คดีหวยบนดิน

– เห็นยังมีกำไรเอาไปแจกทุนนั่นนี่สองหมื่นกว่าล้านบาท
และเงินที่เอาไปแจกไม่ว่าจะในรูปเก็บภาษีมาก่อนค่อยแจก
หรือแจกก่อนเก็บภาษีมันก็คือเงินรัฐที่เอาไปแจก
แล้วกรณีรัฐกู้เงินมาแจกชาวบ้านฟรีๆ นี่
ทำให้รัฐเสียหายบ้างหรือไม่
หรือกรณีรายได้จากหวยบนดินที่หายไปอยู่ใต้ดิน
รัฐเสียผลประโยชน์หรือไม่
และการกล่าวหาว่าทำให้รัฐเสียหายหลายหมื่นล้าน
แต่จริงๆ แล้วผลคดีนี้มีคนผิดไม่กี่คน
ปรับไม่กี่บาท แถมยังรอลงอาญาอีก
แล้วเอามาเป็นข้อกล่าวหาเพื่อยึดทรัพย์ทักษิณ
ถามว่ามันถูกต้องชอบธรรมแล้วจริงหรือ

ภายหลังทำรัฐประหาร
ก็มีการตั้งหน่วยงานไล่ล่าหาความผิดทักษิณ
จนมีการยัดเยียดข้อหาต่างๆ
เพื่อความชอบธรรมในการอายัดทรัพย์ทักษิณ
เช่นข้อหาเกี่ยวกับหวยบนดินเป็นดังนี้

“๔. โครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย ๓ ตัว และ ๒ ตัว
ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รัฐเสียหาย ประมาณ ๓๗,๗๙๐ ล้านบาท”

ซึ่งภายหลังก็มีการตัดสินคดีนี้ออกมา
เจ้าหน้าที่มีความผิดกันเล็กน้อย
ปรับกันไม่กี่บาทแล้วก็รอลงอาญา
ส่วนข้อหาว่าทำให้รัฐเสียหายหลายหมื่นล้าน
เอามาจากไหน
ก็เป็นอีกเรื่องที่พยายามกล่าวหาให้เยอะๆ ไว้ก่อน
เพื่อจะได้สร้างความชอบธรรม
ให้กับขบวนการยึดทรัพย์ทักษิณเท่านั้นเอง
แล้วลองเทียบกรณีไม่มีหวยบนดิน
รัฐไม่มีรายได้จากหวยบนดินสักบาท
รายได้ตกไปอยู่กับพวกหวยใต้ดินเพิ่มขึ้น
แบบนี้ไม่เรียกว่าทำให้รัฐเสียหาย
หรือรัฐเสียหายไปอยู่ในมือเจ้ามือหวยใต้ดินเท่าไหร่
รวมไปถึงกรณีหวยออนไลน์
จับตาดูว่าผลออกมาจะทำให้รัฐเสียหายจ่ายค่าโง่อีกเท่าไหร่
และรัฐบาลที่ตัดสินใจเรื่องหวยออนไลน์
จะโดนนำมากล่าวหาเพื่อยึดทรัพย์หรือไม่
ติดตามชมกระบวนการยุติธรรมแบบสองมาตรฐาน
หรือแบบไม่มีมาตรฐานเลย
แค่ตั้งกลุ่มปล้นอำนาจ เสร็จแล้วตั้งแก๊งส์ปล้นทรัพย์
กลายเป็นสิ่งยอมรับกันได้ สำหรับทั้งกลุ่มทั้งแก๊งส์เหล่านั้น
ทั้งเลือกปฏิบัติ ตั้งคนที่ไม่เป็นกลางเป็นศัตรูทางการเมืองมาตรวจ
มายัดเยียดข้อหา แถมมีการบงการเดินเรื่องกันจนมาถึงวันนี้
แถม ครม. สุรยุทธ์ พวกที่ คมช. ตั้งขึ้นมา
ก็ได้ออกหวยบนดินด้วย
แล้วทำไมไม่มีความผิดหรือโดนข้อหาเพื่อยึดทรัพย์ด้วย

