาคบ่าย ที่มีระเบียบวาระเรื่องกระทู้ถามสดรออยู่แล้ว ทำให้ต้องยกวาระภาคเช้าที่เหลือไปสัปดาห์ต่อไป
นาย สุวโรช พะลัง เลขานุการวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ตามหลักแล้วเมื่อหมดเวลาในช่วงเช้าก็ต้องยกไปในวันที่ 2 กันยายน แต่เนื่องจากในวันที่ 1-2 กันยายน สภาผู้แทนฯ จะ ต้องพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปีงบประมาณ 2548 จึงทำให้ต้องยกเรื่องนี้ไปวันที่ 9 กันยายน ซึ่งอาจจะช้าไปแล้ว แต่ฝ่ายค้านก็คงทำอะไรไม่ได้
เพราะรัฐบาลมีเสียงมากกว่าและมีกลยุทธ์มากกว่า
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ในรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของ ธสน.ที่จะรายงานต่อสภาผู้แทนฯนั้นระบุไว้ว่า ธนส.สนับสนุนทางการเงินโดยตรงแก่ ผู้ส่งออกและนักธุรกิจไทยใน 2 ลักษณะ คือ(1) บริการทางการเงินให้แก่ผู้ส่งออกและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก และกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้
เป็น เงินตราต่างประเทศ และ (2) บริการทางการเงินที่ ธนส.ให้แก่นักธุรกิจที่ไปลงทุนหรือให้บริการในต่างประเทศ ทั้งนี้ ในปี 2546 ธนส.อนุมัติวงเงินสินเชื่อและ การค้ำประกันใหม่ได้รวม 20,958 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43.4% เมื่อเทียบกับปี 2545 ทำให้ ธนส.มียอดคงค้างสินเชื่อ ณ สิ้นปี 2546 จำนวน 42,339 ล้านบาทเพิ่ม ขึ้น 4% แบ่งเป็นภายในประเทศ 31,733 ล้านบาท ต่างประเทศ 10,606 ล้านบาท และมียอดภาระผูกพันการค้ำประกัน จำนวน 4,377 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.9% แบ่งเป็นในประเทศ 1,019 ล้านบาท ต่างประเทศ 2,339 ล้านบาท
วัน เดียวกัน ที่โรงแรมรัชดาซิตี้ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวปิดการสัมมนาตัวแทนสาขาพรรคจากภาคกลาง เหนือและอีสานกว่า 400 คน ใน โครงการ “แกนนำประชาธิปัตย์พบประชาชน” ว่า จุดอ่อนของรัฐบาลนี้มีอยู่มาก โดยจุดอ่อนมากที่สุด คือ 1.ผลประโยชน์ทับซ้อน 2. ดับเบิ้ลสแตนดาร์ด 3.ใช้อำนาจนิยม และ 4.ทำสังคมให้อ่อนแอ ซึ่งตลอด 3 ปี รัฐบาลนี้เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ใหญ่ที่สุดในบ้านเมือง “ล่า สุดเรื่องพม่ากู้ยืมเงิน 4,000 กว่าล้านบาท จากธนาคารเพื่อการส่งเสริมการส่งออกและนำเข้า และที่น่าเกลียดคือ มีโครงการหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้งบประมาณ ถึง 900 กว่าล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคมครบวงจรในพม่า เป็นโครงการที่ว่าจ้างบริษัทชินแซทเทิลไลท์ เป็นบริษัทในเครือชินวัตรไปดำเนินการ เรื่อง นี้ผมเคยพูดกับแล้วว่า รัฐบาลนี้มองคนเป็นตัวผ่านของเงินอัดฉีดเงินลงไปยังคนที่ได้ชื่อว่าผู้ บริโภค และใช้ธุรกิจของตนเองดูดเงินกลับมาสร้างความร่ำรวยให้ตัวเอง วันนี้ ชัดเจนอีกแล้ว อัดฉีดเงินเข้าไปยังพม่าและดูดกลับเข้ามาในประเทศไทยให้กลับเครือญาติ ตนคิดว่าเป็นความผิดพลาดหรือบกพร่องไม่ว่าจะสุจริตหรือไม่ รัฐบาลนี้ไม่มีทางแก้ตก เพราะมีความชัดเจน”
นาย บัญญัติกล่าวว่า เรื่องการทำให้สังคมอ่อนแอต้องยอมรับค่านิยมดีๆที่เคยมีมาแต่โบราณ เช่นการประหยัดมัธยัสถ์ รัฐบาลนี้ได้ทำลายหมดสิ้นใน 3 ปี เพราะเชื่อว่า ถ้า สนับสนุนให้คนในประเทศใช้เงินมากเศรษฐกิจจะกระเตื้องขึ้น โดยใช้การกู้เงินมาเพื่อให้จีดีพีสูงขึ้น และที่น่าห่วงเป็นพิเศษคือ รัฐบาลกำลังทำสิ่งที่ผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมาย วันนี้ พ่อ-แม่เริ่มสอนลูกลำบาก รวมทั้งครูอาจารย์ที่สอนลูกศิษย์ลำบาก เพราะมีแต่คนพูดเรื่องหวย ซึ่งตนเชื่อว่าหลังจากรัฐบาลผลักดันหวยขึ้นมาบนดิน กาสิโนเสร็จแล้ว จะ มีซ่องที่ชอบด้วยกฎหมายเกิดขึ้น เพราะรัฐบาลเชื่อว่าต้องมีเงินให้ระบบหมุน ขณะนี้ตนเชื่อว่าคนรู้ทันนายกฯมากขึ้น ดังนั้น ถ้าสาขาพรรคทุกคนสามารถทำให้ประชาชน ในพื้นที่รู้ทันนายกฯมากขึ้น ก็จะเป็นพลังสำคัญในการต่อสู้เลือกตั้งครั้งหน้า

มติชน 28 สิงหาคม 47

———————————————————

โครงการที่ไทยให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศเพื่อนบ้าน

1. โครงการก่อสร้างเส้นทางเชียงราย-กุนหมิง ผ่าน สสป.ลาว ( R3) 1,385 ล้านบาท
2. โครงการปรับปรุงและลาดยางผิวจราจรตราด-เกาะกง-สะแรอัมเปิล(R48) ประเทศกัมภูพูชา 567.8 ล้านบาท
3. โครงการปรับปรุงถนนสายห้วยโก๋น/เมืองเงิน-ปากแบ่ง 840 ล้านบาท
4. โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดหนองคาย-ท่านาแล้ว สปป.ลาว 197 ล้านบาท
5. โครงการปรับปรุงสนามบินระหว่างประเทศวัดไต สปป.ลาว 320 ล้านบาท
6. โครงการก่อสร้างร่องระบายน้ำและปรับปรุงถนน T2 ในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว 160 ล้านบาท
7. โครงการก่อสร้างเส้นทางสายเมียวดี-กอกะเร็ก-ผาอัน 1,900 ล้านบาท
8. โครงการปรับปรุงสนามบินปากเซ สปป.ลาว 320 ล้านบาท

———————————————————

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 123 ก วันที่ 4 ธันวาคม พุทธศักราช 2542
พระราชบัญญัติ
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เป็นปีที่ 54 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วย ธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ เพิ่มบทนิยามคำว่า “ผู้ลงทุน” และ “ธนาคารของผู้ลงทุน” ระหว่างบทนิยาม คำว่า “ธนาคารของผู้ซื้อ” และคำว่า “เงินกองทุน” ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2536

“ผู้ลงทุน” หมายความว่า
(1) ผู้ประกอบกิจการในประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ซึ่งสินค้าหรือบริการจากประเทศไทย กิจการที่ได้มาหรือสนับสนุนการได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ หรือกิจการที่ลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ
(2) ผู้ประกอบกิจการในต่างประเทศ ซึ่งมีผู้ลงทุนหรือร่วมลงทุนดังต่อไปนี้
(ก) เป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือ
(ข) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยซึ่งมีทุนเกินกึ่งหนึ่งของนิติบุคคล นั้นถือโดยบุคคลตาม (ก) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (ก) ลงทุนมีมูลค่าเกินกึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น และเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมาย หรือข้อบังคับ หรือตามข้อตกลง ในการแต่งตั้งกรรมการ ส่วนใหญ่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด หรือในการออกคะแนนเสียงข้างมาก เพื่อกำหนดนโยบาย การดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
“ธนาคารของผู้ลงทุน” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน หรือองค์กรอื่นใดที่ให้สินเชื่อ ค้ำประกัน หรือให้บริการทางการเงินอื่นที่เกี่ยวกับการลงทุนแก่ผู้ลงทุน”

มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2536 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 7 ให้ธนาคารมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจอันเป็นการส่งเสริม และสนับสนุนการส่งออก การนำเข้า และการลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทั้ง นี้เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยการให้สินเชื่อ ค้ำประกัน รับประกันความเสี่ยง หรือให้บริการที่จำเป็นอื่นตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้”

มาตรา 5 ให้ยกเลิกความใน (2) ของมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2536 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ให้สินเชื่อแก่ธนาคารของผู้ส่งออก ผู้ส่งออก ธนาคารของผู้ซื้อ ผู้ซื้อ ธนาคารของผู้ลงทุน หรือผู้ลงทุน”

มาตรา 6 ให้ ยกเลิกความใน (4) และ (5) ของมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2536 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“(4) ให้สินเชื่อหรือบริการทางการเงินในรูปอื่นที่เป็นประเพณีปฏิบัติของธนาคาร พาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นในด้านธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และด้านการลงทุน (5) ค้ำประกันหนี้ ในกรณีที่ผู้ส่งออก ผู้ซื้อ หรือผู้ลงทุนได้รับสินเชื่อจากธนาคารของผู้ส่งออก ธนาคารของผู้ซื้อ หรือธนาคารของผู้ลงทุน แล้วแต่กรณี”

มาตรา 7 ให้ ยกเลิกความใน (7) และ (8) ของมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2536 และให้ใชความต่อไปนี้แทน
“(7) รับประกันความเสี่ยงในการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนตามมาตรา 3 (2) เฉพาะกิจการที่ธนาคารให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อ แต่ถ้าเป็นการรับประกันความเสี่ยง ทางการเมืองต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
(8) เข้าร่วมลงทุนหรือให้สินเชื่อเพื่อการลงทุนในกิจการในต่างประเทศที่จะมีผล เป็นการสนับสนุนการนำเข้าหรือส่งออกซึ่งสินค้าและบริการของประเทศไทย หรือ จะมีผลเป็นการส่งเสริมการประกอบกิจการในต่างประเทศของผู้ลงทุน และเข้าร่วมลงทุน ในกิจการในประเทศเพื่อสนับสนุนการส่งออกหรือการพัฒนาระเทศ”

มาตรา 8 ให้ยกเลิกความใน (5) ของมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2536 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) กำหนดคุณสมบัติ ประเภทสินค้า บริการ และลักษณะการประกอบการ ของผู้ส่งออก ผู้ซื้อ และผู้ลงทุนที่สมควรได้รับการสนับสนุน”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สมควรแก้ไขเพิ่มเติม วัตถุประสงค์และอำนาจของธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับ สนุนการลงทุนให้ชัดเจนและกว้างขวางขึ้น โดยให้มีอำนาจให้สินเชื่อ ให้บริการทางการเงินในรูปอื่น ค้ำประกันหนี้ และรับประกันความเสี่ยง ตลอดจนให้มีอำนาจเข้าร่วมลงทุน หรือให้สินเชื่อ เพื่อการลงทุนในกิจการใด ๆ ในต่างประเทศ อันเป็นผลดีต่อการนำเข้า และการส่งออก ซึ่งสินค้าและบริการของประเทศไทย หรือมีผลดีต่อผู้ลงทุนไทย ที่ลงทุน
หรือ ประกอบกิจการในต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของนักลงทุน ทั้งแก่ผู้ลงทุนไทยที่ต้องการขยายการลงทุน ในต่างประเทศและแก่ผู้ลงทุนทั้งไทย และ ต่างประเทศที่ต้องการลงทุน หรือประกอบกิจการในประเทศ โดยให้คณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดประเภท และลักษณะการประกอบกิจการของผู้ลงทุนที่สมควรได้รับการสนับสนุนดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

——————————————————–

คุณสนธิ ลิ้มทองกุล เคยให้ความเห็นเรื่อง”เงินกู้พม่า” ไว้ดังนี้ครับ..