โดย มาหาอะไร

————————————————————————

“วิษณุ”ข้องใจเว้นดำเนินคดีครม.สุรยุทธ์ออกหวยบนดิน

ที่ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง เมื่อวันที่ 17 ก.ค. นายสบโชค สุขารมณ์ รองประธานศาลฎีกา เจ้าของสำนวนทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 และ 3 ตัว ( หวยบนดิน ) พร้อมองค์คณะ 9 คน ไต่สวนพยานจำเลย คดีหมายเลขดำ อม.1/2551 ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (จำหน่ายคดีออกจากสารบบ) จำเลยที่ 1 , อดีตคณะรัฐมนตรีชุดรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ จำเลยที่ 2-30 และผู้บริหารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นจำเลยที่ 31-47 ในความผิดฐานร่วมกันทำผิดยักยอกทรัพย์ เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการดูแลกิจการ เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นและละเว้นไม่ เรียกเก็บภาษีอากร และเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147, 152, 153, 154, 157 และความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3, 4, 8, 9, 10 และ 11 โดย ป.ป.ช. ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยทั้งหมด ร่วมกันคืนเงินที่มีมติอนุมัติให้จ่ายไปรวมจำนวน 14,862,254,865.94บาท ให้แก่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วย

ทั้ง นี้ นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 7 ขึ้นเบิกความ ระบุว่า วันที่ 7 ก.ค. 48 ที่ ครม.(ขณะนั้น) พิจารณาออกสลาก 2-3 ตัว เป็นวาระจร โดย นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง ซึ่งตนติดใจว่าอาจขัดต่อกฎหมายหรือไม่ จึงออกจากห้องประชุมไปศึกษาข้อกฎหมาย แต่เมื่อกลับเข้ามาก็พบว่า ครม. อนุมัติโครงการนี้แล้ว

นาย วิษณุ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ริเริ่มโครงการหวยบนดิน น่าจะเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ จำเลยที่ 1 เพื่อให้ตอบรับกับนโยบายปราบปรามยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล และนำเงินนอกกฎหมายจำนวนมาก ขึ้นมาบนดินเพื่อใช้ช่วยเหลือประชาชนที่ยากจน ส่วนเงินที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้ลงพื้นที่ “ทัวร์นกขมิ้น” เป็นเงินจากส่วนอื่นของสำนักงานสลาก สำหรับเงินที่ได้จากโครงการหวยบนดิน จะมีการจัดตั้งเป็นกองทุนโดยการนำไปใช้ จะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนายุทธศาสตร์

นาย วิษณุ กล่าวด้วยว่า ครม.ชุด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ออกหวยบนดิน ต่อเนื่องอีก 3 งวด ก่อนจะยุติโครงการ หลังมีการเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความออกมาว่าการออกสลาก 2-3 ตัว อาจขัดต่อกฎหมาย แต่เหตุใดจึงไม่มีการกล่าวหาดำเนินคดีกับ ครม.พล.อ.สุรยุทธ์ ด้วย ตนไม่ทราบ พยานเบิกความเรื่องอื่น ๆ แล้วเสร็จ

ทั้ง นี้ ศาลนัดไต่สวนพยานจำเลยในวันที่ 21 ก.ค.นี้ เวลา 09.30 น. โดยฝ่ายจำเลย เตรียมนำ นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง จำเลยที่ 4 ขึ้นไต่สวน

http://breakingnews.quickze.com/readnews-102147-“%3Bวิษณุ”%3Bข้องใจเว้นดำเนินคดีครม.สุรยุทธ์ออกหวยบนดิน.html

————————————————————————

การเมือง : บทวิเคราะห์
วันที่ 1 ตุลาคม 2552 08:40
เปิดสามปมพิพากษาหวยบนดิน ศาลเอกฉันท์ไม่ผิดยักยอกเงินรัฐ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

“กรุงเทพ ธุรกิจ” สรุปประเด็นคำฟ้องในคดีหวยบนดินและคำพิพากษาของศาล หลังคณะผู้พิพากษาศาลฎีกา อ่านคำพิพากษาคดีหวยบนดินเมื่อวานนี้ ประเด็น ที่ 1 จำเลยที่ 31, 33, 35, 37, 41 และ 42 ในฐานะคณะกรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (บอร์ดกองสลาก) ที่ร่วมกันมีมติเสนอโครงการหวยบนดินเพื่อ นำเงินรายได้คืนสู่สังคม และงดเว้นการจัดเก็บภาษี กระทำผิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มาตรา 5 และ มาตรา 9 หรือไม่

เห็น ว่า กองสลากจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการหารายได้เข้ารัฐโดยการจำหน่ายสลาก กินแบ่งรัฐบาล มีแนวทางการปฏิบัติจัดสรรางวัลอย่างชัดเจน เงินที่ได้รับร้อยละ 60 นำไปจ่ายค่ารางวัล ร้อยละ 28 เป็นรายได้เข้าแผ่นดิน ร้อยละ 12 เป็นค่าใช้จ่ายการบริหารงาน ส่วนการออกโครงการหวยบนดินไม่ ได้กำหนดอัตราส่วนรายรับรายจ่ายที่ชัดเจน แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นการออกสลากกินแบ่งลักษณะพิเศษเพื่อจะนำเงินไปใช้ในทาง สาธารณประโยชน์ แต่ปรากฏว่าการออกสลากลักษณะพิเศษดังกล่าวไม่ได้จำกัดงวดตามแนวทางที่กอง สลากเคยดำเนินการมาก่อนหน้านี้

ดัง นั้น การออกสลากพิเศษเลขท้าย 2-3 ตัวดังกล่าว ไม่ใช่สลากกินแบ่งรัฐบาลหรือสลากการกุศลตาม พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงไม่ใช่สลากกินแบ่งรัฐบาลที่ไม่มี ความเสี่ยงขาดทุน แต่การออกหวยบนดินยัง กำหนดการจ่ายรางวัลให้แก่ผู้ถูกสลากทุกคนที่ถูกหมายเลข 2 และ 3 ตัว โดยไม่กำหนดวงเงินที่รับแทง ทำให้กองสลากต้องขาดทุนรวม 7 งวด จากการออกสลากทั้งสิ้น 80 งวด เป็นเงิน 1,600 ล้านบาทเศษ จึงไม่อาจได้รับการงดเว้นการลดหย่อนภาษีตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการงดเว้น ประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2540 และกฎกระทรวงปี 2503 และ 2543

ขณะ ที่ศาลยังเห็นว่า การไม่นำเงินรายได้จากการออกสลากหลังจากหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากระทรวงการคลัง ก็ไม่ถูกต้อง แม้ว่าเงินดังกล่าวจะได้มาจากการออกสลากที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่สามารถนำไปใช้สอยได้ตามอำเภอใจ ถือว่าผิดหลักการบริหารราชการแผ่นดิน
ประเด็น ที่ 2 จำเลยที่ 2 -30 ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรี (ชุด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) มีความผิดฐานร่วมกันมีมติให้ดำเนินโครงการออกสลากพิเศษ 2-3 ตัว ตามที่ จำเลยที่ 31, 33, 35, 37, 41 และ 42 ซึ่งเป็นบอร์ดกองสลากเสนออนุมัติ และเป็นผู้ใช้ให้งดเว้นการจัดเก็บภาษีจากการออกสลากหรือไม่ เห็นว่า จำเลยที่ 31, 33, 35, 37, 41 และ 42 ได้มีมติเสนอโครงการโดยผลประชุมเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2545 ซึ่งจำเลยที่ 31 (นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงคลังและประธานบอร์ดกองสลาก) จำเลยที่ 42 (นายชัยวัฒน์ พสกภักดี อดีตผู้อำนวยการกองสลาก) เป็นผู้นำมติเสนอต่อจำเลยที่ 1 (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้เร่งดำเนินการ

จาก นั้นมีการจัดประชุมและอนุมัติโครงการโดยมีจำเลยที่ 10 (นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง) เข้าร่วมประชุมด้วย เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2546 และเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นวาระพิเศษ โดยที่ ครม.ไม่น่าจะทราบรายละเอียดทั้งหมด เพียงพิจารณาจากเอกสารและฟังคำชี้แจงจากผู้แทนกระทรวงการคลังและกองสลาก จึงอนุมัติหลักการโดยเข้าใจว่าเป็นโครงการที่ถูกต้อง จนมีการออกสลากตั้งแต่งวดวันที่ 1 ส.ค. 2546-16 พ.ย. 2549 ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 31 และ 42 ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของกองสลาก ย่อมต้องทราบวัตถุประสงค์การจัดตั้งกองสลาก เจตนารมณ์กฎหมายในการออกสลาก ซึ่งแม้จำเลยจะอ้างว่าออกสลากตามนโยบายฝ่ายบริหารในการปราบปรามยาเสพติดและ หวยใต้ดิน แต่ก็ควรที่จะต้องคำนึงว่าทั้งโครงการออก สลากและนโยบายฝ่ายบริหารที่จะนำมา ปฏิบัติจะต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย จึงควรจะต้องทักท้วงจำเลยที่ 1 เมื่อเห็นว่าโครงการไม่ถูกต้องและต้องมีการแก้ไขกฎหมาย