สนธิ : ถูกต้องครับคุณสโรชา คือ สิ่งซึ่งนายกฯ ทักษิณทำนี้ก็เหมือนที่ผมเคยคิดเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าท่านมาลอกเลียนแบบผมนะครับ ท่าน ก็คงจะมีวิสัยทัศน์ของท่านอยู่แล้ว ประเด็นก็คือว่าเราอยู่ในหมู่บ้านๆ หนึ่ง แล้วรอบๆ บ้านเราเป็นสลัม มีเราคนเดียวที่มีความเป็นอยู่ กินดีอยู่ดี มีสิ่งอำนวยความสะดวกทุกอย่าง ถามว่าเราอยู่ไปแล้วจะมีความสุขหรือเปล่า ถ้าหากเรายังคงเป็นอย่างนี้แล้วปล่อยเขาเป็นอย่างนี้ เราก็จะเจอปัญหายาเสพติด ปัญหา ผู้ลี้ภัย ปัญหาโจรผู้ร้ายข้ามแดน ปัญหาผู้อพยพเยอะแยะไปหมด คำตอบก็คือว่าเรามีหน้าที่จะต้องเอื้ออาทร เผื่อแผ่ เมตตากรุณาต่อเพื่อนบ้านของเรา และ เราต้องเมตตากรุณาอย่างจริงจังนะครับ เพราะสิ่งซึ่งท่านนายกฯ ทักษิณได้ไปและมีข้อตกลงพุกามเอาไว้หลายข้อ คือผมจะไม่ลงไปในรายละเอียด แต่ โดยหลักๆ แล้ว เมื่อแปลไทยเป็นไทย คือท่านนายกฯ ทักษิณ ท่านเป็นคนมีวิสัยทัศน์เรื่องนี้ ท่านมองเห็นว่าจะต้องเป็นอย่างนี้ แต่คนซึ่งดำเนินการให้สำเร็จ

หลัง จากท่านนายกฯ ทักษิณ มีบัญชาไปแล้วก็คือ ท่านรัฐมนตรีสุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นมิติใหม่มิติหนึ่งซึ่งผมไม่เคยเห็นรัฐมนตรีต่างประเทศไทยในยุคไหนเลย ที่มีความสามารถจะทำได้ถึงขนาดนี้ ประเด็นหลักที่เห็นได้ชัดก็คือว่า เราจะต้องเอาเงินไปให้เพื่อนบ้านลงทุน ทีนี้ถามว่าอันนี้บวกหรือลบ คือสามารถจะมองได้
สองมิติ มิติหนึ่งคือบวกบวก อีกมิติหนึ่งคือบวกลบ บวกบวกก็คือว่าการที่เราไปช่วยเขามันบวกอยู่แล้ว แล้วบวกอีกบวกหนึ่งคือการที่ทำให้เขามีความรู้สึกว่า เรามีความจริงใจต่อเขา และในขณะเดียวกันเขาก็ไม่ขัดข้องที่เราจะไปร่วมมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ของเขา

ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเราให้เงินกู้ ซึ่งท่านนายกฯ ให้เป็นเงินบาทเป็นครั้งแรก อัตราดอกเบี้ยต่ำ สามารถใช้ดอกเบี้ยเงินกู้นี้ได้ภายในระยะเวลา 50 ปี ค่อยคืน ก็เหมือนกับให้เปล่า เราให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เขา เอา เงินกู้เขาไปสร้างสนามบินที่เมืองพุกาม ไปสร้างท่าเรือที่ดานัง ข้อที่หนึ่ง ไทยได้งาน บริษัทของคนไทยเราได้งาน ข้อที่สอง วัสดุก่อสร้างมาจากไหน ก็ มาจากไทย ข้อที่สามสถาปนิกออกแบบจากไหน ก็จากไทยอีก ข้อที่สี่ การเบิกเงินจ่ายก็มาจากสาขาธนาคารไทยอีก ข้อที่ห้า ในที่สุดแล้วการเข้าไปช่วยเขาบริหาร จัดการสอนเขาก็คนไทยอีก เพราะฉะนั้นแล้วนี่คือบวกบวก ก็ถามว่าบวกตรงนี้อย่าไปทำให้ลบ เราต้องเข้าไปเป็น partner เขาอย่างจริงจังและจริงใจ ไม่ ใช่เข้าไปครอบงำเขา ผมคิดว่าผลประโยชน์ที่เราได้ เราถามตัวเราเองว่าเราได้ประโยชน์ในแง่ของเราขายของได้ ในแง่ของบริษัทของคนไทยมีรายได้เพิ่มจากการก่อสร้าง เราได้ภาษีอากรตรงนี้

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=4612349373698&Page=3

——————————————————-

การเงิน – การลงทุน

วันที่ 23 มีนาคม 2553 14:00

เอ็กซิมแบงก์ยันไม่พบเสียหายปล่อยกู้ พม่า

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ณรงค์ชัย อัครเศรณี

ณรงค์ชัย อัครเศรณี

ผู้บริหารเอ็กซิมแบงก์ยันเบื้องต้นไม่พบความเสียหาย จากการปล่อยเงิ้นกู้ให้พม่า เผยเตรียมสรุปคำวินิจฉัยศาลก่อนหารือคลัง

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) เปิดเผยว่า จากข้อมูลเบื้องต้นไม่พบว่าเอ็กซิมแบงก์ ได้รับความเสียหายจากการปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำให้แก่รัฐบาลพม่าในวงเงิน 4,000 ล้านบาท ตามมติครม.สมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ส่วนการชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่รัฐบาลได้จ่ายให้แก่ เอ็กซิมแบงก์ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมารวมแล้วเป็นเงินกว่า 300 ล้านบาท จะถือว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากรัฐบาลต้องเป็นผู้รับภาระ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยหรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการตีความของภาครัฐว่าจะตีความเป็นเช่นนั้นหรือไม่ เพราะอีกมุมหนึ่งสามารถมองได้ว่าการที่ไทยปล่อยกู้ให้พม่าในอัตราดอกเบี้ย ต่ำนั้นถือว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือจากประเทศที่พัฒนามากกว่า ซึ่งอยู่ในหลักการหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ (UN)

“หน่วย ราชการคงต้องดูว่า ความเสียหายที่ศาลพูดถึงนั้นหมายถึงอย่างไร ถ้ากระทรวงการคลังบอกว่าเป็นความช่วยเหลือตามหลักของ UN เพราะฉะนั้นก็ถือว่าไม่มีความเสียหาย”

ด้านนายอภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) กล่าวว่า ในเบื้องต้นมองว่าไม่มีความเสียเกิดขึ้นแก่ เอ็กซิมแบงก์ จากการปล่อยกู้ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม คงจะต้องไปวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งขณะนี้ฝ่ายกฎหมายของเอ็กซิมแบงก์ ได้คัดสำเนาคำวินิจฉัยของศาลฎีกาฯ มาแล้ว เพื่อเตรียมสรุปเสนอต่อบอร์ด ก่อนที่จะนำไปหารือกับกระทรวงการคลังต่อไป

พฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ

๑. แก้ไขสัญญาข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตร จ่ายเงินล่วงหน้า (Prepaid) เพื่อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานส์ อินโฟเซอร์วิซ จำกัด (AIS) ทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ ตลอดอายุสัมปทานเป็นเงิน ประมาณ ๗๑,๖๖๗ ล้านบาท
– • AIS ได้รับการแก้ไขสัญญาภายหลังจากที่ DTAC ได้รับการแก้ไขสัญญากับ TOT แล้ว

การ แก้ไขข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่าย เงินล่วงหน้า (Prepaid) ของ AIS นั้น เกิดจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2544 DTAC ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญากับ TOT ในการจ่ายส่วนแบ่งรายได้จากเดิม อัตราที่ DTAC ต้องจ่ายให้กับ TOT เลขหมายละ 200 บาทต่อเดือน เป็นการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ที่ DTAC จ่ายให้กับ TOT ในอัตราร้อยละ 18 ของรายได้จากบริการโทรศัพท์ประเภทบัตรเติมเงิน (Prepaid) ตลอดอายุสัญญา

AIS จึงได้ร้องขอความเป็นธรรมจาก TOT ในหลักการเดียวกันกับ DTAC ได้รับอนุมัติ ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 AIS ก็ได้รับอนุมัติจาก TOT ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญากับ TOT เรื่องการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้กับ TOT สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรเติมเงิน (Prepaid) ในอัตราร้อยละ 20 ของมูลค่าหน้าบัตรบริการโทรศัพท์แบบเติมเงิน (Prepaid) ตลอดอายุสัญญา และต้องชำระส่วนแบ่งรายได้เป็นรายเดือนจากเดิมที่ต้องชำระเป็นรายปี

ทั้ง นี้เพื่อให้ AIS สามารถแข่งขันกับ DTAC ได้ ขณะเดียวกัน TOT ก็ได้กำหนดไว้ในสัญญาฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 6 ข้อที่ 7 ว่า “ เพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการบริษัทจะต้องลดราคาค่าบริการให้ประชาชน โดยในปีที่11-ปีที่15 ของปีดำเนินการตามสัญญาหลักในอัตราเฉลี่ยโดยรวมของแต่ละปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของค่าบริการที่ผู้ใช้บริการต้องชำระในปีที่ 11(พ.ศ. 2544) และในอัตราเฉลี่ยโดยรวมของแต่ละปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของค่าบริการที่ผู้ใช้บริการต้องชำระในปีที่11(พ.ศ. 2544) สำหรับปีที่16–ปีที่25 ของปีดำเนินการตามสัญญาหลัก “

• ประชาชนได้เลือกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในราคาที่ถูกลง

ผล ของการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาระหว่าง TOT กับ DTAC และ TOT กับ AIS เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2544 และ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 ตามลำดับ เป็นผลให้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงิน (Prepaid) ให้กับลูกค้าผู้ใช้บริการโดยไม่ต้องจ่ายรายเดือน ทำให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงิน (Prepaid) เลือกใช้บริการได้ตามความพอใจและสามารถเลือกจ่ายค่าบริการในอัตราที่ถูกกว่า ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบรายเดือน (Postpaid) เป็น การเปิดโอกาสให้กับประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ง่าย ขึ้น เนื่องจากราคาค่าใช้บริการรายเดือนแบบบัตรเติมเงิน (Prepaid) ถูกลง ดังจะดูได้จากรายงานวิจัยของบริษัท Merrill Lynch ที่ระบุว่าอัตราค่าบริการเฉลี่ยรายได้ต่อเลขหมาย ARPU ของอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 800 บาท ในปี 2544 และประมาณ 343 บาท ในไตรมาสที่สองของปี 2549

แผนภูมิ อัตราARPU ย้อนหลัง (หน่วย: บาท)

ที่มา: Merrill Lynch

• จำนวนยอดผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น TOT ก็ได้รับส่วนแบ่งรายได้สูงขึ้น

เมื่อ อัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบบัตรเติมเงิน (Prepaid) ถูกลง เป็นผลให้ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยรวมเติบโตประมาณ 1000% ในระหว่างปี 2544 ถึง 2549 คือจากจำนวนลูกค้าโดยรวมประมาณ 4.6 ล้านเลขหมาย ในปี 2544 เป็นประมาณ 41 ล้านเลขหมาย ในปี 2549 และ AIS ก็มีอัตราผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เติบโตจากประมาณ 3.2 ล้านเลขหมาย เป็นประมาณ 19.96 ล้านเลขหมาย ในปี 2549 ตลอดระยะเวลากว่า 16 ปี ที่ผ่านมา AIS ได้ปฏิบัติตามสัญญาฯ ด้วยดีเสมอมา นอกจากนี้ AIS ได้ลงทุนอุปกรณ์แล้วยกให้ TOT ตามสัญญาจนถึงปัจจุบันเป็นมูลค่าประมาณกว่า 140,000 ล้านบาท พร้อมทั้งได้ส่งส่วนแบ่งรายได้ให้กับ TOT ตั้งแต่ ตุลาคม 2533 จนถึง กุมภาพันธ์ 2550 เป็นเงินประมาณ 83,400 ล้านบาท และชำระภาษีสรรพสามิต ตั้งแต่ มกราคม 2546 จนถึง กุมภาพันธ์ 2550 เป็นเงินประมาณ 31,400 ล้านบาท และ คาดว่าจนถึงสิ้นสุดอายุสัญญา อนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในอีก 9 ปี ข้างหน้า (พ.ศ. 2558) TOT อาจจะได้รับส่วนแบ่งรายได้เพิ่มขึ้นอีก มากกว่า 100,000 ล้านบาท

ที่มา http://shincase.googlepages.com/indictmentinvolvingonais

——————————————————-

รมว.ไอซีที แถลงยืนยันแก้ไขสัญญาสัมปทานโทรคมนาคม TOT – CAT รัฐไม่เสียประโยชน์

วันที่ 8 ธันวาคม 2552 11:12 น.
ที่มา ก.ไอซีที

ร้อย ตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แถลงยืนยันการแก้ไขสัญญาสัมปทานของบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม ไม่ได้ทำให้รัฐเสียประโยชน์ ซึ่งจากการที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง ได้นำเรื่องการแก้ไขสัญญาสัมปทานของบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม 10 สัญญา เสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ โดยรายงานว่าการแก้ไขสัญญาทุกครั้งตั้งแต่ปี 2543 ไม่มีการเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ รวมทั้งดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นตอนกฎหมายพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้า ร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ (พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535) ตลอดจนการแก้ไขสัญญาสัมปทานฯ ได้ทำให้รัฐสูญเสียรายได้มหาศาลนั้น
“เกี่ยว กับเรื่องดังกล่าว กระทรวงฯ ได้มีการหารือกับหน่วยงานทั้ง 2 แล้ว และขอยืนยันว่าการดำเนินการแก้ไขสัญญาสัมปทานของทั้งบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคมได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามขั้นตอนทุกอย่างโดยผ่านทั้งคณะกรรมการ บริหาร รวมถึงคณะกรรมการประสานงานตามมาตรา 22 ที่มีผู้แทนของกระทรวงการคลัง รวมทั้ง สคร. ร่วมอยู่ด้วย และการดำเนินการแก้ไขก็เป็นไปอย่างเปิดเผย ซึ่งการแก้ไขสัญญาในบางประเด็นก็ไม่จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะ รัฐมนตรี แต่อยู่ในอำนาจที่รัฐมนตรีสามารถให้ความเห็นชอบได้ ส่วนในประเด็นที่ สคร. ประเมินการแก้ไขสัญญาว่าได้สร้างความเสียหายแก่ภาครัฐเป็นมูลค่าประมาณ 2 แสนล้านนั้น ขอให้ สคร.แจ้งรายละเอียดว่าเป็นการแก้ไขสัญญาใดบ้าง แต่ทั้งสองหน่วยงานได้ยืนยันว่าการแก้ไขทุกครั้งจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของ รัฐและประชาชน รวมทั้งเป็นการแก้ไขเพื่อให้ก้าวทันต่อการพัฒนาของเทคโนโลยี” ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ กล่าว ด้าน นายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจร่วมการงาน บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้กล่าวถึงการแก้ไขสัญญาสัมปทานของบมจ. กสทฯ ว่า ได้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน 3 ฉบับ กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค โดยที่ผ่านมาไม่ได้รับการทักท้วงจากหน่วยใด ซึ่งการแก้ไขครั้งนั้นได้ยกเลิกในเรื่องสิทธิผูกขาดที่ทำไว้กับดีแทค จึงทำให้ กสท สามารถเซ็นสัญญาเพิ่มเติมได้อีก 2 ฉบับ รวมทั้งสามารถให้บริการ CDMA ได้ ตลอดจนมีรายได้และทรัพย์สินเพิ่มขึ้นประมาณ 9 หมื่นกว่าล้านบาท ส่วน นาย วิเชียร นาคสีนวล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า ทีโอที ได้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน 5 ฉบับ ซึ่งทุกครั้งจะดำเนินการอย่างมีหลักการและเหตุผลที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์ของรัฐ รวมทั้งประชาชน และเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับที่มีมาในอดีต เช่น กรณีของการแก้ไขสัญญาในเรื่องลักษณะการให้บริการจากที่มีเพียงแบบรายเดือน ซึ่งมีการเก็บค่าเช่าเลขหมาย และค่าใช้บริการ โดยเพิ่มการให้บริการในแบบเติมเงิน หรือ pre paid ขึ้นมา ซึ่งการแก้ไขสัญญาในเรื่องนี้ได้ทำให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จาก 1.4 ล้านคน เป็น 3.8 ล้านคนภายใน 1 ปีของการแก้ไขสัญญา และรายได้เพิ่มขึ้นจาก 4,400 ล้านบาท เป็น 9,100 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือประมาณ 60 ล้านคน โดยเป็นผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน 90% และสร้างรายได้ถึง 18,000 ล้านบาทต่อปี อย่าง ไรก็ตาม กระทรวงไอซีทีจะดำเนินการตรวจสอบการแก้ไขสัญญาสัมปทานทั้งหมดของบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม โดยจะหารือกับ สคร. ในประเด็นดังกล่าว รวมทั้งจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้ภายใน 90 วัน หรืออาจขอขยายเวลาออกไปหากมีความจำเป็นที่ทำให้การตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ จากนั้นจะนำเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจต่อไป http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?newsid=B95B25A74CBA9D188AAB1A495A10B7FB&query=t9XizbfV