ข้อ เท็จจริงยังปรากฏว่า นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ประธานคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน วุฒิสภา (ในขณะนั้น) ได้ทำความเห็นท้วงติงในประเด็นข้อกฎหมาย ซึ่งเห็นว่าต้องแก้ไขแนวทางการออกสลากไม่ให้ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมายรองรับโครงการ แต่จำเลยที่ 31 และ 42 กลับไม่ดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน แต่ยังฝืนเสนอให้มีการออกสลาก และทำความตกลงกับธนาคารออมสินขอเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 20,000 ล้านบาท ทำให้เห็นว่าจำเลยย่อมรู้อยู่แล้วว่าการออกสลากอาจมีปัญหา และสุ่มเสี่ยงที่รัฐจะเสียหายในระบบการคลัง จึงถือเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

ดัง นั้น จำเลยที่ 10, 31 และ 42 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และ 86 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ส่วนจำเลยที่ 2-30 อนุมัติเห็นชอบโครงการในหลักการ ไม่ใช่ผู้ใช้ให้จำเลยที่ 31 และ42 ดำเนินการออกสลากและละเว้นไม่เสียภาษีอากร รวมทั้งไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 10, 31 และ 42
ส่วน จำเลยที่ 32, 34, 36, 38, 39, 40 และ 43-47 ที่เป็นผู้แทนหน่วยงานรัฐเข้าไปเป็นกรรมการกองสลาก ก็ไม่ได้เป็นบอร์ดกองสลากมาตั้งแต่ต้น อาจเข้าใจว่าการอนุมัติออกสลาก ดังกล่าวน่าจะชอบด้วยกฎหมาย เพราะผ่านการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอนุมัติเงินรายได้ใช้จ่ายเพื่อเด็กยากจนตามวัตถุประสงค์ ไม่มีเจตนายักยอกเงิน องค์คณะจึงมีมติเสียงข้างมาก ว่า จำเลยกลุ่มนี้ไม่มีความผิดประเด็น ที่ 3 จำเลยทั้งหมดต้องร่วมกันคืนหรือใช้ทรัพย์ที่ร่วมกันมีมติอนุมัติให้จ่ายเงิน ซึ่งเป็นเงินรายได้จากการออกหวยบนดิน รวมจำนวน 14,862,254,865.94 บาท หรือไม่

เห็นว่า เมื่อจำเลยที่ 10 เสนอโครงการตามที่จำเลยที่ 31 และ 42 เสนอมา ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการอนุมัตินำเงินไปใช้จ่ายโครงการต่างๆ ทั้งเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ศาสนา และด้านสังคมอื่นๆ โดยไม่มีหลักฐานปรากฏว่าจำเลยทั้งสามนำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวหรือ ประโยชน์แก่พวกพ้อง แต่อย่างใด จึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์หรือเบียดบังทรัพย์สินของทาง ราชการ ดังนั้นจำเลยทั้งสามและจำเลยอื่นๆ ไม่ต้องร่วมกันคืนเงินตามคำร้องโจทก์

พิพากษา ด้วยมติเอกฉันท์ ว่า จำเลยที่ 10 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 83 ให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี ปรับ 20,000 บาท จำเลยที่ 31 (นายสมใจนึก) มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี ปรับ 10,000 บาท
ส่วนจำเลยที่ 42 (นายชัยวัฒน์) กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ เป็นความผิดกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ อันเป็นบทหนักสุดตาม จำคุก 2 ปี ปรับ 10,000 บาท แต่จำเลยทั้งสามไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน ประกอบกับพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลย ทั้งสามไว้คนละ 2 ปี