๒. แก้ไขสัญญาข้อตกลงปรับเกณฑ์การตัดส่วนแบ่งรายได้ให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานส์ อินโฟเซอร์วิซ จำกัด (AIS) ทำให้รัฐเสียหายประมาณ ๗๐๐ ล้านบาท
– เรื่อง นี้ไม่ได้แก้ไขแต่เป็นการเพิ่มเติมส่วนแบ่งรายได้ให้กับ TOT ทั้งนี้สืบเนื่องจากที่ TOT ไม่สามารถติดตั้งขยายระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) ได้ทันต่อการขยายสถานี (Base Station) เพื่อบริการแก่ประชาชนผู้ใช้บริการของ AIS ได้ทัน AIS จึงได้ขออนุญาตลงทุนขยายระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) ในส่วนที่ TOT ไม่สามารถจัดสร้างได้ทันและยกให้เป็นทรัพย์สินของ TOT ในทันทีที่เปิดใช้บริการ (BTO) โดยที่ AIS มีสิทธิใช้ระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) จนกว่าจะหมดอายุสัมปทาน ต่อมาปรากฏว่ามีส่วนที่เหลือใช้ซึ่ง TOT และ AIS มีความเห็นตรงกันว่าควรจะให้ประชาชน หน่วยงานอื่นๆ หรือ บริษัทเอกชนต่างๆ สามารถขอเช่าใช้ได้ TOT จึงได้กำหนดส่วนแบ่งรายได้ขึ้นมาใหม่ โดย กรณีเป็น ”ผู้ใช้บริการของ TOT” TOT ได้รับร้อยละ 25 AIS ได้รับร้อยละ 75 ตลอดอายุสัญญา กรณีเป็น”ผู้ใช้บริการของ AIS” TOT ได้รับร้อยละ 22 AIS ได้รับร้อยละ 78 ตลอดอายุสัญญา ซึ่ง AIS มีหน้าที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซมระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) นั้นตลอดจนอายุสัญญา

ที่มา http://shincase.googlepages.com/indictmentinvolvingonais

๓. ตราพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม และได้มีมติคณะรัฐมนตรีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เพื่อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานส์ อินโฟเซอร์วิซ จำกัด (AIS) ทำให้วิสาหกิจของรัฐเสียหายประมาณ ๓๐,๖๖๗ ล้านบาท
– พระ ราชกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม ที่ประกาศใช้เมื่อปีพ.ศ. 2546 นั้น มีผลบังคับกับทุกบริษัทที่ให้บริการโทรคมนาคมทุกราย เช่น AIS, DTAC ,TRUE, TT&T และ ทุกบริษัทต้องปฎิบัติเหมือนกัน ไม่มีบริษัทใดได้รับสิทธิพิเศษ หรือมีรายจ่ายน้อยลงแต่ประการใดเลย ทุกบริษัทยังคงมีภาระจ่ายโดยรวมเท่าเดิม

ในส่วนของภาครัฐยังคงได้รับ เงินรายได้เท่าเดิม เพียงแต่วิธีการจัดส่งรายได้นั้นให้มีการปรับเปลี่ยนจากเดิมที่คู่สัญญาภาค เอกชนจะดำเนินการจัดส่งรายได้โดยตรงสู่องค์กรเดียว คือ TOT หรือ CAT หลังจากนั้นหน่วยงานภาครัฐทั้งสองจะจัดสรรเงินดังกล่าวให้กระทรวงการคลังใน ฐานะผู้ถือหุ้นต่อไป ให้เปลี่ยนเป็นการแบ่งจ่ายส่วนหนึ่งมาให้แก่กรมสรรพสามิตโดยตรงเป็นประจำทุก เดือน ทำให้กระทรวงการคลังได้รับเงินส่วนแบ่งรายได้ส่วนที่เป็นภาษีสรรพสามิตในแต่ ละเดือนทันที โดยไม่ต้องรอรับการจัดสรรจาก TOT และ CAT ในปลายปี ต่อไป

ที่มา http://shincase.googlepages.com/indictmentinvolvingonais

——————————————————–

ข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ เอกชนจ่ายเท่าเดิม
รัฐวิสาหกิจมีรายได้ลดลงแต่รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น
แต่รัฐบาลสุรยุทธ์ยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตัวนี้
ทำให้รัฐขาดรายได้ในอนาคตปีละหลายหมื่นล้านบาท
ไม่เห็นมีการตั้งข้อกล่าวหาเรื่องนี้กับรัฐบาลสุรยุทธ์
รวมทั้งไม่มีการฟ้องร้องเพื่อดำเนินการยึดทรัพย์รัฐบาลนั้น
เพราะมีพยานหลักฐานชัดเจนว่าทำให้รัฐเสียผลประโยชน์
และอนาคตถ้ามีการรื้อภาษีตัวนี้มาเก็บอีก
หลังจากนำมากล่าวหาจนตัดสินคดียึดทรัพย์ทักษิณไปแล้ว
จะไปร้องขอความเป็นธรรมในภายหลังได้หรือไม่
ซึ่งเดาได้เลยว่ายาก คงปล่อยให้ประเด็นนี้เงียบไปในที่สุด

๔. ให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เช่าและลงทุนระบบคลื่นความถี่ดาวเทียมของบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) โดยไม่จำเป็นเป็นเหตุให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)รัฐเสียหาย เป็นจำนวนเงินประมาณ ๗๐๐ ล้านบาท
– ตลอด สิบกว่าปีที่ผ่านมา ทีโอทีเป็นผู้ใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมรายใหญ่ที่สุดและเป็นผู้ให้บริการสื่อ สารดาวเทียมรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายกฯอานันท์ ชวน บรรหาร ชวลิต ทักษิณ ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยเดิมใช้งานดาวเทียมสองส่วนใหญ่ๆคือ (1) การให้บริการโทรศัพท์ชนบท (จากทั้งหมดราวหนึ่งแสนเลขหมาย เป็นส่วนดาวเทียมเกือบ 2 หมื่นเลขหมาย ค่าใช้จ่ายราว 2 พันล้านบาทต่อปี) ตามนโยบายรัฐบาลในการให้บริการประชาชนในท้องถิ่นห่างไกล ตั้งแต่ปี 2539 เป็นสัญญาสิบปี ทยอยสิ้นสุดในปี 2549 และ 2550 และ (2) การ ให้บริการเครือข่ายดาวเทียมสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงแก่หน่วยราชการและเอกชน อื่นๆจำนวนมาก และเป็นเครือข่ายเสริมภายในของทีโอที เช่น เครือข่าย TDMA และ ISBN ตั้งแต่สมัยไต้ฝุ่นเกรย์ที่ตัดขาดภาคใต้ของไทยเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว สัญญาสิบปีเหล่านี้ก็ทยอยสิ้นสุดในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเช่นกัน ซึ่งทีโอทีต้องหาเทคโนโลยีใหม่เพื่อให้บริการต่อเนื่อง

ต่อมาในช่วง ปี 2545 ทีโอทีก็กลายเป็นผู้ให้บริการไอพีสตาร์รายใหญ่แก่กระทรวงศึกษาฯ สำหรับโครงการอินเทอร์เน็ทโรงเรียนห่างไกลกว่า 1 หมื่นแห่ง (SchoolNet)

ดัง นั้น การที่ทีโอทีเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมไอพีสตาร์ในฐานะเป็นผู้ให้บริการหลักไอ พีสตาร์แต่ผู้เดียวในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2549 ได้ค่าเช่าราคาพิเศษ 475 ล้านบาทต่อปี (ตามโครงสร้างราคาค่าเช่าดาวเทียมของกระทรวงไอซีที) เพราะทีโอทีเห็นประโยชน์จากโครงการนี้ คือ (1) โครงการ โทรศัพท์ชนบทที่สัญญาเก่าสิ้นสุดลง ซึ่งทีโอทีต้องใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อให้บริการประชาชนห่างไกลอย่างต่อเนื่อง มิให้เดือดร้อนเกิดปัญหาการหยุดบริการ ซึ่งเทคโนโลยีไอพีสตาร์ช่วยทีโอทีประหยัดต้นทุนจาก 2 พันล้านบาทเหลือเพียงราว 4 ร้อยล้านบาทต่อปี การประหยัดร่วม 1800 ล้านบาทต่อปีก็คุ้มกับค่าเช่าแล้วอย่างมาก (2) ช่องสัญญาณดาวเทียมไอพีสตาร์ส่วนที่เหลือ ก็สามารถใช้ให้บริการเครือข่ายข้อมูล และอินเทอร์เน็ทความเร็วสูง (บอร์ดแบนด์) ได้อีกหลายหมื่นราย ในราคาต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำ (ค่าเช่าช่องสัญญาณราคาต่ำเพราะเป็นผู้ให้บริการหลักรายใหญ่) ทำให้มีกำไรขั้นต้นหรือมารจิ้นสูง ทั้งบริการเดิมแก่หน่วยราชการ เอกชน และโรงเรียนนับหมื่นแห่ง และผู้ใช้รายย่อยตามบ้านและบริษัทต่างๆเพิ่มอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีบริการอินเทอร์เน็ทความเร็วสูงผ่านสาย โทรศัพท์ (เอดีเอสแอล) และสอดคล้องกับเป้าหมายการขยายให้บริการบอร์ดแบนด์ 1 ล้านหน่วย โดยใช้ไอพีสตาร์เป็นกลยุทธ์เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้บริการบอร์ดแบนด์ของทีโอที ให้ครอบคลุมทุกแห่งทั่วประเทศ

จนถึงปลายปี 2549 ทีโอทีให้บริการทั้งโดยตรงเองและผ่านผู้ร่วมให้บริการอื่นๆทั้งหมดกว่า 45,000 จุด แต่เนื่องจากวิกฤตและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้ทีโอทีไม่ได้มีการจัดซื้ออุปกรณ์ปลายทางเพื่อให้บริการผู้ใช้เพิ่มเติม อีกเลยตั้งแต่ปลายปี 2549 ทั้งที่มีความต้องการของลูกค้ารอใช้งานจำนวนมากหลายหมื่นจุดตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ที่ผู้ใช้ระดับนี้หากไม่เพิ่ม ที่สิ้นปี 2550 ทีโอทีจะมีรายได้สะสมของบริการไอพีสตาร์ประมาณ 930 ล้านบาท มีค่าเช่าช่องสัญญาณไอพีสตาร์สะสมราว 875 ล้าน บาท เป็นผลประกอบการที่เป็นบวกในเพียงสองปี ในบรรยากาศที่ถดถอยเช่นนี้ นับได้ว่าดีมากแล้ว ซึ่งปกติแล้วการลงทุนโครงการโทรคมนาคมจะใช้เวลาคืนทุนหลายปี เช่น 3-5 ปี ไม่ใช่กำไรทันทีในปีแรก ทีโอทีเองก็ลงทุนในหลายโครงการที่ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน เช่น เช่น เอดีเอสแอลหรือไทยโมบาย เป็นต้น ซึ่งตามแผนธุรกิจแต่เดิม ทีโอทีประมาณว่าจะคืนทุนโครงการไอพีสตาร์ใน 3 ปี (จากโครงการ 7 ปี) อยู่แล้ว หลังจากนั้นก็จะมีกำไรเป็นพันล้านบาทต่อปี นับว่าดีมากหากเปรียบเทียบธุรกิจอื่นๆ ที่มีการลงทุนสูงและมีความเสี่ยงสูงกว่ามาก เช่น เอดีเอสแอลหรือไทยโมบาย และโดยที่ไอพีสตาร์เป็นเทคโนโลยี่ที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกในขณะนี้ สามารถทำให้ต้นทุนการให้บริการบอร์ดแบนด์ต่ำที่สุดโดยเฉพาะบริการชนบท และได้เปรียบการแข่งขันกับบรรดาเทคโนโลยีดาวเทียมอื่นๆ

ศักยภาพขนาด ตลาดบอร์ดแบนด์ในไทยมีหลายล้านราย ขณะที่ช่องสัญญาณไอพีสตาร์ส่วนที่คลุมประเทศไทยสามารถให้บริการบอร์ดแบนด์ รายย่อยได้เกือบ 2 แสนราย ซึ่งทีโอทีมีโอกาสที่จะทำการตลาดได้ทั้งหมดอันอาจรายได้มากกว่า 3 พันล้านบาทต่อปี และกำไรมารจิ้น สูง ดังนั้น ทีโอทีจะได้ประโยชน์จากโครงการไอพีสตาร์มาก ทั้งในแง่ลดต้นทุนบริการชนบท และสร้างรายได้หลายพันล้านบาทต่อปี มากกว่าต้นทุนค่าเช่าช่องสัญญาณมาก มิใช่ความไม่จำเป็นหรือไม่มีกำไรดังที่กล่าวหา

ที่มา http://shincase.googlepages.com/totleaseipstar

๕. สั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) ให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการของบริษัทชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในจำนวนเงินกู้ประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท
– ธนาคาร เพื่อการส่งออก และนำเข้าของไทย (EXIM BANK) ให้ เงินกู้แก่ประเทศพม่า ซึ่งมีบางส่วนที่ซื้อสินค้าและช่องสัญญาณดาวเทียมจากบริษัทชินแซท ซึ่งเป็นเรื่องถูกต้องตามหลักการ โดยที่รัฐบาลไทยไม่ได้เอื้อประโยชน์เป็นพิเศษต่อบริษัทชินแซทหรือไอพีสตาร์

ช่วง เดือนตุลาคม ปี 2546 รัฐบาล กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ได้ลงนามร่วมมือกัน เรียกว่า “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ลุ่มน้ำอิระวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง” หรือ ACMECS กระทรวงต่างประเทศไทยประกาศให้วงเงินกู้ (เครดิตไลน์คล้ายโอดี) แบบรัฐต่อรัฐ (G2G Loan) เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศดังที่เคยทำมาหลายปี ก่อนหน้าแล้ว ราวประเทศละ 100 ล้านเหรียญ ผ่าน EXIM Bank ของ รัฐบาล ในกรณีชำระค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อจากบริษัทไทยสำหรับโครงการสาธารณูปโภค เช่น ระบบขนส่ง ถนน สะพาน ชลประทาน โทรคมนาคม ผู้กู้ต้องเป็นหน่วยงานรัฐ รัฐบาลประเทศผู้กู้จะค้ำประกันการชำระคืนเงินกู้ (ไม่ใช่เงินช่วยเหลือให้เปล่า)

ตั้งแต่ปี 2541 ภาครัฐและเอกชนของพม่าหลายหน่วยงานซื้อบริการดาวเทียมไทยคม(และภายหลังไอพี สตาร์) และอุปกรณ์ต่างๆจากบริษัทชินแซท เช่น บริษัทโทรคมนาคมแห่งพม่า (Myanmar Post and Telecom: MPT) บริษัทวิทยุและโทรทัศน์แห่งพม่า (Myanmar Radio and TV: MRTV) และบริษัทเมียนมาร์เทเลพอร์ท ชำระเงินจากงบประมาณของตนเอง

ในปี 2547 บริษัท MPT เปิดประมูลจัดซื้ออุปกรณ์ดาวเทียมเพื่อขยายการสื่อสารในชนบท (ต่อเนื่องจากที่เคยใช้ไทยคมและระบบอื่นๆอยู่หลายปี) ในที่สุด MPT ตัดสิน ใจเลือกซื้อไอพีสตาร์ราว 9.5 ล้านเหรียญ แต่แรกจะชำระโดยใช้งบประมาณของตนเหมือนที่แล้วมา แต่ภายหลังเลือกชำระเงินจากวงเงินกู้นี้ MPT ในฐานะผู้ซื้อเป็นผู้เลือกวิธีจ่ายเงินโดยใช้วงเงินกู้ ไม่ใช่ผู้ขายคือบริษัทชินแซทเป็นผู้เลือกให้ (ผู้ขายยินดีรับชำระเงินจากผู้ซื้อ ไม่ว่าจากงบประมาณหรือเงินกู้) รัฐบาลไทยมิได้ไปตัดสินใจแทนหรือไปกำหนดให้เลือกปฏิบัติใดๆ และหากผู้ซื้อคุณสมบัติถูกต้อง (เป็นบริษัทของรัฐ เป็นสาธารณูปโภค เป็นสินค้าจากไทย) รัฐบาลไทยก็ต้องให้กู้

จากวงเงินกู้ 3 ประเทศราว 300 ล้านเหรียญ พม่าใช้ชำระค่าไอพีสตาร์ 9.5 ล้านเหรียญ (ราว 330 ล้านบาท) หรือเพียง 3% ของทั้งหมด (ขณะที่ลาวหรือกัมพูชาใช้ไทยคม/ไอพีสตาร์มาตลอด แต่ไม่เคยใช้เงินกู้นี้เพื่อชำระเลย) แสดงให้เห็นว่า

1) รัฐบาลไทยมิได้พยายามเป็นพิเศษเพื่อช่วยบริษัทชินแซท และบริษัทชินแซทก็มิได้พยายามแสวงหาประโยชน์พิเศษจากโครงการเงินกู้นี้

2) ต่อมาปี 2549 MPT ซื้อไทยคม/ไอพีสตาร์เพิ่มอีกนับร้อยล้านบาท แต่จ่ายจากงบประมาณตนเอง ทั้งที่คุณสมบัติถูกต้องและวงเงินกู้เดิม 100 ล้านเหรียญยังใช้ไม่หมด แสดงให้เห็นว่าทางพม่าก็ไม่ได้พยายามเป็นพิเศษเพื่อใช้วงเงินกู้นี้

3) ครั้งที่นายกฯสุรยุทธ์เดินทางไปพม่าเมื่อปลายปี 2549 ผู้นำพม่าก็หารือเพิ่มและขยายเวลาวงเงินกู้ และนายกฯไทยก็ตอบรับ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยก็ยังดำเนินการนโยบายนี้อย่างต่อเนื่อง

MPT จัดซื้อโดยการเปิดประมูลหลายเจ้าแข่งขันกัน เลือกซื้อไอพีสตาร์เพราะเป็นเทคโนโลยีก้าวหน้าที่สุดในโลก ถึงแม้ไม่มีเงินกู้นี้ โครงการนี้สร้างรายได้และกำไรให้ MPT มาจ่ายเงินกู้หรืองบประมาณได้ ไม่ใช่โครงการที่มีแต่ต้นทุน ไม่ก่อรายได้ (เงินกู้เป็นเงินต้องจ่ายคืน ไม่ใช่เงินให้เปล่า หากไม่มีเหตุผลการใช้งาน MPT ก็ไม่ซื้อไม่จ่ายแน่นอน รวมทั้งการติดตั้งส่งมอบต้องดี ทุกวันนี้ก็ใช้งานอยู่)

นโยบายหรือข้อตกลงของรัฐจะไม่เลือกปฏิบัติ หากรัฐบาลไทยให้วงเงินกู้กับรัฐบาลต่างชาติอยู่แล้ว เมื่อรัฐบาลต่างชาติแจ้งใช้วงเงินกู้สำหรับโครงการต่างๆ โดยโครงการมีคุณสมบัติถูกต้องแล้ว รัฐบาลไทยจะเลือกปฏิบัติปฏิเสธบางโครงการไม่อนุมัติเงินกู้ไม่ได้

รัฐบาล พม่าไม่มีปัญหาเครดิตหรือการชำระเงินโครงการที่รัฐบาลมีภาระผูกพัน (รัฐบาล พม่ามีรายได้จำนวนมากจากสัมปทานต่างๆ เช่น ปตท จ่ายค่าแก๊สและน้ำมันให้พม่าปีละสี่ห้าหมื่นล้านบาท ประเทศต่างๆให้วงเงินกู้จำนวนมากแก่รัฐบาลพม่าเพื่อส่งเสริมการขายของ เช่น จีน ญี่ปุ่น ดอกเบี้ยก็ต่ำกว่าของรัฐบาลไทย) ไทยอยู่ในฐานะพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ (แร่ธาตุ ป่าไม้ ประมง น้ำมัน ก๊าซ) จากพม่า มากกว่าพม่าพี่งพาสินค้าหรือเงินจากไทย ประเทศใหญ่ๆหลายแห่งช่วยเหลือพม่าดีกว่าไทยมาก โดยเหตุผลต่างๆ เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติ หรือ การเมือง (จีน อินเดีย แย่งกันเอาใจพม่า จีนใช้พม่าเป็นทางออกทะเลด้านตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งต่อท่อน้ำมันเชื่อมด้วย) การที่รัฐบาลไทยไม่ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้ากับพม่า (หรือ กระทั่งสร้างความบาดหมางไม่พอใจกับรัฐบาลพม่า เช่นการไปดูถูกรัฐบาลพม่าที่ใช้ไทยคมเป็นกรณีฉ้อฉลหรือคอรัปชั่นกับอดีต นายกฯไทย หรือรัฐบาลพม่าไม่มีเครดิต รัฐบาลไทยต้องให้กู้แบบเสี่ยง) จะ ส่งผลร้ายต่อไทยมาก เพราะการสร้างความสัมพันธ์และการร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านเป็น นโยบายที่สำคัญมากของทุกรัฐบาล โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหากับไทยในหลายแง่เช่นพม่า ทั้งด้านชายแดน ชนกลุ่มน้อยแยกดินแดน ยาเสพติด แรงงานผิดกฏหมาย

EXIM Bank ของ รัฐบาลทุกประเทศ มีภารกิจและวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนผู้ผลิต/ผู้ขายให้ส่งออกสินค้าไป ต่างประเทศ ด้วยการให้เงินกู้แก่ผู้ซื้อต่างประเทศที่มีเครดิต (โดยเฉพาะผู้ซื้อภาครัฐ) เป็นนโยบายส่งเสริมการส่งออกที่กระทำกันทั่วไป เช่น กรณีบริษัทชินแซทซื้อดาวเทียมและบริการยิงดาวเทียมไทยคม 1 ถึง 5 จากสหรัฐและฝรั่งเศส ก็มี EXIM Bank ของรัฐบาลสหรัฐและฝรั่งเศสให้เงินกู้แก่บริษัทชินแซท (รวมถึงปัจจุบันกว่า 4 หมื่นล้านบาท) กรณี JBIC ให้การท่าฯกู้เงินสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ มีเงื่อนไขต้องใช้บริษัทญี่ปุ่นก่อสร้าง

ช่องสัญญาณไอพีสตาร์ที่ MPT เช่าน้อยกว่า 1% ของช่องสัญญาณไอพีสตาร์ทั้งดวง วงเงิน 9.5 ล้านเหรียญ (ราว 330 ล้านบาท) น้อยกว่า 1% ของ ยอดรายได้ของกลุ่มบริษัทชินคอร์ปเกือบหนึ่งแสนล้านบาทต่อปี สะท้อนว่าอดีตนายกฯ รัฐบาลไทย รัฐบาลพม่า หรือ กลุ่มบริษัทชินคอร์ป ไม่มีแรงจูงใจทำผิดเสื่อมเสียจริยธรรมเพื่อให้ได้มา

MPT ซื้อและใช้ไทยคมและไอพีสตาร์จากชินแซทมานานเป็นปกติต่อเนื่องอยู่แล้ว กล่าวได้ว่า หากไม่มีโครงการเงินกู้นี้ MPT เพื่อชำระ ก็ยังซื้อไทยคมและไอพีสตาร์อยู่ดี (ดังเช่นก่อนหน้าและหลังโครงการเงินกู้นี้) หรือหากเป็นรัฐบาลอื่นที่ไม่ใช่รัฐบาลนายกทักษิณที่มีโครงการเงินกู้นี้ (เพราะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) แล้ว MPT ซื้อและใช้ไทยคมและไอพีสตาร์จากชินแซท ก็คงใช้เงินกู้นี้จากรัฐบาลไทยเพื่อชำระเช่นกัน (เพราะทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีคุณสมบัติเข้าข่าย)

ที่มา http://shincase.googlepages.com/eximbanktoloanmyanmar

๖. อาศัยการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นำผลประโยชน์ของชาติแลกเปลี่ยนบุกเบิกตลาดธุรกิจดาวเทียมให้แก่สายธุรกิจดาว เทียมในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพิ่มมูลค่าธุรกิจดาวเทียมของบริษัทชิน แซทเทิลไลท์ เป็นอันมาก
– บริษัท ชินแซทไม่เคย ได้ประโยชน์หรือเกี่ยวข้องกับ FTA รัฐบาลไทยไม่เคยเอื้อหรือช่วยไทยคมตอนเจรจา FTA กับต่างประเทศแต่อย่างใด สามารถตรวจสอบบันทึกได้จากกระทรวงไอซีทีและกระทรวงพานิชย์

กรณี FTA ไทย-ออสเตรเลีย เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ส่วนโทรคมนาคม เขียนว่า “ออสเตรเลียจะไม่จำกัดโควตาของปริมาณบริการดาวเทียมและมือถือ และจะไม่จำกัดการถือหุ้นของบริษัทไทยในบริษัท Optus และ Vodafone แต่ไม่สัญญาที่ให้บริษัทไทยถือหุ้นในบริษัท Telstra”

ข้อเท็จจริงคือ กรณีข้อความส่วนโทรคมนาคมใน FTA ฝั่ง ออสเตรเลียข้างต้น ไม่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยหรือบริษัทชินแซทเลย เพราะประเทศออสเตรเลียเปิดเสรีโทรคมนาคมมาก ไม่จำกัดโควตาบริการดาวเทียมและมือถือกับประเทศใดและอนุญาตให้ต่างชาติถือ หุ้นได้เต็มที่อยู่แล้ว หากต้องการซื้อหุ้น เอกชนก็เจรจาเองได้ เช่น บริษัทมือถืออันดับสอง Optus (ต่างชาติสิงคโปร์คือ Singapore Telecom ถือหุ้น100%) และ บริษัทมือถืออันดับสาม Vodafone (ต่างชาติอังกฤษคือ Vodafoneถือหุ้น100%)

ยิ่งไปกว่านั้น บริษัททั้งสามมีมูลค่าใหญ่มาก เช่น Telstra ที่ รัฐบาลออสเตรเลียเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ มีมูลค่าในตลาดหลักทรัพย์ราว 2.8 ล้านล้านบาท ใหญ่เกินกว่าที่บริษัทไทยจะไปซื้อหุ้นหรือลงทุน (บริษัทโทรคมนาคมใหญ่ที่สุดของไทย คือ เอไอเอส มีมูลค่าน้อยกว่าสามแสนล้านบาท เล็กกว่า 10 เท่า) แต่เหตุที่รายการเหล่านี้ปรากฏใน FTA โดยที่ไม่ เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทย ก็เพราะเป็นเทคนิคการเจรจาที่ออสเตรเลียทำเพื่อให้ดูเหมือนยอมให้ฝ่ายไทยมาก ในหัวข้อที่เปิดรับการค้าและการลงทุนโทรคมนาคมจากต่างชาติ 100% อยู่แล้ว

ส่วน กรณีที่มีการกล่าวหาว่าอดีตนายกฯนำเรื่อง FTA ไปแลกเรื่องวงโคจรดาวเทียมไทยคม-4 หรือไอพีสตาร์กับรัฐบาลจีนนั้น ข้อเท็จจริงคือ บริษัทชินแซทไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับ FTA จีน

ไทย ลงนามเป็นส่วนหนึ่งของ FTA ระหว่างอาเซียนกับจีนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2545 ส่วนกรณีการประสานงานดาวเทียมไทยคม-4กับดาวเทียมเอเชียแซท-4 ของฮ่องกง ฝ่ายไทยและฮ่องกงตกลงกันได้ด้วยทางออกทางเทคนิคอย่างฉันท์มิตร ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2546 อันเป็นวิถีทางหนึ่งที่ปฏิบัติกันทั่วโลก ในการเจรจาประสานงานความถี่วงโคจรดาวเทียม (หากตกลงกันไม่ได้ก็มีปัญหาการใช้งานทั้งคู่ ไม่ใช่แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง)

ดาว เทียมเอเชียแซท-4 เป็นของบริษัทฮ่องกง ไม่ใช่ของจีน รัฐบาลฮ่องกงเพียง “ยื่นเรื่อง” ไปสู่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ผ่านรัฐบาลจีนเท่านั้น ตามนโยบาย “หนึ่งประเทศสองระบบ” ทางการจีนจะไม่ก้าวก่าย รัฐบาลฮ่องกงหรือจีนคงไม่ยอมแลก FTA กับเอกชนไทยกับอุตสาหกกรมที่รัฐบาลจีนคุมเข้มมากเช่นโทรคมนาคม (ปัจจุบันไม่มีต่างชาติได้รับใบอนุญาตให้บริการโทรคมนาคมในจีน ถึงแม้มีเงื่อนไข WTO ก็ตาม)

ที่มา http://shincase.googlepages.com/ftanegotiationstobenefit

———————————————————-

ข้อหาในการยึดทรัพย์ทักษิณในครั้งนี้
ดูแล้วเหมือนเอาทักษิณเป็นตัวตั้ง
แล้วพยายามยัดข้อหาให้เยอะๆ มากๆ
เพื่อความชอบธรรมในการยึดทรัพย์
เรื่องนี้เป็นเรื่องขบวนการ
เริ่มตั้งแต่การทำรัฐประหารปล้นอำนาจ
ขนาดห้ามบินเข้าประเทศ ห้ามสื่อสัมภาษณ์ก็มี
และพยายามยัดข้อหาต่างๆ มากมาย
และตั้งคณะยึดทรัพย์ทักษิณ
ที่เบื้องหลังคนรู้ทั้งบ้านทั้งเมืองว่าไม่ถูกกับทักษิณ
ส่อให้เห็นเจตนาทำลายล้างอย่างชัดเจน
เรื่องนี้จะติดตามตอนจบในไม่กี่วันนี้
ว่าจะจบยังไงทั้งคดีและประเทศนี้

คดีเงินกู้ธนาคารกรุงไทย

– มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗

เรื่อง รายงานการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่ กระทรวงพลังงานรายงานการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง โดยในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ได้ใช้เงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อสนับสนุนการดำเนิน การขยายผลการใช้ก๊าซธรรมชาติในยานพาหนะ (Natural Gas for Vehicle : NGV) เพื่อสร้างตลาดและความมั่นใจ เชิงพาณิชย์ในการใช้ก๊าซ NGV ทดแทนน้ำมันเบนซิน พร้อมทั้งช่วยกระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการ ผู้จำหน่ายและติดตั้งอุปกรณ์ NGV เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) และธนาคารกรุงไทย จำกัด ได้ร่วมมือกันจัดทำ “โครงการแท็กซี่เอื้ออาทร” ๑๐๐,๐๐๐ คัน โดยเป็นรถใหม่ที่ติดตั้งอุปกรณ์ NGV โดยแท็กซี่อาสาสมัครจะซื้อรถเพื่อเป็นเจ้าของรถเองโดยผ่อนชำระกับธนาคารกรุง ไทย ฯ แบบดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาคืนเงินกู้ ๕ ปี ในส่วนของจำนวนสถานีบริการ ปตท. ได้จัดทำแผนลงทุนก่อสร้างสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ จำนวน ๑๑๕ สถานีภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อเร่งขยายจำนวนสถานีบริการ NGV ในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ตามแนวท่อส่งก๊าซ ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ ๕,๑๘๕ ล้านบาท สำหรับ การผลักดันในช่วงต่อไป กระทรวงพลังงาน โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ สนพ. จะร่วมกันจัดงานเปิดตัวโครงการ “๑๕ มกรา รวมพลังยานยนต์ไทยใช้ NGV” โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มผู้จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ กลุ่มผู้ใช้ยานพาหนะ ผู้ขับขี่/ผู้ประกอบการแท็กซี่ กลุ่มผู้จำหน่ายและติดตั้งอุปกรณ์ NGV พร้อมทั้งธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นผู้ที่จะให้สินเชื่อในโครงการนี้ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยน ความเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน ก่อนการตัดสินใจเลือกผู้จำหน่ายและติดตั้งอุปกรณ์ NGV รวมทั้งมีการลงนามในข้อตกลงให้การสนับสนุนเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจาก กองทุนเพื่อส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กับผู้ดำเนินโครงการ ๓ หน่วยงาน และเปิดสมาคมก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ไทย

– จากข้อกล่าวหา ค้นไปค้นมา
เพื่อหาว่า เป็นการปล่อยกู้เรื่องอะไร
ปรากฏว่าจำนวนเงินในข้อกล่าวหา
ไปตรงกันเป๊ะกับยอดที่เป็นมติ ครม. ด้านบน
ซึ่งเป็นเรื่องปล่อยกู้ให้ ปตท. ขยายสถานีบริการ NGV
เดาว่าภายหลังการประกาศอายัดทรัพย์ทักษิณ
ด้วยเรื่องมติครม. อันนี้ แล้วหาสาเหตุเอาผิดไม่ได้
เลยไปหาเรื่องการปล่อยกู้ของกรุงไทยกรณีอื่นมาอ้าง
เพื่อจะได้คงข้อกล่าวหา และมูลค่าความเสียหายไว้เยอะๆ
เพื่อให้ชอบธรรมในการยึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาทของทักษิณ
ซึ่งการแสดงตัวเลขความเสียหายในแต่ละเรื่อง
ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นจำนวนเงินเสียหายเยอะๆ แค่นั้นเอง
เรื่องนี้เลยเป็นหลักฐานยืนยันให้เห็นเจตนา
ที่ต้องการทำยังไงก็ได้ให้มีข้อกล่าวหาไว้เยอะๆ
แม้หาเรื่องนี้ไม่ได้ก็ยังอุตส่าห์ไปหาเรื่องอื่นมาโยงจนได้

สำหรับเรื่องที่นำมากล่าวหาใหม่
เป็นเรื่องการปล่อยกู้ของกรุงไทย
ต่อนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ที่เสียหายเกิดเป็นหนี้เสียขึ้นมา
แล้วโยงมากล่าวหาว่าทักษิณสั่ง
ทั้งๆ ที่แบงค์กรุงไทยก็กู้หลายแสนล้าน
และก็มีหนี้เสียมากมายเหมือนธนาคารอื่นๆ
ที่ทำให้เกิด NPL ทั้งระบบสูงหลายแสนล้านบาท
จนทักษิณเข้ามาเป็นนายกก็ตั้ง บบส.
เพื่อแก้หนี้เสียเหล่านี้
หลังจากที่รัฐบาลชวนแก้ด้วยการใช้ ปรส.
ทำให้พากันเจ๊งเพราะไม่ได้แยกหนี้เสียกับหนี้ดีออกจากกัน
เลยทำให้หนี้ดีกลายเป็นหนี้เน่าตามกันไปหมด
ซึ่งในเวลาต่อมาการตั้ง บบส. ได้พิสูจน์แล้วว่า
เป็นวิธีแก้ปัญหา หนี้เสียของสถาบันการเงินได้ดีที่สุด

ดังนั้นเรื่องธนาคารกรุงไทย
ที่ปล่อยกู้ปีละหลายหมื่นหลายแสนล้านบาท
จะมีหนี้เสียจำนวนหนึ่งที่นำมากล่าวหาระดับไม่กี่พันล้านบาท
จากหนี้เสียที่เคยทำกันมากกว่านี้อีก
ถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ไม่เยอะและเกิดขึ้นกับทุกธนาคาร
เพราะเห็นมีหนี้เสียมากบ้างน้อยบ้างทุกธนาคาร
และการปล่อยกู้โครงการใหญ่ๆ ก็มีคณะกรรมการ
ไม่ได้ตัดสินใจคนเดียว
จึงนำมาเป็นข้อกล่าวหาเพื่อยึดทรัพย์ทักษิณ
มันถูกต้องชอบธรรมแล้วหรือ
เพราะแสดงให้เห็นว่า
การปล่อยกู้ของธนาคารหล่ะหลวมอยู่แล้ว
และเคยทำให้เกิดหนี้เสียหลายโครงการ
หลายหมื่นหลายแสนล้านบาทมาแล้ว
ไม่ใช่เฉพาะรายนี้รายเดียว

ซึ่งกรณีนายวิโรจน์กับพวก
ก็โดนแบงค์ชาติกล่าวโทษไปแล้ว
จากข้อหาหลายๆ เรื่องหลายสิบคดี รวมทั้งกรณีนี้ด้วย
ก่อนหน้าที่จะเกิดคดีระหว่างแบงค์ชาติกับวิโรจน์
สมัยช่วงรัฐบาลทักษิณ
มีการปีนเกลียวกันระหว่างนายวิโรจน์กับผู้ว่าแบงค์ชาติ
โดยแบงค์ชาติไม่ให้นายวิโรจน์กลับมาดำรงตำแหน่งอีก
แต่คณะกรรมการคัดเลือกให้มาเป็นอีก
ก็เลยมีความพยายามหาข้อผิดพลาด
เพื่อมาสกัดไม่ให้กับมาดำรงตำแหน่ง
และเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ที่ทำให้เกิดปัญหายุ่งๆ ในประเทศนี้
หลังจากทักษิณไม่ช่วยนายวิโรจน์
ให้กลับมาเป็นผู้บริหารแบงค์กรุงไทยอีกครั้ง
นสพ.ผู้จัดการ ก็เริ่มออกมาตีทักษิณ
หลังจากเคยเป็นกองเชียร์มาก่อน

——————————————————-

ผู้จัดการรายวัน17 กุมภาพันธ์ 2548
คดีKTBปิดฉากนโยบายNPL

ธุรกิจ ภาคเอกชนบ่นอุบ หลังแบงก์ชาติเล่นบทโหดเชือดผู้บริหารแบงก์กรุงไทย เผยขณะนี้การขอสินเชื่อยากขึ้น ส่วนการปรับโครงสร้างหนี้ถูกเรียกทบทวนใหม่เพราะแบงก์กังวลถูกแบงก์ชาติเล่น งาน ชี้การใช้บทลงโทษทางกฎหมายนำหน้า เป็นการสวนทางนโยบายแก้หนี้เสีย-ฟื้นฟูธุรกิจที่รัฐบาล ทักษิณ 1 ใช้เป็นนโยบายหลัก ยอมรับไม่แน่ใจงานนี้นายกฯหนุนหลังหรือกลัวผู้ว่าฯกันแน่ หยันแผนใช้บบส.ซื้อหนี้เอกชนมาแก้อีก 5 แสนล้านล้มเหลวแน่

แหล่ง ข่าวจากที่ปรึกษาทางการเงินเปิดเผยว่า ตั้งแต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาระบุว่าสินเชื่อรายใหญ่ของธนาคารกรุงไทย (KTB) 12 ราย มีปัญหาในการปล่อยกู้เมื่อช่วงปลายปี ได้ทำให้บริษัทเอกชนหลายรายประสบปัญหาในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ขณะเดียวกันบริษัทที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ถูกธนาคารพาณิชย์ทบทวน การปล่อยกู้ใหม่ เนื่องจากเกรง ว่าธปท.จะเล่นงานผู้บริหารเหมือนกรณีของธนาคารกรุงไทย ล่าสุดธปท.ได้ไปแจ้งความดำเนินคดีต่อกรรมการ และผู้บริหารธนาคารกรุงไทยรวม 21 ราย ยิ่งทำให้การแก้หนี้และปล่อยกู้ชะงักงันมากขึ้น

“ภาวะดัง กล่าวเริ่มก่อตัวขึ้นประมาณ 3-4 เดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่แบงก์ชาติระบุว่าลูกค้า 12 รายในแบงก์กรุงไทยมีปัญหา เช่น บริษัทอสังหาฯเจ้าของตึกใหญ่ย่านสีลม ซึ่งไม่ได้อยู่ในบัญชี 12 รายในแบงก์กรุงไทย ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ทั้งๆ อยู่ในขั้นตอนปรับโครงสร้างหนี้ที่อนุมัติวงเงินแล้วแต่เบิกไม่ได้ แบงก์อ้างว่าทำตามนโยบายแบงก์ชาติ เหตุการณ์ดังกล่าวยังเกิดกับลูกค้าทุกแบงก์ นี่คือสัญญาณอันตราย”

แหล่ง ข่าวกล่าวว่า ต้องไม่ลืมว่าที่ผ่านมาไทยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ การปล่อยสินเชื่อและปรับโครงสร้างหนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือให้ลูกหนี้อยู่ ได้ เพราะเมื่อธุรกิจฟื้นเศรษฐกิจก็ฟื้น โดยให้ใช้หลักการปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้กรอบกฎหมาย แต่ไม่ใช่ให้กฎหมายนำหน้า ยึดทรัพย์หรือปล่อยลูกหนี้ล้มละลาย

ทั้ง นี้ การเดินตามแนวทางเพื่อให้ลูกหนี้รอดพ้นจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ตามที่ธนาคารกรุงไทยดำเนินการชัดเจนนั้น ได้ทำให้บริษัทขนาดใหญ่และลูกค้ารายย่อยเริ่มฟื้นหลายรายวันนี้ยืนอยู่ได้ หลายรายกำลังผ่อนหนี้เดิมใกล้หมด แต่ธปท.กลับมาใช้กฎหมายนำหน้า เหมือนกับที่เคยแก้หนี้โดยใช้สำนักงานคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (สปน.) ของธปท. ซึ่งล้มเหลวมาใช้อีกครั้ง ที่สำคัญผู้บริหารธปท.เล่นการเมืองมากเกินไป

แหล่งข่าวระบุว่า การกระทำของธปท. สวนทางนโยบายของรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้แถลงเมื่อครั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ว่าด้วยการแก้หนี้เสีย (เอ็นพีแอล) และปรับโครงสร้างหนี้ให้ภาคธุรกิจเพื่อฟื้นเศรษฐกิจประเทศ นับเป็นภารกิจแรกของรัฐบาล โดยมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) ที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยเครื่องมือหลัก ได้แก่ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) และธนาคารของรัฐ

“การฟื้นตัวของธุรกิจวันนี้ ต้องยอมรับนี่คือความสำเร็จของรัฐบาลทักษิณ ในการแก้หนี้และอัดฉีดเงินกู้เข้าระบบ แต่แบงก์ชาติกำลังทำเรื่องสวนทางกับนโยบายรัฐบาลทักษิณ 1 เอกชนก็กังวลว่ารัฐบาลเห็นด้วย เป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลทักษิณ 2 จะเลิกนโยบายแก้หนี้และฟื้นฟูภาคธุรกิจแล้วใช่มั้ย หรือว่านายกฯไม่เห็นด้วยแต่มีปัญหาในการจัดการกับผู้ว่าฯธปท.”

แหล่ง ข่าวมองว่า ที่ผ่ามาไม่เฉพาะบสท. และบบส.เท่านั้น นายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 21 คนที่ถูกแบงก์ชาติฟ้องร้อง ถือว่าได้สนับสนุนและต่อยอดนโยบายในการบริหารธนาคารกรุงไทยอย่าง ประสบความสำเร็จด้วย เพราะช่วง 4 ปีที่ผ่านมา นายวิโรจน์ปล่อยกู้กว่า 500,000 ล้านบาท ซึ่งมากที่สุดในระบบธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ มีขั้นตอนที่โปร่งใสและไม่มีเรื่องทุจริต แต่ธปท.มีการบิดเบือนสร้างความเข้าใจผิดให้ประชาชน

“ต้องเข้าใจว่า การปรับโครงสร้างหนี้ ซื้อขายหนี้ รีไฟแนนซ์หรือปล่อยสินเชื่อ มันมีค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมที่ฝรั่งเรียกว่าค่าฟี มันเป็นอาชีพ ไม่ว่าพ่อค้าซื้อขายหนี้ อาชีพนายหน้าหรือที่ปรึกษา ผมคิดว่าผู้ว่าฯแบงก์ชาติคนปัจจุบัน (ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล) รู้ดี อย่างน้อยท่านเคยเป็นประธานบบส. และใช้หลักเดียวกันในการแก้ปัญหา เพราะฝรั่งสอนมาเหมือนกัน เพียงแต่ช่วงหลังวิกฤตใหม่ เราอาศัยบริษัทชื่อเท่ๆ แบบฝรั่งมาเป็นนายหน้า เป็นที่ปรึกษาต้องจ่ายเงินให้พวกนี้นับแสนล้าน เช่น จีอี แคปปิตอล โกลด์แมน แซคส์หรือเลแมน บราเธอร์ แต่มาวันนี้อาชีพเหล่านั้นคนไทยนำมาทำ กลับถูกผู้ว่าฯคนปัจจุบันกล่าวหาว่าร่วมกันโกงบ้าง กินหัวคิวบ้าง แถมมาฟ้องทุจริต ผมว่าลองคนทำชื่อฝรั่งแบบจีอีฯ เลแมนฯหรือทรีนิตี้ดูบ้าง ก็คงไม่โดนเล่นงาน” แหล่งข่าวอธิบาย

หยันแผนโอนหนี้ให้บบส.เจ๊ง

แหล่ง ข่าวยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้รัฐบาลทักษิณ อยู่ระหว่างการแก้พ.ร.บ.บบส. เพื่อซื้อหนี้จากสถาบันการเงินได้ทุกแห่ง คาดว่าจะผ่านสภาผู้แทนราษฎรในสมัยหน้า แผนดังกล่าวหากอยู่ภายใต้มาตรฐานธปท. จะต้องล้มเหลวเพราะผู้บริหาร ทั้งของบบส.และสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับ การโอน ซื้อขาย ปรับโครงสร้างหนี้และปล่อยกู้หนี้ที่คาดว่าจะโอนอีกประมาณ 500,000 ล้านบาท ต้องระมัดระวัง ดังนั้นการแก้ไขหนี้ดังกล่าวจะต้องล้มเหลว ความหวังที่จะทำให้หนี้เสียในระบบธนาคาร พาณิชย์เหลือ 3% ในปี 2549 คงเป็นไปได้ยาก

“ตอนนี้ต้องลุ้นว่าจะมีการเปลี่ยนผู้ว่าฯธปท. หรือไม่ นี่คือความหวังของภาคธุรกิจ เอาเฉพาะเรื่องใกล้ตัวที่เห็นได้ชัดในตอนนี้ก็คือแบงก์ไม่ยอมปล่อยกู้ผู้ที่ ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ ทั้งๆ ที่เป็นเหตุการณ์ไม่ปกติที่ต้องช่วยเหลือเร่งด่วน และยืดหยุ่น ทว่าไม่มีความคืบหน้า ปัญหาก็คือแบงก์ ชาตินี่แหละ” แหล่งข่าวกล่าว

http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=29800

——————————————————-

หนี้กรุงไทย12รายเป็นNPLอุ๋ยขู่อาจมีฟ้องร้องผู้ บริหาร

โดย ผู้จัดการรายวัน 3 ธันวาคม 2547 22:01 น.

ผู้ จัดการรายวัน – หม่อมอุ๋ยเผยผลตรวจสอบลูกหนี้ 12 รายของแบงก์กรุงไทยเป็นเอ็นพีแอลทุกราย เผยอาจมีการฟ้องร้องผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง แต่จะแถลงรายละเอียดหลังวันที่ 10 ธ.ค. ขณะที่คนกรุงไทยไม่เชื่อแบงก์ชาติกล้าฟ้อง “วิโรจน์” เพราะอาจถูกเล่นงานกลับได้

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการตรวจสอบสินเชื่อธนาคารกรุงไทยจำนวน 12 ราย ได้ข้อสรุปแล้วพบว่าเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จริงทั้ง 12 ราย แต่มีโอกาสที่จะกลับเป็นลูกหนี้ปกติ ถ้าธนาคารกรุงไทยมีการบริหารจัดการและแก้ไขให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียด เนื่องจากยังไม่ครบ 2 เดือนตามกำหนดหรือต้องรอหลังวันที่ 10 ธ.ค.
“เอ็นพีแอลทั้ง 12 รายจะกลับมาเป็นหนี้ดีหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับฝีมือในการแก้ไขปัญหาของผู้ บริหารกรุงไทยว่าจะเป็นอย่างไร ส่วนถ้าจำเป็นต้องฟ้องร้องใคร ธปท.ก็จะทำหลังจากวันที่ 10 ธ.ค” ผู้ว่าฯธปท.กล่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว ว่าขณะนี้ธนาคารกรุงไทยเพิ่งมีการเปลี่ยนตัวกรรมการผู้ จัดการใหญ่ (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภายใน แต่ก็เชื่อว่าผู้บริหารธนาคารกรุงไทยมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหา โดยหลังจากธปท.ส่งผลไปแล้ว ทางกรุงไทยก็ไม่จำเป็นต้องรายงานกลับมายังธปท.อีก
แหล่งข่าวธนาคารกรุง ไทยกล่าวว่าลูกหนี้ 12 ราย ที่ผู้ว่าฯธปท.ระบุว่าเป็นเอ็นพีแอล เป็นหนี้เก่าของธนาคารกรุงไทยที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างและมีปล่อยกู้ เพิ่มเติม นอกจากนี้มีการโอนไปยังสถาบันการเงินอื่นๆ ที่สำคัญไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธนาคารเพราะมีการกันสำรองแล้ว
สำหรับหนี้ 12 ราย แหล่งข่าวระบุว่าไม่มีบริษัทแนเชอรัล พาร์ค (N-Park) เนื่องจากเป็นหนี้ปกติที่ถูกตัดออกจาก 14 รายในตอนต้น
ส่วน ที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธรระบุว่าอาจจะมีการฟ้องร้องผู้บริหารธนาคารกรุงไทย นั้น คาดว่าหากฟ้องร้องจริงคงเป็นนายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการ แต่เชื่อว่าเป็นเพียงการขู่ของผู้ว่าฯธปท.มากกว่า เนื่องจากหากมีการฟ้องร้อง นายวิโรจน์ต้องเล่นงานกลับอย่างแน่นอน
ที่มา ของการตรวจสอบสินเชื่อทั้ง 12 ราย เกิดจากความขัดแย้งของม.ร.ว.ปรีดิยาธรกับนายวิโรจน์ เนื่องจากม.ร.ว.ปรีดิยาธรเห็นว่าการบริหารงานของนายวิโรจน์ในธนาคารกรุงไทย 3 ปีที่รับตำแหน่งมีความหละหลวมในการปล่อยกู้ จึงแทรกแซงการแต่งตั้งของคณะกรรมการธนาคารที่มีมติให้นายวิโรจน์กลับไปเป็น กรรมการผู้จัดการสมัยที่ 2 โดยยกสินเชื่อ 12 รายดังกล่าวมาเป็นข้ออ้าง ขณะที่นายวิโรจน์เห็นว่าม.ร.ว.ปรีดิยาธรใช้อำนาจไม่เป็นธรรมจึงยื่นจดหมาย เปิดผนึกขอความเป็นธรรมจากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ขณะนี้ศาลปกครองรับฟ้อง อยู่ระหว่างการเรียกสอบพยาน

——————————————————-

ความเป็นมาย่อๆ ของนายวิโรจน์ นวลแข
ที่เกี่ยวกับแบงค์กรุงไทยและการปล่อยกู้
และกรณีการงัดข้อกับผู้ว่าแบงค์ชาติ

วิโรจน์เปิดใจพร้อมสู้คดียันหลักทรัพย์คุ้มปล่อยกู้
“วิโรจน์ นวลแข” เปิดใจหลังถูกแบงก์ชาติฟ้องร้องดำเนินคดี ยืนยันความบริสุทธิ์ปล่อยสินเชื่อตามเงื่อนไขทุกอย่าง ระบุหลักทรัพย์ค้ำประกันเพียงพอกับวงเงินกู้ ขณะที่การตรวจสอบวัตถุประสงค์การใช้เงินยังมีอำนาจจำกัด ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ พร้อมยืนยันไม่ห่วงเรื่องคดี มั่นใจมีหลักฐานเพียงพอชี้แจง
(ผู้จัดการรายวัน 16 กุมภาพันธ์ 2548)

ฉะ “หม่อมอุ๋ย”เลือกปฏิบัติ ฟ้องบิ๊กกรุงไทย-ชี้ธปท.มีพิรุธ
“สุชา ติ-วิโรจน์” ประสานเสียงโต้แบงก์ชาติเลือกปฏิบัติ เหตุแจ้งความเอาผิดบิ๊กแบงก์กรุงไทยแค่ 3 คนทั้งๆ ที่บอร์ดบริหารมี 5 คน “วิโรจน์” ยันปล่อยสินเชื่อลูกหนี้ทั้ง 3 กรณีตามขั้นตอน “หม่อมอุ๋ย” อ้างเหตุละเว้นบอร์ด 2 คน เพราะต้องกันเป็นพยานและให้ข้อมูลเป็นประโยชน์ ส่วนสาเหตุการฟ้องเพราะกลัวถูกกล่าวหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ มั่นใจเก้าอี้ผู้ว่าฯยังอยู่
(ผู้จัดการรายวัน 15 กุมภาพันธ์ 2548)

อุ๋ยสั่งหาหลักฐานมัดผู้บริหารKTBก่อนส่งฟ้องศาล
ผู้ ว่าฯแบงก์ชาติสั่งหาหลักฐานเพิ่มก่อนส่งฟ้องศาล หลังพบหลักฐานที่ผู้บริหาร ธนาคารกรุงไทยปล่อยสินเชื่อหละหลวม คาดใช้เวลาอีก 2 สัปดาห์ ขณะที่ฝ่ายตรวจสอบสินเชื่อ ระบุมี 2-3 รายเท่านั้น ที่ต้องให้ฝ่ายคดีพิจารณาต่อว่าจะฟ้องร้องต่อผู้บริหารที่อนุมัติสินเชื่อ ได้หรือไม่ ด้านรองประธานบอร์ดแบงก์กรุงไทย “ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล” ออกตัวไม่ขอยุ่งเกี่ยว
(ผู้จัดการรายวัน 25 มกราคม 2548)

สรุปผลสอบปล่อยกู้KTB
ผู้ ว่าฯแบงก์ชาติ เผยธปท.ได้ข้อสรุปผลการตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของแบงก์กรุงไทยหลังจากที่ ส่อเค้าไปในทางทุจริต แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดต้องรอให้ผ่านกระบวนการทางกฎหมายก่อน พร้อมทำหนังสือถึงอัยการแจงกรณีที่ “วิโรจน์” ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 210 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว
(ผู้จัดการรายวัน 11 มกราคม 2548)

ปล่อยกู้ชะงักอสังหาฯสะดุด
แบงก์ พาณิชย์ชะลอปล่อยกู้ บริษัทใน-นอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ตลอดจนโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายรายไม่ได้เงินกู้ไปลุยธุรกิจต่อ หลังธปท.เล่นงาน “วิโรจน์” ข้อหาละเลยปฏิบัติหน้าที่ พ.ร.บ.มาตรา 22 (8) ทำเอา “นายแบงก์” ถึงกับปอดไม่กล้าให้สินเชื่อ จนสถานการณ์ขอเงินกู้ 2 เดือนที่ผ่านมาแทบหยุดชะงัก หวั่นพลาดท่าโดนเช็กบิลหมดอนาคต
(ผู้จัดการรายวัน 20 ธันวาคม 2547)

ธปท.เล็งฟ้องวิโรจน์ชี้ปล่อยกู้หละหลวม
แบงก์ ชาติเตรียมฟ้องร้องผู้บริหารและบอร์ดแบงก์กรุงไทยที่เกี่ยวข้องกับการ ปล่อยสินเชื่อฉาว เผยกำลังหาหลักฐานเพิ่มเติมหลังผลตรวจสอบสินเชื่อทั้ง 12 ราย พบปล่อยกู้หละหลวมแบบปกติและไม่ปกติ เชื่อแบงก์ชาติฟ้อง “วิโรจน์ นวลแข” แน่ ด้านตลาดหุ้นตกรับข่าวร้าย เฉพาะกลุ่มแบงก์ร่วง 2.97%
(ผู้จัดการรายวัน 9 ธันวาคม 2547)

ศาลรับคำร้อง”วิโรจน์”ฟ้องหม่อมอุ๋ย-ธปท.
ศาล ปกครอง สั่งรับคำร้องคดี “วิโรจน์” ฟ้องธปท.-อุ๋ย พร้อมแจ้งคู่กรณีแจงหักล้างข้อกล่าวหาภายใน 30 วัน ด้านทนายเตรียมยื่นเพิ่มขอให้ชะลอตั้งเอ็มดีคนใหม่ และเรียกแบงก์กรุงไทยร่วมเป็นคู่กรณี ขณะที่ขุนคลังยันไม่กระทบกระบวนการสรรหาเอ็มดีคนใหม่ มั่นใจ “อภิศักดิ์” เริ่มงานเร็วๆ นี้
(ผู้จัดการรายวัน 4 พฤศจิกายน 2547)

“วิโรจน์” ขอศาลปกครองสั่งKTBชะลอเอ็มดีใหม่
“วิโรจน์ นวลแข” แจงศาลปกครองปมฟ้อง “หม่อมอุ๋ย” พร้อมยื่นคำร้องขอศาลสั่งบอร์ดกรุงไทยชะลอการสรรหาเอ็มดีกรุงไทยใหม่ และให้ ธปท. รับผิดชอบค่าจ้างทนาย ขณะที่หม่อมอุ๋ยไฟเขียวบอร์ดกรุงไทยตั้ง “อภิศักดิ์” นั่งเอ็มดีโดยไม่ต้องเสนอ ธปท.พิจารณา
(ผู้จัดการรายวัน 3 พฤศจิกายน 2547)

วิโรจน์ฟ้องแล้วอุ๋ย-ธปท.
“วิโรจน์ นวลแข” ส่งตัวแทนยื่นฟ้องธปท.และผู้ว่าฯ ธปท.แล้ว เรียกค่าเสียหาย 201 ล้านบาท เป็นค่าเสียโอกาสจากการประกอบอาชีพและนั่งเอ็มดีกรุงไทยต่ออีกวาระ พร้อมทั้งขอให้ศาลปกครองประกาศเจ้าปัญหาของแบงก์ชาติกรณีการแต่งตั้งผู้ บริหารระดับสูงของแบงก์พาณิชย์ ระบุเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ชัดเจน คาดศาลใช้เวลา 1 สัปดาห์พิจารณาจะประทับรับฟ้องหรือไม่
(ผู้จัดการรายวัน 27 ตุลาคม 2547)

คลังส่งหนังสือวิโรจน์กม.ตีความก่อนตัดสิน
“คลัง” ส่งหนังสือวิโรจน์ ให้ที่ปรึกษา กม. พิจารณา ถี่ถ้วน ก่อนถึงมือ รมว. ชี้หากมีข้อมูลใดจำเป็นต้องส่งกฤษฎีกาเพิ่ม จะดำเนินการให้ แต่ยันเป็นคนละเรื่องกับการยื่นฟ้องศาลของวิโรจน์ ส่วนการขยายเวลารับสมัครเอ็มดีคนใหม่ยังเป็นเรื่องอนาคต
(ผู้จัดการรายวัน 22 ตุลาคม 2547)

วิโรจน์ฟ้อง “อุ๋ย-กรุงไทย” เรียก100ล้านพร้อมทวงเก้าอี้เอ็มดีคืน
“วิโรจน์ นวลแข” เตรียมฟ้องแบงก์ชาติ-บอร์ดกรุงไทย เรียกค่าเสียหายมากกว่า 100 ล้าน “หม่อมอุ๋ย”จำเลยที่ 1 เผยจะร้องศาลปกครองก่อน 26 ต.ค. ส่วนข้อเรียกร้องในหนังสือขอความเป็นธรรมจาก “สมคิด” ในฐานะผู้กำกับดูแล 2 องค์กร เผยต้องการให้รมว.คลังยุติอำนาจในประกาศเพิ่มเติมของธปท. มาตรา 22 (8)
(ผู้จัดการรายวัน 20 ตุลาคม 2547)

“วิโรจน์”แจงกรุงไทยวันนี้ยันยังไม่ฟ้อง”ปรีดิยาธร”
“วิโรจน์ นวลแข” แถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีแบงก์ชาติสั่งห้ามบอร์ดแบงก์กรุงไทยตั้งเป็น เอ็มดี และผลงาน 3 ปีที่ผ่านมา เผยยังไม่ฟ้องร้องเพราะรอจังหวะเหมาะสม ขอยึดหลักความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา “ธาริษา” เผยความคืบหน้าลูกหนี้ 11 ราย ยังอยู่ที่ฝ่ายตรวจสอบ ลั่นต้องหาคนรับผิดชอบโดยดูที่เจตนาการปล่อยกู้
(ผู้จัดการรายวัน 12 ตุลาคม 2547)

“กรุงไทย” รอธปท.เก้อผลสอบวิโรจน์ไม่เสร็จ
แบงก์ ชาติยังไม่ส่งหนังสือตรวจสอบคุณสมบัติ “วิโรจน์” ให้บอร์ดแบงก์กรุงไทย ตามที่หม่อมอุ๋ยให้ข่าวไว้ แฉผลสอบยังไม่เสร็จ “ปลัดคลัง” ยืนยันต้องได้รับหนังสือเป็นทางการก่อนประชุมหรือแถลงข่าว วอนนักลงทุนและลูกค้าเห็นใจ เชื่อผู้บริหารกรุงไทยและแบงก์ชาติปรารถนาดี ไม่มีความขัดแย้ง ส่วนเอสแอนด์พี คงอันดับเครดิตธนาคารไทย
(ผู้จัดการรายวัน 1 ตุลาคม 2547)

“อุ๋ย” แบล็กเมล์วิโรจน์จี้ถอนตัวก่อนถูกเชือด
หม่อม อุ๋ยถอดรหัส 30 ก.ย. เผยให้เวลา “วิโรจน์” เลือกทางเดินในแบงก์กรุงไทย ขู่หากไม่ถอนตัวอาจโดนเล่นงานเรื่องปล่อยกู้หละหลวม อ้างเป็นวิธีที่ไม่กระทบต่อทุกฝ่าย พร้อมโยนความผิดให้บอร์ดสรรหาฯไม่ยอมหารือก่อนเลือกเอ็มดี
(ผู้จัดการรายวัน 29 กันยายน 2547)

ชี้ชะตา”วิโรจน์” 27ก.ย.นี้
“ม.ร.ว .ปรีดิยาธร เทวกุล” ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ เร่งหาข้อยุติการแต่งตั้ง “วิโรจน์ นวลแข” ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทยโดยเร็ว มั่นใจรู้ผล 27 ก.ย.นี้ ก่อนเดินทางไปประชุมประจำปีไอเอ็มเอฟ พร้อมยืนยันขั้นตอนดำเนินการโปร่งใสและมีเหตุผลชี้แจงได้
(ผู้จัดการรายวัน 24 กันยายน 2547)

อุ๋ยปัดยื้อเก้าอี้วิโรจน์ยันไม่มีเรื่องส่วนตัว
หม่อม อุ๋ยปฏิเสธขวาง “วิโรจน์ นวลแข” นั่งเอ็มดีแบงก์กรุงไทย อ้างอยู่ระหว่างรอผลตรวจสอบคุณสมบัติจากเจ้าหน้าที่ เผยเคยทำงานด้วยกันและไม่มีความขัดแย้งส่วนตัว “สมคิด” แนะร่วมมือกันทำงาน
(ผู้จัดการรายวัน 17 กันยายน 2547)

“วิโรจน์” รีเทิร์นกรุงไทยเซ็นสัญญาใหม่ 2 ปีครึ่ง
“วิโรจน์ นวลแข” นั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการแบงก์กรุงไทยแน่นอนแล้ว เซ็นสัญญาสมัยที่ 2 รวม 2 ปี 6 เดือน “สมคิด” เห็นชอบ ด้านสหภาพฯและชมรมผู้จัดการสาขาฯหนุนเต็มที่ ระบุยิ่งช้าแบงก์ยิ่งเสียหาย ประกาศไม่เป็นเครื่องมือผู้ไม่หวังดีทำลายแบงก์
(ผู้จัดการรายวัน 3 กันยายน 2547)

สร.กรุงไทย หนุนวิโรจน์ ชูผลงานนั่งเก้าอี้MDต่อ
ขุน คลังสนับสนุน “สมใจนึก เองตระกูล” เป็นประธานการสรรหากรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทยคนใหม่ ลั่นไม่มีปัญหา ขณะที่บอร์ดกรุงไทยเมินเฉยแถมเสียงแตก ส่วน “วิโรจน์ นวลแข” พร้อมยื่นใบสมัครหลังพ้น ตำแหน่ง 9 ก.ค.นี้ สหภาพฯ กรุงไทยเคลื่อนไหวสนับสนุน ทำหน้าที่ต่ออีกสมัย
(ผู้จัดการรายวัน 15 มิถุนายน 2547)

ไม่มีแผนปลด “วิโรจน์” กรุงไทยรุกสินเชื่อต่อ
“บิ๊ก หมง” ยันบอร์ดแบงก์กรุงไทย (KTB) ยังไม่มีแผนปลด วิโรจน์ นวลแข ย้ำที่ผ่านมา เขาทำงานเข้าเป้ามาตลอด ส่วนประธานกรรมการคนใหม่จะใช้ความเป็นทหาร เก่าให้เป็นประโยชน์ เชื่อมสัมพันธ์ภาครัฐ
(ผู้จัดการรายวัน 3 เมษายน 2546)

แบงก์กรุงไทยเลื่อนแปรรูป รอดูความชัดเจนสงคราม
แบงก์ กรุงไทย ขาดสภาพคล่อง สวนกระแสแบงก์พาณิชย์ส่วนใหญ่ที่สภาพคล่องล้น หลังปล่อยกู้สนองนโยบายรัฐ “วิโรจน์” ชี้บางวันเงินขาด 4,000-6,000 ล้านบาท ต้องพึ่งอินเตอร์แบงก์ เผยผลประกอบการปีนี้ทรงตัว ผลจากสเปรดหดตัว ทั้งดอกเบี้ยยังอยู่ในช่วงขาลง เลื่อนแปรรูปรอความชัดเจนของสงคราม
(ผู้จัดการรายวัน 21 มีนาคม 2546)

แผน3ปีกรุงไทยผู้นำปล่อยกู้ ตั้งเป้าสุทธิ1.8แสนล.ขยายสินทรัพย์ดี
แบงก์ กรุงไทยตั้งเป้า 3 ปีเร่งขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิให้ได้ 180,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มขนาด ของสินทรัพย์ดีแหล่งรายได้ของธนาคาร เน้นปล่อยกู้ให้ กับภาครัฐ ตามด้วยเอสเอ็มอี ขณะที่ในปี 46 ตั้งเป้าปล่อย กู้เพิ่มขึ้นสุทธิ 70,000 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 23 ธันวาคม 2545)

วิโรจน์โชว์ผลงานรอบ1ปี กำไรเพิ่ม-สร้างขวัญพนง.
กรุง ไทยยุควิโรจน์ นวลแข กำลังไปได้สวย ระบุผลงานในรอบ 1 ปีสามารถดันกำไรเพิ่มจาก100ล้านบาทต่อเดือนเป็น 800 ล้านบาทต่อเดือน ผล พวงการปรับรูปแบบการทำงานที่มุ่งทำงานเป็นทีม
(ผู้จัดการรายวัน 17 กรกฎาคม 2545)

http://www.gotomanager.com/resources/default.aspx?id=3644&g=mgrd&page=1

คดีหวยบนดิน

– เห็นยังมีกำไรเอาไปแจกทุนนั่นนี่สองหมื่นกว่าล้านบาท
และเงินที่เอาไปแจกไม่ว่าจะในรูปเก็บภาษีมาก่อนค่อยแจก
หรือแจกก่อนเก็บภาษีมันก็คือเงินรัฐที่เอาไปแจก
แล้วกรณีรัฐกู้เงินมาแจกชาวบ้านฟรีๆ นี่
ทำให้รัฐเสียหายบ้างหรือไม่
หรือกรณีรายได้จากหวยบนดินที่หายไปอยู่ใต้ดิน
รัฐเสียผลประโยชน์หรือไม่
และการกล่าวหาว่าทำให้รัฐเสียหายหลายหมื่นล้าน
แต่จริงๆ แล้วผลคดีนี้มีคนผิดไม่กี่คน
ปรับไม่กี่บาท แถมยังรอลงอาญาอีก
แล้วเอามาเป็นข้อกล่าวหาเพื่อยึดทรัพย์ทักษิณ
ถามว่ามันถูกต้องชอบธรรมแล้วจริงหรือ

ภายหลังทำรัฐประหาร
ก็มีการตั้งหน่วยงานไล่ล่าหาความผิดทักษิณ
จนมีการยัดเยียดข้อหาต่างๆ
เพื่อความชอบธรรมในการอายัดทรัพย์ทักษิณ
เช่นข้อหาเกี่ยวกับหวยบนดินเป็นดังนี้

“๔. โครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย ๓ ตัว และ ๒ ตัว
ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รัฐเสียหาย ประมาณ ๓๗,๗๙๐ ล้านบาท”

ซึ่งภายหลังก็มีการตัดสินคดีนี้ออกมา
เจ้าหน้าที่มีความผิดกันเล็กน้อย
ปรับกันไม่กี่บาทแล้วก็รอลงอาญา
ส่วนข้อหาว่าทำให้รัฐเสียหายหลายหมื่นล้าน
เอามาจากไหน
ก็เป็นอีกเรื่องที่พยายามกล่าวหาให้เยอะๆ ไว้ก่อน
เพื่อจะได้สร้างความชอบธรรม
ให้กับขบวนการยึดทรัพย์ทักษิณเท่านั้นเอง
แล้วลองเทียบกรณีไม่มีหวยบนดิน
รัฐไม่มีรายได้จากหวยบนดินสักบาท
รายได้ตกไปอยู่กับพวกหวยใต้ดินเพิ่มขึ้น
แบบนี้ไม่เรียกว่าทำให้รัฐเสียหาย
หรือรัฐเสียหายไปอยู่ในมือเจ้ามือหวยใต้ดินเท่าไหร่
รวมไปถึงกรณีหวยออนไลน์
จับตาดูว่าผลออกมาจะทำให้รัฐเสียหายจ่ายค่าโง่อีกเท่าไหร่
และรัฐบาลที่ตัดสินใจเรื่องหวยออนไลน์
จะโดนนำมากล่าวหาเพื่อยึดทรัพย์หรือไม่
ติดตามชมกระบวนการยุติธรรมแบบสองมาตรฐาน
หรือแบบไม่มีมาตรฐานเลย
แค่ตั้งกลุ่มปล้นอำนาจ เสร็จแล้วตั้งแก๊งส์ปล้นทรัพย์
กลายเป็นสิ่งยอมรับกันได้ สำหรับทั้งกลุ่มทั้งแก๊งส์เหล่านั้น
ทั้งเลือกปฏิบัติ ตั้งคนที่ไม่เป็นกลางเป็นศัตรูทางการเมืองมาตรวจ
มายัดเยียดข้อหา แถมมีการบงการเดินเรื่องกันจนมาถึงวันนี้
แถม ครม. สุรยุทธ์ พวกที่ คมช. ตั้งขึ้นมา
ก็ได้ออกหวยบนดินด้วย
แล้วทำไมไม่มีความผิดหรือโดนข้อหาเพื่อยึดทรัพย์ด้วย

โดย มาหาอะไร

————————————————————————

“วิษณุ”ข้องใจเว้นดำเนินคดีครม.สุรยุทธ์ออกหวยบนดิน

ที่ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง เมื่อวันที่ 17 ก.ค. นายสบโชค สุขารมณ์ รองประธานศาลฎีกา เจ้าของสำนวนทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 และ 3 ตัว ( หวยบนดิน ) พร้อมองค์คณะ 9 คน ไต่สวนพยานจำเลย คดีหมายเลขดำ อม.1/2551 ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (จำหน่ายคดีออกจากสารบบ) จำเลยที่ 1 , อดีตคณะรัฐมนตรีชุดรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ จำเลยที่ 2-30 และผู้บริหารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นจำเลยที่ 31-47 ในความผิดฐานร่วมกันทำผิดยักยอกทรัพย์ เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการดูแลกิจการ เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นและละเว้นไม่ เรียกเก็บภาษีอากร และเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147, 152, 153, 154, 157 และความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3, 4, 8, 9, 10 และ 11 โดย ป.ป.ช. ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยทั้งหมด ร่วมกันคืนเงินที่มีมติอนุมัติให้จ่ายไปรวมจำนวน 14,862,254,865.94บาท ให้แก่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วย

ทั้ง นี้ นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 7 ขึ้นเบิกความ ระบุว่า วันที่ 7 ก.ค. 48 ที่ ครม.(ขณะนั้น) พิจารณาออกสลาก 2-3 ตัว เป็นวาระจร โดย นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง ซึ่งตนติดใจว่าอาจขัดต่อกฎหมายหรือไม่ จึงออกจากห้องประชุมไปศึกษาข้อกฎหมาย แต่เมื่อกลับเข้ามาก็พบว่า ครม. อนุมัติโครงการนี้แล้ว

นาย วิษณุ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ริเริ่มโครงการหวยบนดิน น่าจะเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ จำเลยที่ 1 เพื่อให้ตอบรับกับนโยบายปราบปรามยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล และนำเงินนอกกฎหมายจำนวนมาก ขึ้นมาบนดินเพื่อใช้ช่วยเหลือประชาชนที่ยากจน ส่วนเงินที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้ลงพื้นที่ “ทัวร์นกขมิ้น” เป็นเงินจากส่วนอื่นของสำนักงานสลาก สำหรับเงินที่ได้จากโครงการหวยบนดิน จะมีการจัดตั้งเป็นกองทุนโดยการนำไปใช้ จะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนายุทธศาสตร์

นาย วิษณุ กล่าวด้วยว่า ครม.ชุด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ออกหวยบนดิน ต่อเนื่องอีก 3 งวด ก่อนจะยุติโครงการ หลังมีการเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความออกมาว่าการออกสลาก 2-3 ตัว อาจขัดต่อกฎหมาย แต่เหตุใดจึงไม่มีการกล่าวหาดำเนินคดีกับ ครม.พล.อ.สุรยุทธ์ ด้วย ตนไม่ทราบ พยานเบิกความเรื่องอื่น ๆ แล้วเสร็จ

ทั้ง นี้ ศาลนัดไต่สวนพยานจำเลยในวันที่ 21 ก.ค.นี้ เวลา 09.30 น. โดยฝ่ายจำเลย เตรียมนำ นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง จำเลยที่ 4 ขึ้นไต่สวน

http://breakingnews.quickze.com/readnews-102147-“%3Bวิษณุ”%3Bข้องใจเว้นดำเนินคดีครม.สุรยุทธ์ออกหวยบนดิน.html

————————————————————————

การเมือง : บทวิเคราะห์
วันที่ 1 ตุลาคม 2552 08:40
เปิดสามปมพิพากษาหวยบนดิน ศาลเอกฉันท์ไม่ผิดยักยอกเงินรัฐ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

“กรุงเทพ ธุรกิจ” สรุปประเด็นคำฟ้องในคดีหวยบนดินและคำพิพากษาของศาล หลังคณะผู้พิพากษาศาลฎีกา อ่านคำพิพากษาคดีหวยบนดินเมื่อวานนี้ ประเด็น ที่ 1 จำเลยที่ 31, 33, 35, 37, 41 และ 42 ในฐานะคณะกรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (บอร์ดกองสลาก) ที่ร่วมกันมีมติเสนอโครงการหวยบนดินเพื่อ นำเงินรายได้คืนสู่สังคม และงดเว้นการจัดเก็บภาษี กระทำผิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มาตรา 5 และ มาตรา 9 หรือไม่

เห็น ว่า กองสลากจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการหารายได้เข้ารัฐโดยการจำหน่ายสลาก กินแบ่งรัฐบาล มีแนวทางการปฏิบัติจัดสรรางวัลอย่างชัดเจน เงินที่ได้รับร้อยละ 60 นำไปจ่ายค่ารางวัล ร้อยละ 28 เป็นรายได้เข้าแผ่นดิน ร้อยละ 12 เป็นค่าใช้จ่ายการบริหารงาน ส่วนการออกโครงการหวยบนดินไม่ ได้กำหนดอัตราส่วนรายรับรายจ่ายที่ชัดเจน แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นการออกสลากกินแบ่งลักษณะพิเศษเพื่อจะนำเงินไปใช้ในทาง สาธารณประโยชน์ แต่ปรากฏว่าการออกสลากลักษณะพิเศษดังกล่าวไม่ได้จำกัดงวดตามแนวทางที่กอง สลากเคยดำเนินการมาก่อนหน้านี้

ดัง นั้น การออกสลากพิเศษเลขท้าย 2-3 ตัวดังกล่าว ไม่ใช่สลากกินแบ่งรัฐบาลหรือสลากการกุศลตาม พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงไม่ใช่สลากกินแบ่งรัฐบาลที่ไม่มี ความเสี่ยงขาดทุน แต่การออกหวยบนดินยัง กำหนดการจ่ายรางวัลให้แก่ผู้ถูกสลากทุกคนที่ถูกหมายเลข 2 และ 3 ตัว โดยไม่กำหนดวงเงินที่รับแทง ทำให้กองสลากต้องขาดทุนรวม 7 งวด จากการออกสลากทั้งสิ้น 80 งวด เป็นเงิน 1,600 ล้านบาทเศษ จึงไม่อาจได้รับการงดเว้นการลดหย่อนภาษีตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการงดเว้น ประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2540 และกฎกระทรวงปี 2503 และ 2543

ขณะ ที่ศาลยังเห็นว่า การไม่นำเงินรายได้จากการออกสลากหลังจากหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากระทรวงการคลัง ก็ไม่ถูกต้อง แม้ว่าเงินดังกล่าวจะได้มาจากการออกสลากที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่สามารถนำไปใช้สอยได้ตามอำเภอใจ ถือว่าผิดหลักการบริหารราชการแผ่นดิน
ประเด็น ที่ 2 จำเลยที่ 2 -30 ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรี (ชุด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) มีความผิดฐานร่วมกันมีมติให้ดำเนินโครงการออกสลากพิเศษ 2-3 ตัว ตามที่ จำเลยที่ 31, 33, 35, 37, 41 และ 42 ซึ่งเป็นบอร์ดกองสลากเสนออนุมัติ และเป็นผู้ใช้ให้งดเว้นการจัดเก็บภาษีจากการออกสลากหรือไม่ เห็นว่า จำเลยที่ 31, 33, 35, 37, 41 และ 42 ได้มีมติเสนอโครงการโดยผลประชุมเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2545 ซึ่งจำเลยที่ 31 (นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงคลังและประธานบอร์ดกองสลาก) จำเลยที่ 42 (นายชัยวัฒน์ พสกภักดี อดีตผู้อำนวยการกองสลาก) เป็นผู้นำมติเสนอต่อจำเลยที่ 1 (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้เร่งดำเนินการ

จาก นั้นมีการจัดประชุมและอนุมัติโครงการโดยมีจำเลยที่ 10 (นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง) เข้าร่วมประชุมด้วย เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2546 และเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นวาระพิเศษ โดยที่ ครม.ไม่น่าจะทราบรายละเอียดทั้งหมด เพียงพิจารณาจากเอกสารและฟังคำชี้แจงจากผู้แทนกระทรวงการคลังและกองสลาก จึงอนุมัติหลักการโดยเข้าใจว่าเป็นโครงการที่ถูกต้อง จนมีการออกสลากตั้งแต่งวดวันที่ 1 ส.ค. 2546-16 พ.ย. 2549 ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 31 และ 42 ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของกองสลาก ย่อมต้องทราบวัตถุประสงค์การจัดตั้งกองสลาก เจตนารมณ์กฎหมายในการออกสลาก ซึ่งแม้จำเลยจะอ้างว่าออกสลากตามนโยบายฝ่ายบริหารในการปราบปรามยาเสพติดและ หวยใต้ดิน แต่ก็ควรที่จะต้องคำนึงว่าทั้งโครงการออก สลากและนโยบายฝ่ายบริหารที่จะนำมา ปฏิบัติจะต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย จึงควรจะต้องทักท้วงจำเลยที่ 1 เมื่อเห็นว่าโครงการไม่ถูกต้องและต้องมีการแก้ไขกฎหมาย

ข้อ เท็จจริงยังปรากฏว่า นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ประธานคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน วุฒิสภา (ในขณะนั้น) ได้ทำความเห็นท้วงติงในประเด็นข้อกฎหมาย ซึ่งเห็นว่าต้องแก้ไขแนวทางการออกสลากไม่ให้ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมายรองรับโครงการ แต่จำเลยที่ 31 และ 42 กลับไม่ดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน แต่ยังฝืนเสนอให้มีการออกสลาก และทำความตกลงกับธนาคารออมสินขอเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 20,000 ล้านบาท ทำให้เห็นว่าจำเลยย่อมรู้อยู่แล้วว่าการออกสลากอาจมีปัญหา และสุ่มเสี่ยงที่รัฐจะเสียหายในระบบการคลัง จึงถือเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

ดัง นั้น จำเลยที่ 10, 31 และ 42 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และ 86 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ส่วนจำเลยที่ 2-30 อนุมัติเห็นชอบโครงการในหลักการ ไม่ใช่ผู้ใช้ให้จำเลยที่ 31 และ42 ดำเนินการออกสลากและละเว้นไม่เสียภาษีอากร รวมทั้งไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 10, 31 และ 42
ส่วน จำเลยที่ 32, 34, 36, 38, 39, 40 และ 43-47 ที่เป็นผู้แทนหน่วยงานรัฐเข้าไปเป็นกรรมการกองสลาก ก็ไม่ได้เป็นบอร์ดกองสลากมาตั้งแต่ต้น อาจเข้าใจว่าการอนุมัติออกสลาก ดังกล่าวน่าจะชอบด้วยกฎหมาย เพราะผ่านการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอนุมัติเงินรายได้ใช้จ่ายเพื่อเด็กยากจนตามวัตถุประสงค์ ไม่มีเจตนายักยอกเงิน องค์คณะจึงมีมติเสียงข้างมาก ว่า จำเลยกลุ่มนี้ไม่มีความผิดประเด็น ที่ 3 จำเลยทั้งหมดต้องร่วมกันคืนหรือใช้ทรัพย์ที่ร่วมกันมีมติอนุมัติให้จ่ายเงิน ซึ่งเป็นเงินรายได้จากการออกหวยบนดิน รวมจำนวน 14,862,254,865.94 บาท หรือไม่

เห็นว่า เมื่อจำเลยที่ 10 เสนอโครงการตามที่จำเลยที่ 31 และ 42 เสนอมา ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการอนุมัตินำเงินไปใช้จ่ายโครงการต่างๆ ทั้งเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ศาสนา และด้านสังคมอื่นๆ โดยไม่มีหลักฐานปรากฏว่าจำเลยทั้งสามนำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวหรือ ประโยชน์แก่พวกพ้อง แต่อย่างใด จึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์หรือเบียดบังทรัพย์สินของทาง ราชการ ดังนั้นจำเลยทั้งสามและจำเลยอื่นๆ ไม่ต้องร่วมกันคืนเงินตามคำร้องโจทก์

พิพากษา ด้วยมติเอกฉันท์ ว่า จำเลยที่ 10 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 83 ให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี ปรับ 20,000 บาท จำเลยที่ 31 (นายสมใจนึก) มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี ปรับ 10,000 บาท
ส่วนจำเลยที่ 42 (นายชัยวัฒน์) กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ เป็นความผิดกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ อันเป็นบทหนักสุดตาม จำคุก 2 ปี ปรับ 10,000 บาท แต่จำเลยทั้งสามไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน ประกอบกับพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลย ทั้งสามไว้คนละ 2 ปี